Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39983
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ.ดร.ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี-
dc.contributor.authorอรกัญญา อินทะวงค์en_US
dc.date.accessioned2017-08-25T04:29:21Z-
dc.date.available2017-08-25T04:29:21Z-
dc.date.issued2557-07-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39983-
dc.description.abstractThe Management for Efficiency Learning and Cultural Learning and Tourism of WiangKumKam, Chiang Mai Province.contains 3 objectives as follows. 1) Examine historical context, physical characteristic, cultural heritage and environment of historic city, WiengKumkam, Chiang Mai province 2) Examine problems in cultural heritage management for learning and cultural tourism of WiengKumkam at present and 3) Suggest managerial guideline to increase effectiveness of WiengKumkam’s cultural heritage as learning source and cultural tourism. This independent study is qualitative research presented in descriptive form. It investigates cultural resources, environment and problems or WiengKumkam by using multidisciplinary method to analyze and propose appropriate managerial guideline. It contains literature review, observation, and non-structured interview in order to attain in-depth information form the samples, relevant persons, interested persons, and group discussion. These will be analyzed to find managerial guideline in order to increase effectiveness of learning and cultural tourism of WiengKumkam, Chiang Mai province. The result shows that WiengKumkam is an important ancient city of Chiang Mai in the aspect of history, architecture as well as cultural tourism interested by both foreigners and Thai people. The place has trace of old civilization over 700 years back in the past. WiengKumkam appears in several documents and chronicles. It is located in the west of Chiang Mai city at present. WiengKumkam was excavated in 1984. Fine Arts Department managed the excavation and restoration of other ancient remains. It finally located other 43 abandoned temples and important ancient remains in Tawangtan, Saraphi district. In addition, the site within WiengKumkam area contains plenty ruins of ancient remains. In 2005, Chiang Mai in collaboration with the Tourism Authority of Thailand organized development project and promote WiengKumkam historical city as art and cultural tourist attraction and history learning source under the name “WiengKumkam the underground ancient city”. Hundred thousands of tourists, including Thai people and foreigners as well as scholars and historians visit the place to study it annually. The problems in managing learning source and cultural tourism are as follows. The first problem is about learning WiengKumkam’s cultural heritage, including sign board, information center and guide. The second problem is about facilitating tourists, who visit WiengKumkam. There is no sign board, free brochure and insufficient facility. The third problem is about learning media. In this study, the researcher proposes managerial guideline to increase effectiveness of learning and cultural tourism at WiengKumkam, Chiang Mai city. Chiang Mai Provincial Organization must take the role in performing site management. It should improve learning media and facilities for tourism as appropriate. Such guideline will correspond with the concept of developing cultural resource as tourist attraction and creating learning source.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Management for Efficiency Cultural Learning and Tourism of WiangKumKam, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc915.9362-
thailis.controlvocab.thashเวียงกุมกาม (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 915.9362 อ171ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพ มรดกทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของของเมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการมรดกวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเวียงกุมกามในปัจจุบันและ3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมรดกวัฒนธรรมของเวียงกุมกามให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิธีการศึกษาค้นคว้าแบบอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการนำเสนอในรูปแบบพรรณนา เป็นการศึกษาทรัพยากรทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสภาพปัญหาของเวียงกุมกามโดยใช้วิธีการศึกษาในรูปแบบสหวิทยาการเพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการจัดการที่เหมาะสมทั้งการศึกษาข้อมูลจากเอกสารการสังเกตการณ์การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้เกี่ยวข้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการสนทนากลุ่มวิเคราะห์และหาแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า เวียงกุมกามเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นสถานที่ที่มีร่องรอยอารยธรรมที่เก่าแก่และมีความเป็นมาอย่างยาวนานกว่า 700 ปีเวียงกุมกามปรากฏอยู่ในเอกสารตำนานหลากหลายฉบับและมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน โดยมีการขุดค้นพบเวียงกุมกามในปี 2527 ซึ่งกรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งพร้อมทำการบูรณะโบราณสถานอีกหลายแห่ง จนทำให้ค้นพบวัดร้างและกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญในเขตตำบลท่าวังตาลอำเภอสารภี ถึง 43 แห่ง นอกจากนี้ภายในบริเวณเวียงกุมกามยังมีซากปรักหักพังของโบราณสถานมากมายในปี 2548 จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้มีโครงการพัฒนาและประชาสัมพันธ์เมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกามขึ้นเพื่อให้เวียงกุมกามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและเป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ภายใต้ชื่อ “เวียงกุมกามนครโบราณใต้พิภพ” ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศรวมทั้งนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ เข้ามาเที่ยวชมและศึกษาหาข้อมูลทางวิชาการนับแสนคนต่อปี ปัญหาของการจัดการแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคือปัญหาแรกด้านของการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมเวียงกุมกามทั้งป้ายนำชมศูนย์บริการข้อมูลเวียงกุมกามและมัคคุเทศก์ปัญหาที่สองด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของการท่องเที่ยวเวียงกุมกามทั้งป้ายบอกทาง ไม่มีเอกสารแนะนำแจกและมีสถานที่อำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ ปัญหาที่สามด้านสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเสนอแนวทางว่าการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเวียงกุมกามจังหวัดเชียงใหม่ ว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ต้องเข้ามามีบทบาทดำเนินงานในส่วนของการจัดการพื้นที่ และควรทำการปรับปรุงสื่อการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวให้เหมาะสม ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวจะสอดคล้องกับแนวคิดกับการพัฒนาแหล่งทรัพยากรวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแนวคิดการสร้างแหล่งเรียนรู้en_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT167.03 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX223.81 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1291.23 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2762.32 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3193.94 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 43.72 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 51.43 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6161.03 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT253.11 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER553.08 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE221.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.