Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45971
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิติพงษ์ ยอดมงคล-
dc.contributor.advisorภราดร สุรีย์พงษ์-
dc.contributor.advisorธีราพร แซ่แห่ว-
dc.contributor.authorThunyaporn Jaimungen_US
dc.contributor.authorธัญญภรณ์ ใจมั่งen_US
dc.date.accessioned2018-03-28T02:59:27Z-
dc.date.available2018-03-28T02:59:27Z-
dc.date.issued2014-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45971-
dc.description.abstractHeavy burden of alcohol drinking behavior in Thailand creates multiplied effects namely road accident, criminal, family problem, health care in long-term, leading to drugs and others all vices. Alcohol consumption behavior relates to 44 diseases being as the negative effects of alcohol such as chronic disease, cancer, hypertension, heart disease and cerebrovascular accident, etc. It causes high rate of morbidity and mortality. Additionally, the trend of alcohol consumption behavior among women in the rural community is likely to weaken family situations. As alcohol can easily access in all ages by marketing strategies and it is a form of legal substance. In rural area of developing countries, agricultural community rapidly shifts to modern society where business party and celebration become common lifestyle. These changes lead to more social lifestyle among the housewives and then reflect to the increase of alcohol drinking behavior. Since the entrepreneurs in rural communities need the success of work on the good relationship, they use alcohol drink as a part the wages for their partners. Therefore, alcohol drink becomes the positive drive to serve the satisfaction partnerships. It can be seen that the local politicians still support social activities in rural community for the people by alcohol drinking. Housewife as village health volunteer is the main mechanism in health promotion network to their community. In contrast, they have traditionally serious drinking behavior in often arranged social activities, so they are not be able to play a good role model in stop drinking especially for their teenager children and working husband. They cannot drive maternal instinct in alcohol drinking behavior modification. They perceive that their alcohol drinking does not have any effect on family’s members including, the positive reinforcement of alcohol drink causes the increase of alcohol consumption in housewives. Consequently, the new modern rural areas are not fully competitive in new economy (technology use and free trade environment). Alcohol drinking behavior in adolescents develops in an inappropriate age as learning problems, family relations and physical and mental health. It causes risk of drug addiction, sexually transmitted diseases and defective from traffic accidents, etc. Currently, alcohol drinking behavior modification in rural communities involves with seven major roles (village health volunteer, parents, cousin, housewife, seniorities, community leader and villager) within a community. This modification is practical by the human resource in the rural community for the benefit. The key person driver is fallen into village health volunteer’s role. The evaluation of the performance can be indicated by the ability in decreasing or quitting on alcohol drinking among the villagers. The focus of this study is mainly on housewives as village health volunteers. They are health workers who are trusted and accepted by the villagers on health caring. Most of them have the responsibility of family’s member caring and the several roles in rural community. The stimulation of maternal instinct is an effective method in alcohol drinking behavior modification of the volunteer housewives. The power of maternal instinct helps solving the difficult problems. For example, the case study of poverty in Bangladesh. Their setting goal emphasizes the children well being under attention love arousing. This study proposes a set of semantic factors for drawing attention to arouse maternal instinct in housewives as village health volunteers. The attention is in the nature of maternal instinct mostly found in females. The identification of semantic factors with attention is beneficial for clarifying to the knowledge representation and model creating. It is clear to explore the process and source information for alcohol drinking behavior modification. This solution can extract the strategy in order to design activities better. A maternal instinct semantic factor model on alcohol drinking behavior modification is specified and validated based on the theory of attention. This model is appropriate the semantic factors on alcohol modification. The attention with semantic factors model is engaged with being as six cognitions; finance, health, family, children, society’s recognition and environment. Importantly, this model illustrates the thirteen significant methods of activity designing. The model is selected to specify cases by the cognition of target groups, especially maternal instinct is ready work in the children group. After implementation, the result is found that health and children cognitions had the maximum percentage of experts using on alcohol modification. Most of them related to the method of social skills and being role model in families and communities. Walk rally activity (hospital, liquor shop, good case’ home, dead case, school and temple) was designed regarding to the semantic factors model which is extracted from cognition and method analyzing of the experts in the rural community. They are designed to serve the authentic and use resource in community and this activity designing was validated by the three experts for implementation. It led to the caretaking characteristics prominent and related to the life skills. The walk rally program was evaluated on learning