Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39967
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.รุจ ศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.สุรพลเศรษฐบุตร-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์-
dc.contributor.authorอดิสรณ์ ลาภพระแก้วen_US
dc.date.accessioned2017-08-25T03:07:40Z-
dc.date.available2017-08-25T03:07:40Z-
dc.date.issued2557-08-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39967-
dc.description.abstractThe objectives of this study were to (1) determine economic and social situations of agricultural extension officers in Mae Hong Son province, (2) find the satisfaction level on work performance of the agricultural extension officers and (3) to study problems, difficulties and suggestions on agricultural extension work performance of the agricultural extension officers. The target group of the study was 30 agricultural extension officers in Mae Hong Son province. This study was mixed method study which included both quantitative and qualitative study and the study instruments for collecting data were questionnaires and in-depth interview form. For instance, the quantitative questionnaire was used with 30 agricultural extension officers and the interview form was used for in-depth information from 7 agricultural extension officers. The quantitative data was analyzed by descriptive statistics i.e. frequency, minimum, maximum, arithmetic mean and standard deviation, while the qualitative data was analyzed by content analysis. The study revealed that the agricultural extension officers included 53.33% male, 36.27 years of age at the average, 56.67% were agricultural extension academics and their average work duration was 10.60 years and they had work experience in Mae Hong Son province for 6.67 years. In addition, 80% of them graduated with bachelor degree or equal and their average income was 20,284 Baht per month which was the salary at 19,493 Baht per month. 53.33% of the officers were single and 83.33% of them were in debt. In term of work condition of the agricultural extension officers, 36.67% of them were responsible for 1,001-2,000 agricultural family, 93.33% of them transported to working area by motorcycle and 100% had Karen hill tribe population as their target group. The study on satisfaction toward agricultural work performance in Mae Hong Son was found that the agricultural extension officers were satisfied in their work performance for overall at the medium level. When the author divided the satisfaction to 8 aspects, it revealed that the agricultural extension officers were satisfied at the high level with personnel relation aspect and with work stability aspect. Meanwhile, the satisfaction at the medium level was work nature aspect, chain of command aspect, work environment, welfare and wage aspect, balancing work life and personal life aspect and advancement aspect. From the in-depth interview, the agricultural extension officers were very satisfied on personnel relationship. In term of problems and difficulties on agricultural work, it was found that overall the agricultural extension officers faced problems and difficulties in their work performance at the medium level. When considered for each problem and difficulty, it was found that they faced the problems and difficulties at the high level in term of physical aspect such as remote area and geographic variability, transportation and communication. Additionally, the aspects which the officers faced at the medium level were administrative budget, cooperation with other bodies, administration problem and health problem. From in-depth interview, the agricultural extension officers encountered problems and difficulties at the high level in terms of physical matter, transportation and communication. Finally, the suggestions from the agricultural extension officers were Department of Agricultural Extension should support the facilities for the officers or the Office to promote the agricultural extension. Also, the wage for the officers should be considered for the works in high land area which was different from plain area. Moreover, the government employees who worked in local area should be promoted to be government officers for their continuous work in agricultural extension.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรen_US
dc.titleความพึงพอใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativePerformance Satisfaction of Agricultural Extension Officers in Mae Hong Son Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc630.715-
thailis.controlvocab.thashเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร -- ความพอใจในการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashการส่งเสริมการเกษตร -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 630.715 อ143ค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานบางประการ ทางเศรษฐกิจและสังคมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร(3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนทั้งหมด30คนการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) คือมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยแบบสอบถามเชิงปริมาณใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจำนวน 30 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกใช้สำหรับเก็บข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจำนวน 7 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่ำสุด สูงสุด ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวนร้อยละ 53.33 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 36.27 ปี จำนวนร้อยละ 56.67 มีตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการมีประสบการณ์การทำงานในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เฉลี่ย 6.67 ปี จำนวนร้อยละ 80.00จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามีรายได้รวมเฉลี่ย 20,284 บาทต่อเดือน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 53.33 มีสถานภาพโสดร้อยละ 83.33มีภาระหนี้สินสภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวนร้อยละ 36.67 รับผิดชอบครัวเรือนเกษตรกรจำนวนระหว่าง 1,001-2,000 ครัวเรือน จำนวนร้อยละ 93.33 ใช้รถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะในการปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย จำนวนร้อยละ 100.00 มีบุคคลเป้าหมายเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง การศึกษาความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกประเด็นความพึงพอใจใน 8 ด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความพึงอยู่ในระดับมากในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านความมั่นคงในงาน ในขณะที่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรระดับปานกลางได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านการบังคับบัญชาด้านสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานด้านสวัสดิการและค่าตอบแทน ด้านการรักษาดุลยภาพระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และด้านความก้าวหน้า จากการสัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความพึงพอใจมากในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในด้านปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร พบว่าโดยภาพรวมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อยพบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีปัญหาและอุปสรรคในระดับมาก ในด้านลักษณะทางกายภาพเช่นความทุรกันดารและความแปรปรวนของสภาพภูมิประเทศ ด้านการคมนาคม และด้านการสื่อสารและปัญหาอุปสรรคในระดับปานกลาง ได้แก่ด้านงบประมาณการดำเนินการ ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นด้านการบริหาร และด้านสุขภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีปัญหาและอุปสรรคมาก ในด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการคมนาคม และด้านการสื่อสาร ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร คือ กรมส่งเสริมการเกษตรควรมีการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรหรือสำนักงานเกษตรเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการเกษตรควรมีการศึกษาด้านค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร(เบี้ยเลี้ยง)ในพื้นที่สูงกับพื้นที่ราบซึ่งมีความแตกต่างกันควรมีการบรรจุให้พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อยู่แล้วและเป็นคนในพื้นที่เป็นข้าราชการประจำเพื่อการส่งเสริมการเกษตรมีความต่อเนื่องen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT133.91 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX318.56 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1126.22 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2293.17 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3143.18 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4400.66 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5166.3 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT104.69 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdf COVER577.52 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdf REFERENCE137.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.