Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40014
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร. ศักดา สวาทะนันทน์ | - |
dc.contributor.author | ฐิติมา ญาณะวงษา | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-30T07:45:26Z | - |
dc.date.available | 2017-08-30T07:45:26Z | - |
dc.date.issued | 2558-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40014 | - |
dc.description.abstract | The purposes of this study were to study 1) time management and instructional activities that have different contexts in Chiang Mai primary schools, 2) learning opportunities of students that have different of contexts and time management in Chiang Mai primary schools. The sample were selected by multi-stage sampling that consisted of 6 head of academic affairs, 6 home room teachers, 48 teachers from eight subject areas, and 30 students of Prathom Suksa 6th in 6 schools under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 1. The instruments of this study were 1) an analysis form of time management characteristics in overall with school planning 2) an analysis form of time management characteristics and learning opportunities in each subject areas 3) a teacher’s questionnaire about using teaching plans and promoted students’ learning opportunities in classroom and 4) an interview form about learning opportunities of students. The data were analyzed by classifying data into groups, frequency, percentage and interpretation average, presented in the form of descriptive analysis. The result of the study were as followed; Time management and learning opportunities of Pratom Suksa students in both contexts were similar as time management; the periods of time in schedule were set according to The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). The first period was start from 08.30 to 09.30 and the last session was from 14.30 to 15.30 . Foreign language substance was set in the morning session while the extra curriculum activities were set in the afternoon session. Teaching and learning, activities focused on practical skills needed more time provision. Activities with variety media and fun activities needed control of a teacher. More time on independent assignment was needed Learning opportunities ; for physical development; most opportunities provided by learning through movement and gross motor development in physical education, dancing arts and agriculture, and fine motor development was mostly enhanced through painting and writing activities. For cognitive development, thinking skills , process and self-knowledge conclusion were the most activities provided. For social development, most opportunities were enhanced through interaction with classmates at the highest level. In order that the issues were different as 1) Time management, the different found was the length during lunch time break, the one of the elementary schools was shorter than educational opportunity expansion schools2) Teaching and learning, elementary school teachers had the opportunity to have more flexible time to teach than the ones in educational opportunity expansion schools and 3) Learning opportunities, the difference found in enhancing emotional development, the elementary school mostly focused on distinguishing between the good or evil, right-wrong, suitable or unsuitable. While the educational opportunity expansion schools mostly focused on communication skills, and express emotion through activities. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา | en_US |
dc.title | การจัดเวลาเรียนและโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนประถมศึกษาที่มีบริบทแตกต่างกัน ในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Time Management and Learning Opportunities of Students in Different Contexts in Chiang Mai Primary Schools | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 372.24 | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงเรียนประถมศึกษา -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | นักเรียนประถมศึกษา -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การจัดเวลาเรียน -- เชียงใหม่ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 372.24 ฐ343ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดเวลาเรียนและการจัดการเรียน การสอนของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีบริบทแตกต่างกัน และ 2) เพื่อศึกษาโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีบริบทและการจัดเวลาเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ หัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียน จำนวน 6 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 คน ครูผู้สอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 48 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน จาก 6 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบวิเคราะห์ลักษณะการจัดเวลาเรียนตามโครงสร้างเวลาเรียนหลักสูตรสถานศึกษาและตารางเรียน 2) แบบวิเคราะห์ลักษณะการจัดเวลาเรียนและโอกาสในการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามครู เรื่อง การส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ของนักเรียน และ 4) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มตามประเภทของข้อมูลและคำตอบ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และแปลความหมายค่าเฉลี่ยแล้วนำเสนอในรูปของการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การจัดเวลาเรียนและโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 2 บริบทมีประเด็นความสอดคล้องกัน ได้แก่ 1) การจัดเวลาเรียน มีการยึดแนวทางการจัดเวลาตามโครงสร้างเวลาเรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เหมือนกัน มีคาบเรียนแรกเวลา 08.30 - 09.30 น. และมีคาบเรียนสุดท้ายเวลา 14.30 -15.30 น. มากที่สุด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จัดให้นักเรียนได้เรียนในช่วงเช้ามากที่สุด และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในช่วงบ่ายมากที่สุด 2) การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่เน้นการฝึกปฏิบัติทักษะเป็นกิจกรรมที่ครูต้องให้เวลานักเรียนมากที่สุด กิจกรรมที่ใช้สื่อหลากหลาย และสนุกสนานครูต้องควบคุมเวลามากที่สุด และครูให้เวลาอิสระแก่นักเรียนมากที่สุดในทำชิ้นงานหรือผลงานที่หลากหลาย และ3) โอกาสในการเรียนรู้ ด้านร่างกาย นักเรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวและใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในรายวิชาพลศึกษา นาฏศิลป์และงานเกษตรมากที่สุด และใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในกิจกรรมการวาดภาพระบายสี และเขียนหนังสือมากที่สุด ด้านสติปัญญานักเรียนได้ฝึกทักษะและกระบวนการคิด ได้สรุปความรู้ด้วยตนเองในระดับมากที่สุด และด้านสังคมนักเรียนได้ทำกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมห้องเรียนหรือชั้นเรียนในระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1) การจัดเวลาเรียน โรงเรียนขยายโอกาสมีช่วงเวลาพักกลางวันที่มากกว่าโรงเรียนประถมศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอน ครูโรงเรียนประถมศึกษามีโอกาสในการยืดหยุ่นเวลาในการสอนได้มากกว่าครูโรงเรียนขยายโอกาส และ 3) โอกาสในการเรียนรู้ ด้านอารมณ์ โรงเรียนประถมศึกษาให้นักเรียนได้รู้จัก เข้าใจและแสดงออกเกี่ยวกับความดี-ชั่ว ถูก-ผิด เหมาะสม-ไม่เหมาะสมมากที่สุด ส่วนโรงเรียนขยายโอกาสให้นักเรียนได้สื่อสาร ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากที่สุด | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.doc | Abstract (words) | 204.5 kB | Microsoft Word | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 390.02 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
FULL.pdf | Full IS | 4.56 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.