Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45873
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารี วิบูลย์พงศ์-
dc.contributor.advisorเยาวเรศ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.authorพิมพ์ใจ สิงคราชen_US
dc.date.accessioned2018-03-21T04:25:04Z-
dc.date.available2018-03-21T04:25:04Z-
dc.date.issued2557-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45873-
dc.description.abstractThe present study aimed to understand consumption behavior toward foods for health and discern the factors influencing health food consumption among consumers in Mueang District of Chiang Mai Province. The needed information was collected by means of questionnaire from 200 samples each of individuals consuming health foods and those not consuming, covering 400 samples in total. The analysis was performed upon the results of Binary Choice Logit Model estimation. On consumption behavior toward foods for health, the investigation revealed that there were three most popular natures of diet for health concerns namely strict vegetarian or vegan, vegetarian, and natural and organic foods, in descending order. Consumers of health foods in all three forms were similarly found to have their healthy meals according to their belief and preference 1 – 2 times per week, but not to be definite about when in a day or a week they would do so. They also commonly learnt about health foods from books, magazines, and health related journals. On health food expenditure, most natural and organic food consumers spent no more than 100 baht per person per meal while vegetarians and vegans spent in the range of 101 – 200 baht. In terms of consumption habit, consumers of vegetarian foods appeared to have been on vegetarian diet for the longest time or more than 5 years compared with those vegans and natural and organic food consumers that have adhered to their current dietary preference for 3 – 4 years only. The inquiry into factors influencing consumers to adhere or turn to foods for health revealed that consumers in all three healthy food categories under study did so for their most important reason in the culture and tradition factor namely the doctrine that humans can live without exploiting animals and thus can abstain from eating animal products. The least influential was the social and economic factor as the consumers were introduced or persuaded to consume health foods by their colleagues at workplace or by their organizations. The regression model adopted for the present study appeared to have 82.25 % predictive accuracy in identifying factors which will influence the consumers’ choice to be in favor of health food consumption in the future. The most influential factors at 99 % statistically significant level for consumers to decide to consume health foods in the future were found to include gender, male age, education, occupation, personal health status, and the desire to heal or alleviate their ailments with the aid of health foods in the future. The Binary Choice Logit Model was applied for analysis on two groups of health food consumer: the vegans and non vegans. The results of this model estimation were able to explain the factors influencing the choice of consumers to consume health foods with 75.00 % predictive accuracy. At 99 % statistically significant level, the factors encouraging consumers to consume health foods were the desire to utilize healthy foods for healing or relieving the sickly symptoms of ailments, and the belief in and attitude toward the claim that eating healthy foods will be good and beneficial for one’ health and physical conditions as well as will help prevent certain diseases. Meanwhile, the explanatory factor at 95 % statistically significant level was male.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอาหารเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectผู้บริโภคen_US
dc.subjectพฤติกรรมen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Consumers’ Behavior on Health Food Consumption in Mueang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc641.302-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashอาหารเพื่อสุขภาพ -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 641.302 พ366ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมกับผู้บริโภคที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ จำนวน 200 คน และผู้บริโภคที่ไม่ได้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ จำนวน 200 คน ทำการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองโลจิทแบบสองทางเลือก (binary choice model) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า อาหารเพื่อสุขภาพที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานมากที่สุดคือ อาหารมังสวิรัติ รองลงมาคือ อาหารเจ และอาหารชีวจิต โดยตัวอย่างผู้บริโภคอาหารสุขภาพทั้ง 3 ประเภท มีสัดส่วนจำนวนครั้งในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในหนึ่งสัปดาห์ที่ใกล้เคียงกัน คือ จำนวน 1 – 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีช่วงเวลาที่เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ไม่แน่นอน และรู้จักอาหารเพื่อสุขภาพจาก หนังสือ นิตยสาร วารสารเพื่อสุขภาพเหมือนกัน ขณะที่ด้านค่าใช้จ่าย พบว่า ตัวอย่างผู้บริโภคอาหารชีวจิตส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100 บาท ขณะที่ตัวอย่างผู้บริโภคอาหารเจ และอาหาร มังวิรัติ มีค่าใช้จ่าย 101 – 200 บาท ด้านระยะเวลาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจนถึงปัจจุบัน พบว่า ผู้บริโภคอาหารเจ บริโภคมาเป็นระยะเวลานานที่สุด คือ 5 ปีขึ้นไป ขณะที่ตัวอย่างผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ และชีวจิต มีระยะเวลาบริโภคเพียง 3 – 4 ปี เท่านั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า ผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 3 ประเภท ให้ความสำคัญในลำดับสูงสุดต่อปัจจัยด้านวัฒนธรรมและประเพณีที่สอดคล้องกันต่อประเด็น ที่เห็นว่าการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพนั้น ไม่ต้องการเบียดเบียนสัตว์ งดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ และให้ความสำคัญในลำดับท้ายสุดต่อปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจที่สอดคล้องกันต่อประเด็น ที่เห็นว่าการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพนั้น เป็นเพราะที่ทำงานแนะนำและชักชวนให้รับประทาน แบบจำลองสามารถพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในอนาคตของผู้บริโภค ได้ถูกต้องร้อยละ 82.25 โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตัดสินใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในอนาคตของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 99 ได้แก่ ตัวแปรเพศ ชาย การศึกษา อาชีพ ภาวะสุขภาพ และการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในอนาคต เมื่อต้องการรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคที่เป็นอยู่ ผลการวิเคราะห์แบบจำลองการเลือกบริโภคอาหารมังสวิรัติของกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บริโภคอาหารมังสวิรัติ และกลุ่มที่ 2 ไม่บริโภคอาหารมังสวิรัติ พบว่า แบบจำลองสามารถพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารมังสวิรัติ ได้ถูกต้องร้อยละ 75.00 โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหารมังสวิรัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 99 ได้แก่ เพื่อต้องการรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคที่เป็นอยู่ และมีความเชื่อและทัศนคติว่า การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ จะดีต่อสุขภาพ และเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหารมังสวิรัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ได้แก่ ตัวแปรเพศชายen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT234.03 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX505.86 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1161.15 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2436.12 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3230.21 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4420.63 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5245.28 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6203.18 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdf CONTENT159.38 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER1.23 MBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE189.36 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.