Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39912
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. อุดมโชค อาษาวิมลกิจ-
dc.contributor.authorนินนาท ดาวรัตนหงษ์en_US
dc.date.accessioned2017-08-23T04:06:43Z-
dc.date.available2017-08-23T04:06:43Z-
dc.date.issued2557-12-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39912-
dc.description.abstractThe research study on “A Comparative Study of Community Networks for Forest Fire Prevention of Baan Hua Tung and Baan Pang Dang Nai, Chiang Dao Sub-district, Chiang Dao District, Chiang Mai Province” aimed to 1) compare the strength of community networks of Baan Hua Tung and Baan Pang Dang Nai, Chiang Dao Sub-district, Chiang Dao District, Chiang Mai Province, 2) compare the activities used to prevent forest fire of Baan Hua Tung and Baan Pang Dang Nai, Chiang Dao Sub-district, Chiang Dao District, Chiang Mai Province, and 3) study and analyze the support from the government sector that helped in forest fire prevention project of Baan Hua Tung and Baan Pang Dang Nai, Chiang Dao Sub-district, Chiang Dao District, Chiang Mai Province. The study was a qualitative research. The primary subjects were 35 people; 17 from Baan Hua Tung and 18 from Baan Pang Dang Nai. The instruments that used to collect data were semistructured interview, using non-participant observation, studying documents and related research and then making conclusion and discussion based on the objectives. Data were analyzed using descriptive statistics and were presented to relate to the objectives. ช The results indicated that: 1. The similarity of the strength and the sustainability of community networks of Baan Hua Tung and Baan Pang Dang Nai were having the village structure, the management of forest fire prevention and having the head of the village that had a role to develop the community. The difference of the two villages was that Baan Hua Tung villagers have had conscious in forest preservation. Bann Pang Dang Nai had extension project of Pang Dang Nai royal project to suggest villagers in forming group. Bann Hua Tung had connection from five villages that used the same water source. In the contrast, Baan Pang Dang Nai tried to establish the network for forest fire prevention. The village invited the neighborhoods to join the activities. 2. The activities used to preserve natural resources of Baan Hua Tung and Baan Pang Dang Nai were similar in term of the awareness of the villagers’ forest preservation because they need to consume water and get benefit from forest. The two villages had their own tradition and activities. These are one way of forest preservation. Moreover, the youth from the two villagers had the willing to help develop their own village. The difference of the two villages was Baan Pang Dang Nai had extension-project of Pang Dang Nai royal project to suggest and support the youth. Baan Hua Tung had senior and the elders to give suggestion. 3. The government sector supported them by giving budget, knowledge, equipment and chance to go on field trip. The difference of the two villages was Baan Pang Dang Nai had the main support from the extension-project of Pang Dang Nai royal project. The royal project did not only give knowledge and budget to the village but also help develop the villagers’ career including with the development of economy, society, and environment. The villagers could extend the knowledge to develop themselves and for self-sufficiency. The suggestion from the research is that the heads of the village should create awareness on natural preservation and be a good role model. They should also create the youth create awareness on natural preservation. In addition, the government and private sectors should focus more on giving the villages knowledge than giving budget, in order that the villagers can bring the knowledge to develop their village. Moreover the government and private sectors should support the youth so that they will have awareness and can apply the knowledge to use to develop their villages and resources. It will lead to sustainable future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectไฟป่าen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบเครือข่ายชุมชนในการป้องกันไฟป่า บ้านหัวทุ่งและบ้านปางแดงใน ตำบลเชียงดาว อำเภอ เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeA Comparative Study of Community Networks for Forest Fire Prevention of Baan Hua Tung and Baan Pang Dang Nai, Chiang Dao Sub-district, Chiang Dao District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc634.9618-
