Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39990
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.อุดมโชค อาษาวิมลกิจ-
dc.contributor.authorเกียรติศักดิ์ กันทาแปงen_US
dc.date.accessioned2017-08-25T04:54:52Z-
dc.date.available2017-08-25T04:54:52Z-
dc.date.issued2557-09-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39990-
dc.description.abstractThis study on solid waste management of Papongsubdistrict municipality, DoiSaket district, Chiang Mai province had the objectives to find out the waste problem situation, the waste management of Papongsubdistrict municipality, DoiSaket district, Chiang Mai province, the waste management participation of people in Papongsubdistrict municipality area. In addition, the author also determined the impact to the environment which was from the waste management in the Papongsubdistrict municipality area and the guideline to solve the solid waste management of the municipality by using questionnaire and interview form to collect data. The study result was summarized as follow. There were 336 questionnaire respondents and most of them were female, 56.3%, their ages were between 31-40 years, 44.9%. Additionally, 51.5% of them were sellers, 50.0% were educated with diploma level, 64.9% were married, 54.8% earned income between 5,000-10,000 Baht and 61.9% of the respondents had 1-3 family members. The study result from the questionnaire revealed that the population did not see the importance of the waste management participation in their community for both community planning and 3-years development planning. In term of waste management duration, presently, people were familiar with it, however, they needed more times for waste collection during the festivals or special markets to reduce the accumulated waste. For the impact to the environment, the management did not affect to people’s health or community environment except the smell from the waste collection in specific area only. From the interview of those who took parts in solid waste management or were interested or had experience in waste management i.e. the municipality Administrators: Mayor, Deputy Mayor and Mayor Secretary, Municipal members, Village’s chief, Community Leader and the private Company who was hired to collect the solid waste in the area, it was found that budgeting was the main problem of the waste management as Papong Municipality was a small local administrative organization so the budget was limited. For the participation of the population, the waste was not separated into groups, for instance, the waste was increasing. Therefore, the author suggested that there should be waste separation in the household. Another problem was that there was not any temporary waste pit in the area so there was a problem of disorder. In term of the participation in community planning and 3-years development planning, the population was not interested in proposing any problem though they could do it. The duration of waste collection was appropriate and for the impact to the environment, there was just bad smell from the waste that people placed before the garbage truck collected it.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเทศบาลตำบลป่าป้องen_US
dc.titleการบริหารจัดการขยะของ เทศบาลตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSolid Waste Management of Pa Pong Subdistrict Municipality, Doi Saket District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc363.728-
thailis.controlvocab.thashเทศบาลตำบลป่าป้อง-
thailis.controlvocab.thashขยะ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการกำจัดขยะ -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 363.728 ก617ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่องการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลป่าป้อง อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่นี้ เป็นการศึกษาถึงสภาพปัญหาขยะและการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าป้องในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการจัดการขยะในเขตเทศบาลตำบลป่าป้องและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลป่าป้อง โดยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 336 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.9 อาชีพของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 51.5 ประกอบอาชีพค้าขาย ได้รับการศึกษาในระดับ อนุปริญญาร้อยละ 50.0 สถานภาพการสมรสของผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 64.9 มีสถานภาพสมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 54.8 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนของผู้ตอบแบบสอบถาม มีจำนวน 1-3 คน ร้อยละ 61.9 ผลการศึกษาจากแบบสอบถามพบว่า ประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมต่อการบริหารจัดการขยะในชุมชน ทั้งในการจัดทำแผนในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนชุมชน และแผนพัฒนาสามปี ในด้านช่วงเวลาในการจัดเก็บขยะมูลฝอยในปัจจุบันนั้นประชาชนมีความคุ้นเคยกับรูปแบบการจัดเก็บในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการให้เพิ่มช่วงเวลาในการจัดเก็บขยะ ในช่วงที่มีการจัดงานประเพณีสำคัญ ๆ หรือช่วงที่มีตลาดนัด เพื่อลดปริมาณขยะที่สะสม ในด้านของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ปัจจุบันยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน อาจจะมีเรื่องกลิ่นจากการจัดเก็บขยะ แต่เป็นเฉพาะบริเวณเท่านั้น ผลการสัมภาษณ์ ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะหรือที่มีความรู้ สนใจและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการขยะ ได้แก่ผู้บริหารเทศบาล ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล กำนันผู้ใหญ่บ้าน แกนนำชุมชน บริษัทเอกชนที่รับเหมาเก็บขยะ พบว่าในเรื่องของปัญหาและอุปสรรคที่พบในการบริหารจัดการขยะด้านงบประมาณ เนื่องจากเทศบาลตำบลป่าป้องเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก มีงบประมาณในการบริหารจัดการค่อนข้างจำกัด ในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนปัจจุบันไม่มีการคัดแยกขยะก่อนกำจัดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน นอกจากนั้นปัญหาที่พบคือไม่มีที่พักขยะชั่วคราว ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความเป็นระเบียบเรียบร้อยในประเด็นการมีส่วนร่วมเสนอปัญหาความต้องการด้านการบริหารจัดการขยะในกระบวนการจัดทำแผนชุมชนและแผนพัฒนาสามปี พบว่าประชาชนยังไม่ให้ความสนใจในการเสนอปัญหา ทั้งที่สามารถกระทำได้ ช่วงเวลาในการจัดเก็บขยะมูลฝอยในปัจจุบัน มีความเหมาะสม ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบเกี่ยวกับมลภาวะทางกลิ่นเนื่องจากประชาชนนำถุงขยะมาวางไว้ก่อนที่รถจัดเก็บขยะจะมาเก็บซึ่งอาจมีผลกระทบเรื่องกลิ่นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT272.69 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX402.98 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1353.57 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2499.62 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3304.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4759.5 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5307.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT264.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER549.83 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE215.83 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.