Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45927
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพักตร์วิภา สุวรรณพรหม-
dc.contributor.advisorรัตนาภรณ์ อาวิพันธ์-
dc.contributor.authorรุ่งวิภา สวนสีen_US
dc.date.accessioned2018-03-26T05:06:27Z-
dc.date.available2018-03-26T05:06:27Z-
dc.date.issued2557-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45927-
dc.description.abstractThe objectives of this study were to 1) evaluate the medication storage and inventory control situations at primary care units in Maeramad district, Tak province, 2) explore problems and barriers regarding medication storage and inventory control at the primary care units in the officers’ perspective, 3) search for a of medication storage and inventory control guideline from the agreement between pharmacists and the primary care officers, and 4) evaluation the program after implementing the new guideline for medication storage and inventory control system for the primary care units in Maeramad district. The study participants were officers who were responsible for medication storage and inventory control at primary care units in Maeramad district. This study used both qualitative and quantitative methods. In phase I, a descriptive study was used for assessing medication storage and inventory control situations in the primary care units and the barriers to meet the standards by using in-depth interviews and observation. In phase II, the guideline for medication storage and inventory control for the primary care units in Maeramad district was developed by using the focus group discussion among the primary care offices. In phase III, after implementing the new guideline, the evaluation was conducted by using quasi-experimental design comparing the before and after scores among the poor performance units (gaining less than 80.0 points.) Qualitative data was analyzed by using content analysis. Quantitative data was analyzed by descriptive statistics and Wilcoxon’s signed rank test. The results showed that the mean score for the medication storage and inventory control performance at the primary care units was at 77.1%. The mean score for medication storage was at 74.2% and for inventory control was at 82.5%. After conducting the in-depth interviews with the participants, the findings showed that the major medication storage problems were the limited space, unsecured storage, poor ventilation, too hot temperature, and irregular temperature control in the storage. The major inventory control problems were no stock card, incorrect and out-dated records, and more than 3-month inventory control rate. The group developed the new guideline for supporting the medication storage and inventory control in primary care units. A new standard guideline for medication storage and inventory control, working forms and protocols for medication stock control appropriated for Maeramad context were established in the new guideline. The pharmacist at Maeramad Hospital served as a facilitator and supported the equipment, tools and technical information. After implementing the new system and guidelines, the performance scores were significantly higher than the pre-test scores at 95% confidence level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectระบบการจัดเก็บและสำรองยาen_US
dc.subjectหน่วยบริการปฐมภูมิen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการจัดเก็บและสำรองยาในหน่วยบริการ ปฐมภูมิในเขตอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตากen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Medication Storage and Inventory Control System at Primary Care Units in Maeramad District, Tak Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.nlmcว ร427ก-
thailis.controlvocab.meshHealth facilities-
thailis.controlvocab.meshHospitals -- Drug distribution system-
thailis.manuscript.callnumberว ร427ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะการจัดเก็บและการสำรองยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขตอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บและการสำรองยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในมุมมองของผู้ปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นร่วมกันระหว่างเภสัชกร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ หน่วยบริการปฐมภูมิถึงแนวทางในการพัฒนาการจัดเก็บและการสำรองยาของหน่วยบริการปฐมภูมิ และ 4) เพื่อประเมินผลการพัฒนาตามแนวทางในการดำเนินการจัดเก็บและการสำรองยาของหน่วยบริการปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานจัดเก็บและสำรองยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ ใช้กระบวนการศึกษา ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยในระยะแรกเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาสภาวะการจัดเก็บและสำรองยาในหน่วยบริการปฐมภูมิและอุปสรรคที่เกิดขึ้น โดยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต ในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบและแนวทางการจัดเก็บและการสำรองยาของหน่วยบริการปฐมภูมิ ของเครือข่ายอำเภอแม่ระมาด โดยใช้การสนทนากลุ่มระหว่างบุคลากรจากทุกหน่วยบริการ ในระยะที่ 3 ภายหลังจากการนำแนวทางไปใช้จึงศึกษาผลของการพัฒนาโดยใช้วิธีแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) เปรียบเทียบคะแนนก่อนหลัง ในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีคะแนนประเมินต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 80) จำนวน 4 แห่ง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบลำดับพิสัยวิลคอกซอล (Wilcoxon’s signed rank test) ผลการศึกษาพบว่า การประเมินสภาวะการจัดเก็บและสำรองยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอแม่ระมาด มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.1 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการจัดเก็บ มีค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 74.2 และด้านการสำรองยา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.5 ภายหลังการสำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรที่ดูแลงานบริหารเวชภัณฑ์พบว่าปัญหาหลักของการจัดเก็บยา คือ สถานที่จัดเก็บเวชภัณฑ์ที่มีอย่างจำกัด ระบบการรักษาความปลอดภัยของคลังยาที่ไม่รัดกุม ระบบระบายอากาศในคลังยาไม่ถ่ายเท อุณหภูมิของห้องที่จัดเก็บเวชภัณฑ์เกิน 30 องศาเซลเซียส การบันทึกอุณหภูมิทั้งที่คลังยาและตู้เย็นขาดความต่อเนื่อง ไม่มีระบบการเฝ้าระวังยาหมดอายุ ส่วนปัญหาหลักของการสำรองยา คือ ไม่มีบัญชีควบคุมการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์และไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่มีระบบการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ที่รัดกุม และมีอัตราคงคลังเกิน 3 เดือน จากนั้นใช้การสนทนากลุ่มร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อนำแนวทางมาวางแผนพัฒนาระบบการจัดเก็บและสำรองยาในรูปแบบใหม่ ในแนวทางใหม่นี้ดำเนินการโดยการกำหนดเป็นมาตรฐานการจัดเก็บและสำรองยา แบบฟอร์มการดำเนินงาน และระบบการเบิกยาเพื่อลดการสำรองยาใหม่ที่เหมาะสมกับบริบทของหน่วยบริการปฐมภูมิที่แม่ระมาด โดยมีเภสัชกรเป็นพี่เลี้ยง และการสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ ข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งภายหลังจากพัฒนาระบบการจัดเก็บและสำรองยาร่วมกันของบุคลากรทุกฝ่ายพบว่าคะแนนเฉลี่ย มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%en_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT187.8 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX558.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1218.23 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2509.1 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3332.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4972.77 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5362.45 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT329.94 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER661.21 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE221.4 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.