Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45989
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นัทมน คงเจริญ | - |
dc.contributor.author | สวิตตา ตีรณวัฒนากูล | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-04-04T08:33:50Z | - |
dc.date.available | 2018-04-04T08:33:50Z | - |
dc.date.issued | 2557-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45989 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this thesis is to study the form and development of the movement of community rights and thoughts regarding the direction of community rights in the present day. This includes the factors that affect the procedures for changing laws and their implementation. From studying the Hug Muang Nan group, we know them as an organization within the society with an important role in supporting the management of the community forest of people in the Nan province. The group also helps to push the law of community rights into performance. Although over 20 years has passed, Community rights as well as community forest issues have expanded much all over the country. Besides still having many researchers who support the success of the community forest, changes still occur to the forest resources today where a deviation in the Muang Nan society can be widely noticed. Questions have been raised regarding the survival of community rights and the management of forest resources within the community under the principle of community rights. The study of this research has found that social performance drive has the power to change community rights by law. However, although they have had laws to support the right of the constitution since 2540 B.C., it has appeared that no progress has been made in stabilizing procedures to putting these laws into execution. Two theoretical factors exists: 1. Possible problems with the community rights supporters. 2. Possible problems in the management of government resources. From the study of the Hug Muang Nan group, it’s been uncovered that some important changes have occurred to show a correlation between the pattern of the people’s way of life in the community and forest resources. Also, changing of societal conditions and economy have reflected the movement of community rights efforts from the issue of management of forest resources to the issue of the management of land resources; potentially a system that can reflect the intricacies between leading group rights and increased privacy. In addition, government cannot clearly support community rights by law. A “grey area” has been built regarding the power over management resources in the Nan province which stems from the unclarity of whether it be considered community right or conservative government responsibilities which could ultimately result in a near future conflict between government and community. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | สิทธิชุมชน | en_US |
dc.subject | กลุ่มฮักเมืองน่าน | en_US |
dc.title | การปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิชุมชนของกลุ่มฮักเมืองน่าน | en_US |
dc.title.alternative | A Change in a Concept of Community Rights of Hug Muang Nan Group | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.classification.ddc | 323.32 | - |
thailis.controlvocab.thash | สิทธิชุมชน -- น่าน | - |
thailis.controlvocab.thash | สิทธิชุมชน | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 323.32 ส173ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนาการการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิชุมชน และความคิดความเชื่อเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในปัจจุบันว่ามีทิศทางเช่นไร รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในทางกฎหมายและทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิชุมชน โดยพิจารณาศึกษากลุ่มฮักเมืองน่าน ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมที่มีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการจัดการป่าชุมชนทางปฏิบัติของชุมชนในจังหวัดน่าน และมีส่วนร่วมในการผลักดันให้สิทธิชุมชนทางกฎหมายมีผลปฏิบัติได้จริง แม้ว่าในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาสิทธิชุมชนกับประเด็นป่าชุมชนจะขยายตัวไปอย่างมากทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ออกมารองรับต่อความสำเร็จของป่าชุมชนจำนวนมาก ทว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อทรัพยากรป่าไม้ในปัจจุบันที่ปรากฏต่อสาธารณชนทั่วไปได้สะท้อนถึงความผันแปรบางอย่างในสังคมเมืองน่าน และถูกตั้งคำถามต่อการดำรงอยู่ของสิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยชุมชนภายใต้หลักการของสิทธิชุมชน การศึกษาของงานวิจัยนี้ได้พบว่าการขับเคลื่อนในทางปฏิบัติของสังคมที่ผ่านมาได้ส่งอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อการบัญญัติสิทธิชุมชนในทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามแม้จะมีกฎหมายเข้ามารองรับสิทธิไว้ตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปีพ.ศ.2540 แต่ก็ปรากฏความไม่คืบหน้าในทางกฎหมายที่ส่งผลถึงความไม่มั่นคงในทางปฏิบัติ ด้วยปัจจัยเชิงแนวคิดสองประการคือ หนึ่ง ปัญหาแนวคิดการรับรองสิทธิชุมชน และสองปัญหาแนวคิดในการจัดการทรัพยากรของรัฐ นอกจากนี้จากการศึกษากลุ่มฮักเมืองน่านยังมีข้อค้นพบที่สำคัญคือ พบว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างรูปแบบวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เคยพึ่งพิงกับทรัพยากรป่าไม้ กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่ได้สะท้อนถึงการเคลื่อนตัวของการสิทธิชุมชนในทางปฏิบัติจากประเด็นการจัดการทรัพยากรป่าไม้ไปสู่ประเด็นการจัดการทรัพยากรที่ดินซึ่งมีแนวโน้มไปสู่ระบบสิทธิที่มีการซ้อนทับระหว่างสิทธิหน้าหมู่กับสิทธิของความเป็นปัจเจกมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นการที่รัฐไม่สามารถรองรับสิทธิชุมชนในทางกฎหมายได้ชัดเจนก็ได้สร้าง “พื้นที่สีเทา” ของอำนาจการจัดการทรัพยากรขึ้นในจังหวัดน่าน ซึ่งเกิดจากความไม่ชัดเจนระหว่างสิทธิของชุมชนที่ควรจะเป็น กับอำนาจในการอนุรักษ์ดูแลของภาครัฐ อันอาจเป็นสาเหตุให้ความขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชนอุบัติขึ้นอีกในไม่ช้านี้ | en_US |
Appears in Collections: | LAW: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 249.12 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 226.15 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 374.57 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 486.2 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 516.92 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 455.66 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 515.08 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 6.pdf | CHAPTER 6 | 304.81 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 216.42 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 574.6 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 291.11 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.