Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39928
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร. ชูชาติ สันธทรัพย์ | - |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร. อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง | - |
dc.contributor.author | ศิริรัตน์ ปากประโคน | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-23T05:33:16Z | - |
dc.date.available | 2017-08-23T05:33:16Z | - |
dc.date.issued | 2014-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39928 | - |
dc.description.abstract | A study on potential of utilizing waste material from seed lac processing as organic fertilizer was conducted at faculty of agriculture, Chiang Mai University during May 2012 - May 2013. This study has three experiments, the first experiment, two lac organic fertilizer production processes were evaluated. Method I is drying process, different drying temperatures that ranged between 35 and 75C were applied to fresh lac waste sediment to find an optimum temperature that affect minimum nutrients loss. Physico-chemical analysis of dried lac waste sediment (10-11% moisture content), referred to as lac organic fertilizers obtained from the drying process and the fresh lac waste were performed for comparison. Method II is composting process, fresh lac sediment was composted for 8 weeks. Lac organic fertilizers samples were taken every two weeks until 8 weeks for their properties analysis. In addition, effect of storage period on lac organic fertilizer properties were also evaluated. The lac organic fertilizers obtained from drying process were stored at room temperature and analysed their properties every month untit 6 month. The second experiment, the effects of lac organic fertilizer application on N-mineralization and microbial biomass in soil were determinaed by incubation soil with lac organic fertilizer at the rate of 1, 2, and 3 tons/rai in comparison with 2 ton/rai of AG5 compost and control treatment (without organic fertilizer). Moisture of soil samples were maintained at 60% of maximum water holding capacity. Then, the samples were incubated at 25 °C for a month. Soil samples were taken weekly for inorganic N, microbial biomas analysis. The third experiment, the effect of the lac organic fertilizers on growth and yield of Chinese kale under green-house conditions was conducted at the Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. Different rate of lac organic fertilizers were applied to Chinese kale which planted in plastic pots. The treatments used were as followings: control (no fertilizer), 50 kg/rai chemical fertilizer (16-16-16), 3 ton/rai AG5-compost, 3 ton/rai lac organic fertilizer, 3 ton/rai AG5-compost + 25% lac organic fertilizer, 3 ton/rai AG5-compost + 50% lac organic fertilizer, and 3 ton/rai AG5-compost + 75% lac organic fertilizer. The result showed that the optimum temperature of lac waste sediment drying was about 45-55ºC. The drying temperature higher than 55◦C and lower than 45◦C effect the loss of organic matter and nitrogen content particularly ammonium-nitrogen content about 47 and 72 percent, respectinely, but phosphorus contents was only slightly decreased by drying. Composting of wet lac waste sediment at 8 weeks found that lac compost was more suitable for growing plants, which is clearly shown from the increasing pH with period of composting. At six-months storage of the lac organic fertilizers (55ºC drying, 10-11 percentage moisture content) resulted in pH decreasing about 1.4-1.9 pH unit in comparison with the beginning. Soil incubating with different lac organic fertilizer rates gave the higher results on N-mineralization and microbial biomass carbon in soil compared to AG-5 compost. Besides, the application of lac organic fertilizers at the rate of 1 ton/rai increased the N-mineralization and microbial biomass carbon in soil equally 2 tons/rai of compost AG-5 usage. The lac organic fertilizers application rates were applied to Chinese kale found that the mixed organic fertilizer (AG-5 compost plus 50% of lac organic fertilizers) at the rate of 3 tons/rai gave the best result on Chinese kale productivity compared to AG-5 compost at the rate of 3 tons/rai and chemical fertilizer (16-16-16) at the rate of 50 kg/rai. However, application of lac organic fertilizer at the rate of 3 tons/rai possibly caused the plant toxicity. The results indicated that the dried lac waste sediment had a high potential for agricultural utilization. Conversely, the application rate over 3 tons/rai of lac organic fertilizer caused plant stuck growing. Therefore, the mixtures of lac organic fertilizer and compost at rate 25-50% gave the best result on plant response to the applied fertilizer. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ปุ๋ยอินทรีย์ | en_US |
dc.title | การใช้ของเสียจากกระบวนการผลิตครั่งเม็ดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ | en_US |
dc.title.alternative | Use of Waste Material from Seed Lac Production as Organic Fertilizer | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.classification.ddc | 631.86 | - |
thailis.controlvocab.thash | ปุ๋ยอินทรีย์ -- การผลิต | - |