thailis.controlvocab.thashไฟป่า -- การป้องกันและควบคุม-
thailis.controlvocab.thashไฟป่า -- การมีส่วมร่วมของประชาชน-
thailis.controlvocab.thashป่าชุมชน -- เชียงดาว (เชียงใหม่)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 634.9618 น355ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบเครือข่ายชุมชนในการป้องกันไฟป่า บ้านหัวทุ่งและ บ้านปางแดงใน ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา เปรียบเทียบลักษณะความเข้มแข็งของเครือข่ายชุมชนบ้านหัวทุ่งและบ้านปางแดงใน ตำบลเชียงดาวอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมภายใต้เครือข่ายชุมชนบ้านหัวทุ่งและบ้านปางแดงใน ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในการป้องกันไฟป่า 3) ศึกษาและวิเคราะห์การสนับสนุนของรัฐในการดำเนินงานเครือข่ายชุมชนบ้านหัวทุ่งและบ้านปางแดงใน ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมดจำนวน 35 คน บ้านหัวทุ่ง จำนวน 17 คน บ้านปางแดงใน 18 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวมทั้งการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลที􀃉ได้มาสรุปอภิปรายผล ตามวัตถุประสงค์และทำการเสนอในรูปแบบการบรรยายในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาในประเด็นสำคัญพบว่า 1. ความเข้มแข็งของเครือข่ายชุมชนบ้านหัวทุ่งและบ้านปางแดงใน มีลักษณะคล้ายคลึง ในเรื่องของโครงสร้างในการบริหารจัดการและมีวิธีการจัดการไฟป่า รวมถึงผู้นำที่มีบทบาทพัฒนา ชุมชนให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ในด้านความแตกต่างของทั้ง 2 พื้นที่ บ้านหัวทุ่งชุมชนมีจิตสำนึกใน การอนุรักษ์ป่ามาตั้งแต่อดีต ทางบ้านปางแดงใน มีโครงการขยายผลโครงการหลวงปางแดงในเป็น ผู้ให้คำแนะนำในการจัดตั้งกลุ่ม และบ้านหัวทุ่งมีเครือข่ายผู้ใช้น้ำจากป่าต้นน้ำเดียวกัน แต่บ้าน ปางแดงในพยายามที่จะสร้างเครือข่ายป้องกันไฟป่า โดยการเชิญหมู่บ้านข้างเคียงให้เข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน 2.กิจกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของบ้านหัวทุ่งและบ้านปางแดงใน มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องชุมชนรักษาป่า เพราะต้องการใช้น้ำและประโยชน์จากป่า ชุมชนทั้งสอง แห่งโดยมีพิธีกรรมและกิจกรรมเป็นวิธีการหนึ่งในการอนุรักษ์ป่า และมีกลุ่มเยาวชนที่มีจิตอาสา ต้องการพัฒนาชุมชนของตนเอง ส่วนความแตกต่างของทั้ง 2 พื้นที่ บ้านปางแดงในมีโครงการขยาย ผลโครงการหลวงปางแดงในเป็นองค์กรที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนกลุ่มเยาวชน ในขณะที่บ้านหัว ทุ่งมีรุ่นพี่และผู้อาวุโสเป็นผู้ให้คำแนะนำ 3.การสนับสนุนของรัฐในการดำเนินงานของเครือข่าย บ้านหัวทุ่งและบ้านปางแดงใน ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ การส่งไปศึกษาดูงานจากภาครัฐ ส่วนความ แตกต่างของทั้ง 2 พื้นที่ บ้านปางแดงในได้รับความช่วยเหลือจากโครงการขยายผลโครงการหลวง ซึ่งไม่เพียงแต่การให้ความรู้และงบประมาณ แต่ยังพัฒนาอาชีพให้ชาวบ้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านสามารถนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดและพึ่งพาตนเองได้ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยชิ้นนี้ คือ ผู้นำทุกชุมชนควรปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ชุมชน รวมทั้งปลูกฝังเยาวชนในชุมชนให้ เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ควรให้การสนับสนุนในการให้ความรู้กับชุมชนมากกว่าการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อที่ชุมชน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการพัฒนาในชุมชน อีกทั้งสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนใน ชุมชน เพื่อให้เยาวชนเกิดความตระหนักและนำความรู้ไปปรับใช้ พัฒนาหมู่บ้านรวมถึงทรัพยากรใน ชุมชนของตนเองให้เกิดความยั่ง ยืนในอนาคตen_US
Appears in Collections:POL: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.