Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39938
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ.ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์-
dc.contributor.authorสุรัสวดี กัลยาสิทธิ์en_US
dc.date.accessioned2017-08-24T04:21:11Z-
dc.date.available2017-08-24T04:21:11Z-
dc.date.issued2558-03-21-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39938-
dc.description.abstractThis thesis is the study on special measures for juvenile criminal offence in in drug case. The research was conducted by documentary research and interview with officers related to enforcement of substituted special measures. The officers are investigators, detention officers, attorney, responsible juvenile and family case and Judges of Juvenile and Family Court. From the study, it is found that the special measures help reduce commitment of recidivism of juvenile; but the measures still have problems and impediment in enforcement, which could be summarized as follows: 1. For the Special measures substituted for criminal before trial according to Section 86, from the study, it is found that the operation of detention centers has problems on injured persons giving consent in making rehabilitation planning. If there is no injured persons giving consent, rehabilitation planning cannot be done.This causes problems in bringing juvenile committing offense in narcotic case into the special measures instead of criminal procedure. This isbecause, in the narcotic case, the state is the injured person. Therefore, the rehabilitation plan could not be made in accordance with Section 86. 2. For the Special measures substituted for criminal before judgment according tosection 90, it is found that operation of the court has major problem on statutory interpretation, especially the degree of penalty stipulated by the laws which directs which offense that could be brought into special measures instead of proceedings.The statue scope is too broad and creates problems on judicial discretion in considering for which cases should bring into special measures substituted for criminal. 3. The thesis proposes a reform on the matter of charges or offense that there should be a clear stipulation on which case should be brought into the special measures substituted for criminal.Especially there should be a stipulation on case related to narcotic case which should be brought into special measure instead of criminal proceedings. Also, regarding to the issue on injured persons who have to give consent according to the last paragraph of section 86, there should be an amendment. The last paragraph of the section 86 should be removed. In addition, there should be a clear stipulation on the rate of penalty according to Section 86 and 90 in order to bring persons into the special measures substituted for criminal drug offence.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการสอบสวนคดีอาญาen_US
dc.titleมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในคดียาเสพติดen_US
dc.title.alternativeSpecial Measures for Juvenile Case on Criminal Drug Offenceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc362.293-
thailis.controlvocab.thashการสอบสวนคดีอาญา-
thailis.controlvocab.thashวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน-
thailis.controlvocab.thashยาเสพติดกับเยาวชน -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashเด็ก -- ไทย-
thailis.manuscript.callnumberว 362.293 ส4711ม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในคดียาเสพติดวิธีการวิจัยใช้วิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาทั้งในตัวบทกฎหมายและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และ การวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ได้แก่ พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่สถานพินิจ (พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ) พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว และผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย จากการศึกษาพบว่า มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยลดอัตราการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน เพราะการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูโดยการประชุมกลุ่มครอบครัวเป็นไปเพื่อประโยชน์และคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ ซึ่งประเทศสิงคโปร์ ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกาต่างก็นำมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาใช้แก้ไขฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี โดยประเทศไทยได้นำเอามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของประเทศนิวซีแลนด์มาเป็นแบบอย่างในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู แต่มาตรการดังกล่าวของประเทศไทยยังมีปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนฟ้อง มาตรา 86 จากการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนการดำเนินงานของสถานพินิจในเรื่องผู้เสียหายให้ความยินยอมในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู เพราะหากไม่มีผู้เสียหายให้ความยินยอมแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูย่อมไม่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการนำเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในคดี ยาเสพติดเข้าสู่มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา เพราะคดียาเสพติดเป็นคดีที่รัฐเป็นผู้เสียหายจึงไม่สามารถจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 86 ได้ 2. มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในชั้นก่อนศาลมีคำพิพากษา มาตรา 90 จากการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนการดำเนินงานของศาลในเรื่องผู้เสียหายให้ความยินยอมในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเช่นเดียวกับมาตรา 86 และปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือ เรื่องการตีความในตัวบทกฎหมายในเรื่องการพิจารณาของศาลเรื่องอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดว่าคดีใดหรือฐานความผิดใดที่จะสามารถเข้าสู่มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาได้ เช่น คดียาเสพติด เป็นต้น เพราะในตัวบทกฎหมายได้กำหนดขอบเขตไว้กว้างเกินไป ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณาว่าคดีใดสมควรนำเข้าสู่มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา 3. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ในประเด็นเรื่องเด็กและเยาวชนสำนึกผิดในการกระทำของตน สถานพินิจและศาลต่างก็มีเครื่องมือคัดกรองหรือแนวทางในการพิจารณาว่าเด็กและเยาวชนสำนึกผิดในการกระทำของตนต่างกัน จึงควรกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมแนวทางการปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกันไว้ในข้อกำหนดประธานศาลฎีกา และในประเด็นข้อหาหรือฐานความผิด ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าคดีใดควรนำเข้าสู่มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาโดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ควรกำหนดให้นำเข้าสู่มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องผู้เสียหายให้ความยินยอม ควรแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นการไม่มีผู้เสียหายหรือไม่สามารถติดต่อเสียหายได้ โดยในส่วนมาตรา 86 ควรตัดประเด็นเรื่องผู้เสียหายให้ความยินยอมในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามบทบัญญัติมาตรา 86 วรรคท้ายออกไปและในประเด็นเรื่องอัตราโทษหรือฐานความผิดในมาตรา 86 และมาตรา 90 ในการพิจารณาว่าคดีใดควรจะเข้าสู่มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาควรกำหนดอัตราโทษหรือฐานความผิดให้ชัดเจนไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าคดีใดบ้างควรนำเข้าสู่มาตรการพิเศษแทนดำเนินคดีอาญาen_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.