Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45842
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์อังสนา ธงไชย | - |
dc.contributor.author | ตะวัน สุริยะวรรณ | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-03-13T02:43:52Z | - |
dc.date.available | 2018-03-13T02:43:52Z | - |
dc.date.issued | 2557-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45842 | - |
dc.description.abstract | Research title, “Use and Needs of Electronic Information by Faculty at Chiang Mai University”, was aimed at studying the use and needs of electronic information of Chiang Mai University lecturers, along with problems on using electronic information and the management for electronic information service of Chiang Mai University main library. This study was a survey research; data were collected from using questionnaires. Samples of this study were 346 lecturers of Chiang Mai University of the second semester, year 2013. Statistics used in this study were frequency, percentage, mean and standard deviation. Results from the study showed that most of the lecturers were female, age 30-39 years old, holding a doctoral degree, they have academic positions as lecturers under the health science programs. They have experienced more than 6 years in using computer, internet and the database of Chiang Mai University main library. They had high skills in using computer and internet. In addition, their skill in using database of the main library was in a medium level. Most of them search for information from 9.00-12.00 a.m. and used internet for searching information more than using database of the main library. In terms of electronic information using, it was found that most of the lecturers used laptop and desktop as devices for seeking for information respectively. They also accessed in electronic information and database of the main library from faculties or departments. In terms of the purposes for using electronic information, they used it for teaching and doing researches. The reasons that they used electronic information were that searching from electronic information was faster than publication. They used electronic information every day, more than 3 hours per day. Surveyed from database of the main library, most of the lecturers used journals more than books and local databases. Problems on using electronic information were that they did not know how to evaluate quality documents, which sources to start seeking for information from and the difficulties in using main library website. In terms of needs for electronic information services from the main library, lectures agreed that the most service provided close to their expectations were main library staffs were able to gain trust from users, fast speed of wireless and internet which coving all of using areas, and modern database, respectively. However, main library should be improved on the stability of network system, adding more specific subjects’ database, along with training for developing skills for accessing electronic information. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ | en_US |
dc.subject | อาจารย์ | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การใช้และความต้องการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Use and Needs of Electronic Information by Faculty at Chiang Mai University | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 025.524 | - |
thailis.controlvocab.thash | มหาวิทยาลัยเชียงใหม -- อาจารย์ | - |
thailis.controlvocab.thash | การค้นข้อสนเทศ | - |
thailis.controlvocab.thash | ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 025.524 ต117ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยเรื่อง การใช้และความต้องการใช้สารสเทศอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้และความต้องการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนศึกษาปัญหาในการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดการบริการสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 346 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก มีตำแหน่งวิชาการเป็นอาจารย์ สังกัดกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มากกว่า 6 ปี มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก และทักษะในการใช้ฐานข้อมูลของสำนักหอสมุดอยู่ในระดับปานกลาง ในการสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์จะนิยมใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้ฐานข้อมูลของสำนักหอสมุด โดยใช้หรือสืบค้นสารสนเทศในช่วงเวลา 9.00-12.00 น. มากที่สุด สำหรับการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่มีอุปกรณ์การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ คือ คอมพิวเตอร์พกพา รองลงมา คือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และจะเข้าถึงแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และฐานข้อมูลของสำนักหอสมุดจากคณะหรือภาควิชา วัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ คือ ใช้เพื่อการศึกษาประกอบการเรียน การสอน และใช้ในการค้นคว้างานวิจัย สำหรับสาเหตุที่ใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ คือ สืบค้นได้รวดเร็วกว่าการสืบค้นจากสื่อสิ่งพิมพ์ โดยมีการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ทุกวัน และระยะเวลาการใช้ในแต่ละวันมากกว่า 3 ชั่วโมง สำหรับการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักหอสมุด อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้ฐานข้อมูลวารสารมากกว่าฐานข้อมูลหนังสือ และฐานข้อมูลท้องถิ่น ปัญหาของอาจารย์ด้านทักษะในการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ คือ ไม่ทราบวิธีการประเมินเอกสารที่มีคุณภาพ ไม่ทราบว่าควรเริ่มสืบค้นจากแหล่งใด และเว็บไซต์สำนักหอสมุดใช้งานยาก สำหรับความต้องการบริการสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักหอสมุดจัดบริการ อาจารย์มีความเห็นว่าบริการได้ใกล้กับความต้องการมากที่สุด คือ บุคลากรสำนักหอสมุดสามารถสร้างความเชื่อถือไว้วางใจให้กับผู้ใช้ มีการจัดการจุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ได้อย่างรวดเร็ว และมีบริการครอบคลุมพื้นที่ใช้งาน และมีฐานข้อมูลที่ทันสมัย ตามลำดับ ส่วนบริการที่สำนักหอสมุดจะต้องพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขเป็นลำดับแรก คือ ระบบเครือข่ายที่มีความเสถียร รองลงมาคือ บอกรับฐานข้อมูลเฉพาะวิชาเพิ่มเติม รวมถึงมีการจัดอบรมทักษะการเข้าถึงสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 264.61 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 4.43 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 271.58 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 530.35 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 372.2 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 874.38 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 390.66 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 166.73 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 840.25 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 321.11 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.