Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39979
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.จันทนา สุทธิจารี | - |
dc.contributor.author | กฤตยรัฐ ปารมี | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-25T03:48:57Z | - |
dc.date.available | 2017-08-25T03:48:57Z | - |
dc.date.issued | 2557-05-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39979 | - |
dc.description.abstract | The purpose to study ‘Expanding of the Royal Project on solving the issue of sustainable opium cultivation in Omkoi District, Chiang Mai province’ are 1) to study of cause and other factors related to opium situation in area 2) to study on conceptual and the conversion process policy or model scheme for practicing in expansion areas of the royal project and solving the issue of sustainable opium 3) to study previous project’s result by focusing on drugs concept, public policy theory, participate concept and develop alternative solutions to identify the scope to study by providing questions for research. This research is considered to be analyzed through its quality by collecting documents and interviewing key informant. In addition, to interview with focus-group and representative of habitants living in the area. The result finds that “Opium” has still be widely planted and continuously expanded. Main reasons for this existing opium are people’s belief and local society and culture that emphasized that opium is not considered as drugs, but herbal medicine which has brought income to local and has been well-passed over generation to generation by using “opium” for rituals worship purpose. This is the main reason why the project hasn’t been well-achieved to its purpose and policy to reduce number of opium in local area. Therefore, the project will support and improve 1. Strategic planning of this project is excellent, but lacking of complete integration and correspondence of local people. 2. To translate strategic planning into action, some activities doesn’t follow its purpose and not able to develop quality in way of living in order to change opium situation. 3. Inadequate of responsible persons in the area to drive this project compared to size and difficulty to access the area. 4. Communication between team and local tribes which communicate in another language 5. Format of life development and promote occupations in the area don’t follow social context. This research provided suggestions which are, to develop this projects for sustainable improvement in “opium” area, it requires development in planning for suitable format and go along with the way locals live, culture and social context by promoting “Community base approach” starting with cooperation in local scales, develop the bonding of family and discourage drugs, consolidate local mechanism and people to become united with organization. Moreover, the area will needs to promote occupations and provide knowledge as learning center to local not to deal with opium or drugs which will definitely lead to sustainable problem solving in Omkoi district and achieve the purpose of this project. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | โครงการขยายผลของโครงการหลวง เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Expanding of the Royal Project on Solving the Issue of Sustainable Opium Cultivation in Omkoi District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 362.293 | - |
thailis.controlvocab.thash | โครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ฝิ่น -- การควบคุม | - |
thailis.controlvocab.thash | ฝิ่น -- เชียงใหม่ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 362.293 ก914ค | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่อง “โครงการขยายผลของโครงการหลวง เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุของปัญหา และปัจจัยเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฝิ่นในพื้นที่ 2) ศึกษากรอบแนวคิด ยุทธวิธีในกระบวนการแปลงนโยบายหรือแผนแม่บทสู่การปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่ของโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน 3) ศึกษาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกรอบแนวคิดเกี่ยวกับยาเสพติด แนวคิดทฤษฎีนโยบายสาธารณะ แนวคิดการมีส่วนร่วม และแนวคิดการพัฒนาทางเลือก เพื่ออภิปรายประเด็นที่ศึกษาภายใต้กระบวนการตั้งคำถามวิจัย โดยวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ จากกลุ่มบุคคลสำคัญ (Key Informant) และจากกระบวนการสัมภาษณ์กลุ่ม(Focus-Group) กับตัวแทนชาวบ้านในระดับพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า “ฝิ่น” ในพื้นที่ยังคงมีสถานการณ์การปลูกและการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง สาเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ฝิ่นยังคงอยู่ คือเรื่องความเชื่อของประชาชนและวัฒนธรรมทางสังคมในระดับพื้นที่ ที่มองว่า “ฝิ่น” ไม่ได้เป็นยาเสพติด แต่เป็นรักษาโรค เป็นแหล่งที่มาของรายได้ รวมถึงมีการปฏิบัติสืบทอดในชุมชนโดยใช้ “ฝิ่น” เป็นเครื่องบูชาเลี้ยงผี ทั้งนี้ในการดำเนินงานของโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนจึงไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของนโยบายหรือแผนแม่บทที่ต้องการลดจำนวนฝิ่นในพื้นที่ เพราะ 1) แผนแม่บทในการดำเนินงานครั้งนี้เป็นแผนที่ดีแต่ขาดมิติการบูรณาการอย่างแท้จริง และไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ 2) ปัญหาเรื่องการแปลงแผนแม่บทนำสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ ยังมีบางกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องและไม่สามารถสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัญหาฝิ่นในพื้นที่ได้ 3) ปัญหาเรื่องบุคลากรที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่โครงการมีจำนวนไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบขนาดและความยากลำบากในการเข้าถึงพื้นที่ 4) ปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร(ภาษา) ระหว่างตัวเจ้าหน้าที่กับกลุ่มคนในพื้นที่เนื่องจากคนพื้นที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ 5)ปัญหาด้านรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมอาชีพที่ไม่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่หมู่บ้านชุมชน งานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ แผนการดำเนินโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาแผนงานโครงการเพื่อให้มีรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและบริบททางสังคมในพื้นที่ โดยนำกรอบแนวคิด “ชุมชนคือศูนย์กลาง” (Community Base Approach) เริ่มจากกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและส่งเสริมกระบวนการเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด พัฒนากลไกชาวบ้านและท้องถิ่นให้เป็นหนึ่งในองค์กรความร่วมมือ พร้อมทั้งยกระดับด้านการประกอบอาชีพ ด้านองค์ความรู้ เพื่อมิให้ข้องเกี่ยวกับ “ฝิ่น” หรือยาเสพติดอื่นใด อันจะนำไปสู่มิติการจัดการปัญหาฝิ่นในพื้นที่อำเภออมก๋อยได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 180.88 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 150.86 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 365.06 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 640.69 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 165.7 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 668.6 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 314.53 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 167 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 728.57 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 206.47 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.