improvement of volunteer housewives by analyzing their response on white paper. It is found, the situation related to with the cognition of the subjects. The cognition affected to maternal instinct characteristic to be occurred. While maternal instinct worked, some life skills grew up in the learners. However, the result of pre-test and post-test by Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT) is found less different in two months. It found that the alcohol drinking behavior of VHVs and their husbands are in the low risk or standard drink 88.46% and 76.92%. They are good controlling from alcohol drinking behavior. However, the worse of behavior is 7.69% in a few of VHVs and their husbands. The novelty of knowledge management in cognitive psychology, they consist of maternal instinct drive and semantic factors with Attention for health problem solution. This model is designed with the primary drive in the human. It is powerful and effective for learning improvement in the health workers. Therefore, this novelty serves in community health conductors and useful for increase of ability of organizational learning. This study has to be supported by the organizations such as Ministry of Interior, Ministry of Social Development and Human Security, Ministry of Public Health and Ministry of Education. They have abilities to promote the potential of village health volunteers by maternal instinct semantic factors model for the decrease of alcohol problems. As the limitation of this study, this model is limitedly done only in rural communities. If the researchers study on other communities, they might have to review other factors and be aware of methods.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectHousewivesen_US
dc.subjectHealth care learningen_US
dc.subjectHealth volunteeren_US
dc.titleSemantic Factors Using Attention Theory for Stimulating the Maternal Instinct of Housewives in Health Care Learning: Health Volunteer Network on Alcohol Drinking Behavior Modificationen_US
dc.title.alternativeปัจจัยความหมายโดยทฤษฎีความใส่ใจเพื่อกระตุ้นสัญชาตญาณความเป็นแม่ของแม่บ้านในการเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc613-
thailis.controlvocab.thashHealth behavior-
thailis.controlvocab.thashKnowledge management-
thailis.manuscript.callnumberTh 613 T535S-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractภาระจากพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาชญากรรม ปัญหาครอบครัว และปัญหาสุขภาพในระยะยาว ปัญหาต่างๆเหล่านี้นำไปสู่ปัญหายาเสพติดและปัญหาอื่นๆ โดยที่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีความ สัมพันธ์กับการเกิดโรคถึง 44 โรค ได้แก่ โรคเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองแตก ฯลฯ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นี้ จึงเป็นสาเหตุของ อัตราการ ป่วยและอัตราการตายที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในผู้หญิงที่อยู่ในชุมชนชนบท โดยผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด รวมทั้งแอลกอฮอล์อยู่ในรูปแบบของสารเสพติดที่ถูกกฎหมาย ทำให้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าถึงได้ง่ายในทุกกลุ่มวัย และส่งผลให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอลง ในพื้นที่ชนบทของประเทศที่กำลังพัฒนานั้น สังคมเกษตรกรรมมีความเจริญอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยงานเลี้ยงต่างๆและการเฉลิมฉลอง จนการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ เศรษฐกิจนี้ นำไปสู่บทบาทหน้าที่ทางสังคมที่มากขึ้นในกลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งของพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น โดยการสนับสนุนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักลงทุนในสังคมชนบท เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน แอลกอฮอล์จึงเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสินจ้างตอบแทนแก่คนในชุมชน สร้างแรงจูงใจทางบวกให้ผู้รับเกิดความพึงพอใจ สิ่งที่ปรากฏคือ นักการเมืองท้องถิ่นยังคงสนับสนุนกิจกรรมทางสังคมในชนบท และส่งเสริมพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง แม่บ้านที่มีหน้าที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขนั้น เป็นกลไกลหลักของเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในชุมชน แต่แม่บ้านที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ก็ยังคงมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในการเข้าร่วมงานทางสังคม ด้วยเหตุนี้ แม่บ้านที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขจึงไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี ในการหยุดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ และจะเห็นได้ว่าแม่บ้านที่มีสามี และมีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่นนั้น ไม่สามารถขับเคลื่อนสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่มีอยู่ในตัวเอง รวมทั้งไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองและสมาชิกในครอบครัว แต่ถึงกระนั้น แม่บ้านก็ยังคงมีการรับรู้ว่า พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของตนเอง ไม่ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัว รวมทั้ง แม่บ้านยังคงได้รับแรงจูงใจในทางบวกจากพฤติกรรมดังกล่าว ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในกลุ่มแม่บ้านจึงเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ความสามารถในการแข่งขันลดลง ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในสังคมชนบท ที่อยู่ในเศรษฐกิจยุคใหม่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีและการค้าเสรี ทั้งนี้ พฤติกรรมการดื่มในกลุ่มวัยรุ่นนั้น ทำให้วัยรุ่นมีพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมตามวัย มีปัญหาในการเรียนรู้ ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว และปัญหาสุขภาพกายและจิตใจ ทำให้เสี่ยงต่อพฤติกรรมการติดสารเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อุบัติเหตุบนท้องถนนและปัญหาอื่นๆได้ ปัจจุบันนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มในชุมชนชนบทนั้น มีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลในชุมชน 7 บทบาท ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง ญาติ แม่บ้าน ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในชุมชน โดยบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นบทบาทหลัก ในการขับเคลื่อนการปรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้สำเร็จ ประเมินผลได้จากความสามารถในการลดหรือหยุดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของคนในชุมชนได้ จุดประสงค์ของการศึกษานี้ มุ่งเน้นแม่บ้านที่ทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานทางด้านสุขภาพ ที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน และส่วนใหญ่แม่บ้านเหล่านี้จะมีหน้าที่ดูแลสมาชิกในครอบครัว และมีบทบาทที่ต้องรับผิดชอบหลากหลายในชุมชนชนบท การกระตุ้นสัญชาติญาณความเป็นแม่ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พลังของสัญชาติญาณความเป็นแม่ ช่วยจัดการกับปัญหาที่ยุ่งยากให้กับกลุ่มแม่บ้านได้ ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาปัญหาความยากจนในประเทศบังกลาเทศ สามารถใช้การกระตุ้นความรักและความใส่ใจจากกลุ่มแม่บ้านจนทำให้เด็กๆมีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้ การศึกษานี้จึงสร้างแบบจำลองกระตุ้นสัญชาติญาณความเป็นแม่ ในกลุ่มแม่บ้านที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข โดยใช้ “ความใส่ใจ” ที่มีอยู่ในธรรมชาติในสัญชาติญาณความเป็นแม่ของเพศหญิง มาสร้างแบบจำลองบนทฤษฏี “ความใส่ใจ” ทำให้เกิดความรู้และลักษณะแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนกระบวนการและแหล่งข้อมูล สำหรับการปรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ชัดเจน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ ผลที่ได้คือกลยุทธ์ที่จะใช้ในการออกแบบกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น แบบจำลองปัจจัยที่มีพื้นฐานสัญชาติญาณความเป็นแม่ เพื่อปรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงและได้รับการตรวจสอบให้มีความสมบูรณ์ จากการค้นหาปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ด้วยทฤษฏีความใส่ใจประกอบด้วย การรับรู้ 6 เรื่องคือ เรื่องการเงิน สุขภาพ ครอบครัว บุตร สถานภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โมเดลที่สร้างขึ้นนี้่ ได้อธิบายถึง 13 วิธีการที่สำคัญ ที่มีผลต่อกรณีศึกษา และใช้ได้ดีในการรับรู้เรื่องบุตร ซึ่งภายหลังจากการนำโมเดลนี้ไปใช้พบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในชุมชน ใช้การรับรู้เรื่องสุขภาพและบุตรมากที่สุด และวิธีการที่ใช้ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมและการเป็นแบบอย่างที่ดีในครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้ โมเดลดังกล่าวมีการออกแบบโดยใช้กิจกรรมวอร์คแรลลี่ ใช้สถานที่ในชุมชน 6 แห่งได้แก่โรงพยาบาล ร้านขายแอลกอฮอล์ บ้านตัวอย่างที่ดี กรณีศึกษาที่เสียชีวิต โรงเรียนและวัด โมเดลนี้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับรูปแบบจำลองปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ โดยการดักจับองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญแล้วทำการวิเคราะห์กิจกรรมให้ตรงกับสถานการณ์จริง และนำทรัพยากรในชุมชนมาใช้ ผลที่ได้จะพบว่าคุณลักษณะผู้ดูแลมีการแสดงออกและสัมพันธ์กับทักษะชีวิตมากที่สุด ทั้งนี้ การออกแบบกิจกรรมนี้ จะถูกตรวจสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ก่อนนำมาประยุกต์ใช้ กิจกรรมวอร์คแรลลี่นี้ ประเมินผลได้จากการปรับการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นของแม่บ้านที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข โดยวิเคราะห์ผลจากกระดาษคำตอบ ซึ่งพบว่า สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องต่อการรับรู้ของแม่บ้านที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ทำให้เกิดคุณลักษณะสัญชาตญาณความเป็นแม่ เกิดการเรียนรู้ทักษะชีวิต ทั้งนี้ จากผลของการทดสอบก่อนและหลัง โดยใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พบว่า พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของกลุ่มเป้าหมาย มีการเปลี่ยนแปลงน้อยในระยะเวลาสองเดือน โดยพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของแม่บ้านที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขและสามี อยู่ในระดับเสี่ยงต่ำร้อยละ 88.40 และ ร้อยละ 76.92 ซึ่งแปลผลว่ากลุ่มเหล่านี้มีการควบคุมพฤติกรรมได้ดีแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังพบอาสาสมัคร สาธารณสุขร้อยละ 7.69 ที่มีพฤติกรรมการดื่มที่เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์จากการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้องค์ความรู้การจัดการความรู้ในเชิงจิตวิทยา ที่ใช้ปัจจัยที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีความใส่ใจ บนพื้นฐานสัญชาตญาณความเป็นแม่ เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข โดยโมเดลนี้ถูกออกแบบขึ้น เพื่อแรงขับเคลื่อนความต้องการพื้นฐานในมนุษย์ ให้เกิดการเรียนรู้ในผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น นวัตกรรมนี้จึงเหมาะกับผู้ควบคุมกำกับงานสาธารณสุขในชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กรได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้ สามารถเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรต่างๆ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากกลุ่มองค์กรดังกล่าว ให้การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุข เพราะฉะนั้นแบบจำลองที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีสัญชาตญาณความเป็นแม่ สามารถนำมาใช้เพื่อปรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแบบจำลองนี้ยังพบข้อจำกัดคือ แบบจำลองนี้สามารถใช้ได้เพียงพื้นที่ในชุมชนชนบท ดังนั้น ถ้ามีการศึกษาในพื้นที่อื่น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะว่า ควรต้องมีการทบทวนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และวิธีการ ที่สามารถปรับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตามบริบทของชุมชนนั้นๆen_US
Appears in Collections:CAMT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT429.45 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX922.08 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 11.02 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 21.22 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3464.8 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 42.76 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5744.36 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT506.17 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER756.36 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE373.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.