thailis.controlvocab.thash | ของเสียทางการเกษตร | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว 631.86 ศ373ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาศักยภาพของการใช้ตะกอนของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตครั่งเม็ดเพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ได้ดำเนินการที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่าง พฤษภาคม 2555 ถึงพฤษภาคม 2556 โดยแบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 3 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษากรรมวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง 2 วิธี คือ การผลิตโดยวิธีการอบแห้ง ซึ่งได้ทำศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งตะกอนครั่งเปียกต่อคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง โดยทำการอบตะกอนครั่งเปียกด้วยอุณหภูมิระหว่าง 35-75 องศาเซลเซียส จนแห้ง (ความชื้น 10-11%) แล้วจึงวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆ ของตะกอนครั่งแห้ง (ปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง) เปรียบเทียบกับตะกอนครั่งเปียกก่อนอบ และวิธีที่ 2 เป็นการผลิตโดยวิธีการหมัก โดยทำการหมักตะกอนครั่งเปียกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ แล้วจึงวิเคราะห์คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการหมัก ทุก 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำการศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อสมบัติบางประการของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งโดยทำการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25-30 ºC) แล้วทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งทุก 1 เดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน การทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งต่อการแปรสภาพสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน (N mineralization) และปริมาณชีวมวลจุลินทรีย์ (microbial biomass) ในดิน โดยทำการบ่มดินกับปุ๋ยอินทรีย์ครั่งในอัตรา 1 2 และ 3 ตัน/ไร่ เปรียบเทียบกับดินที่ใส่ปุ๋ยหมัก AG-5 ในอัตรา 2 ตัน/ไร่ และดินที่ไม่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นกรรมวิธีควบคุม ตัวอย่างดินถูกปรับระดับความชื้นดินไว้ที่ 60% ของความจุความชื้นสูงสุด แล้วนำไปบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ทำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของไนเตรท แอมโมเนียม และมวลชีวภาพคาร์บอนของจุลินทรีย์ดินทุกๆสัปดาห์เป็นระยะเวลา 1 เดือน และการทดลองที่ 3 เป็นการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครั่งต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักคะน้า โดยทำการปลูกผักคะน้าในกระถางทดลอง ภายใต้สภาพโรงเรือน ของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีการจัดการปุ๋ยในอัตราที่แตกต่างกัน 7 กรรมวิธี ซึ่งประกอบไปด้วย กรรมวิธีควบคุม (ไม่มีการใส่ปุ๋ย), ปุ๋ยเคมี (16-16-16) อัตรา 50กิโลกรัม/ไร่, ปุ๋ยหมัก AG-5 อัตรา 3 ตัน/ไร่, ปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง อัตรา 3 ตัน/ไร่, ปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง 25% อัตรา 3 ตัน/ไร่, ปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง 50% อัตรา 3 ตัน/ไร่, และปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง 75% อัตรา 3 ตัน/ไร่ จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับการอบแห้งตะกอนครั่งควรอยู่ระหว่าง 45-55ºC การใช้ความร้อนสูงกว่า 55ºC และต่ำกว่า 45ºC จะส่งผลให้สูญเสียอินทรียวัตถุและไนโตรเจน โดยเฉพาะไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมที่สูญเสียถึงร้อยละ 47 และ 72 ตามลำดับ แต่อุณหภูมิของการอบแห้งมีผลต่อการลดลงของฟอสฟอรัสเพียงเล็กน้อย จากการหมักตะกอนครั่งเปียกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า การหมักส่งผลให้ตะกอนครั่งมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากค่า pH ที่มีค่าสูงขึ้นตามระยะเวลาที่ทำการหมัก และจากการ เก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้งที่ 55ºC ที่มีปริมาณความชื้นประมาณ 10-11% ไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25-30ºC) เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่งผลให้ค่าความเป็นกรดด่างของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งลดต่ำลง 1.4-1.9 หน่วย จากค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้น เมื่อทำการบ่มดินตามแต่ละกรรมวิธีทดลองเพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งต่อการแปรสภาพสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน(N mineralization) และปริมาณชีวมวลจุลินทรีย์ (microbial biomass) ในดิน พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครั่งทำให้เกิดการแปรสภาพสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนและปริมาณมวลชีวภาพคาร์บอนของจุลินทรีย์ในดินเพิ่มสูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเพิ่มอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง นอกจากนั้นยังพบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครั่งในอัตรา 1 ตัน/ไร่ ทำให้เกิดการแปรสภาพสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน และปริมาณมวลชีวภาพคาร์บอนของจุลินทรีย์ในดิน สูงกว่าเมื่อเทียบเท่ากับการใช้ปุ๋ยหมัก AG-5 ในอัตรา 2 ตัน/ไร่ ในการนำปุ๋ยอินทรีย์ครั่งมาทดสอบกับผักคะน้าใบพบว่า การจัดการโดยการใส่ปุ๋ยหมัก AG-5 ผสมปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง 50% อัตรา 3 ตัน/ไร่ ทำให้ผักคะน้ามีการเจริญเติมโตให้ผลผลิตดีที่สุด เทียบเท่ากับการใส่ปุ๋ยหมัก AG-5 อัตรา 3 ตัน/ไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 อัตรา 50 กก./ไร่ แต่อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง 100% ในอัตรา 3 ตัน/ไร่ อาจจะทำให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชที่ปลูกได้ จากข้อมูลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้ง มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร แต่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครั่งในอัตราสูงกว่า 3 ตัน/ไร่ อาจทำให้พืชชะงัก การเจริญเติบโตได้ ดังนั้นควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครั่งร่วมกับปุ๋ยหมักธรรมดา โดยผสมปุ๋ยอินทรีย์ครั่งลงไปในปุ๋ยหมักในอัตราประมาณ 25-50% จะทำพืชตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดีที่สุด | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.