Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39773
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอังสนา ธงไชย-
dc.contributor.authorพระเธียรชัย ใบศรีen_US
dc.date.accessioned2016-12-12T12:18:51Z-
dc.date.available2016-12-12T12:18:51Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39773-
dc.description.abstractThis study entitled “Attitude and Behavior of Plagiarism Among Chiang Mai University Undergraduate Students” had the objectives of studying the attitudes and behavior regarding plagiarism by undergraduate students of Chiang Mai University. The sample group consisted of -70 students from years 1-4 of the university. The tool for data collecting was a questionnaire. The data was analyzed using frequency, percentage mean and standard deviation and the f-test. The findings were as follows: Regarding the attitude about the university overseeing academic ethics, the sample group felt that the penalty applied by the university was appropriate. They felt the instructors should teach and explain as well as prevent the students from committing plagiarism. At the same time, the library should provide the services about plagiarism prevention or detection programs along with having the role of providing instruction and training on how to avoid plagiarism and how to do citation and reference or bibliographies. It was also found that 72.27 percent of the students did not know about the penalty of plagiarism set by the university. Regarding plagiarism and their experiences, students in the sample felt that the behavior was high among students. The behavior affected their relationship with friends in that they would not be accepted by their classmates and their close friends could not agree with their behavior when they found out that the students had copied other people’s work or their own work respectively. The methods of plagiarism that were used mostly were cut and paste from the Internet without citation or references followed by the cut and paste from written documents without citation or references respectively. Regarding the causes of plagiarism, the sample group felt that it was due to convenient access to the Internet followed by the nature of electronic documents that made it easy to copy and the students wish to get a good grade. As for penalty, although the students agreed with the penalty of the university, they felt it should not be so severe as to be removed from student status or to be suspended from the study. They thought the penalty should be at a moderate level, which was reprimanding and allowing the students to re-take the examination or resubmitting the exercise for that particular course and lastly, to be put on probation respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการลอกเลียนวรรณกรรมen_US
dc.titleทัศนคติและพฤติกรรมการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษา ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAttitude and behavior of Plagiarism among Chiang Mai University undergraduate studentsen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc808-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- นักศึกษา-
thailis.controlvocab.thashการลอกเลียนวรรณกรรม-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 808 พ1711ท-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการลอกเลียนวรรณกรรมของนักศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการดำเนินการดูแลด้านจริยธรรมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษากลุ่มตัวอย่างเห็นว่า บทลงโทษของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความเหมาะสม และเห็นว่าอาจารย์ผู้สอนควรมีหน้าที่สอน ชี้แจง และป้องปรามการลอกเลียนวรรณกรรม รวมทั้งห้องสมุดควรมีการจัดบริการโปรแกรมป้องกันการลอกเลียน และมีบทบาทในการสอนและอบรมเกี่ยวกับการลอกเลียนและการป้องกันการลอกเลียนโดยการอ้างถึงและการเขียนบรรณานุกรมเช่นเดียวกับอาจารย์ ทั้งนี้นักศึกษาร้อยละ 72.27 ไม่ทราบเกี่ยวกับบทลงโทษการลอกเลียนวรรณกรรมในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านพฤติกรรมการลอกเลียนวรรณกรรมและมีประสบการณ์พบเห็นพฤติกรรมการลอกเลียน นักศึกษากลุ่มตัวอย่างเห็นว่านักศึกษามีพฤติกรรมการลอกเลียนวรรณกรรมมากที่สุด รองลงมา เห็นว่าการลอกเลียนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน คือ เพื่อนร่วมชั้นของนักศึกษาจะไม่ยอมรับนักศึกษาหากพบว่านักศึกษาทำการลอกเลียนวรรณกรรมของผู้อื่นและตนเอง และเพื่อนสนิทของนักศึกษาจะไม่ยอมรับการกระทำของนักศึกษาหากพบว่านักศึกษาทำการลอกเลียนวรรณกรรมของผู้อื่นและตนเองตามลำดับ ด้านประสบการณ์ที่พบเห็นพฤติกรรมการลอกเลียนมากที่สุด คือ การคัดลอกข้อความแบบตัดวางจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้แจ้งการอ้างถึงในส่วนของเนื้อหาและอ้างอิงในหน้าบรรณานุกรม รองลงมา ในระดับปานกลาง คือ มีการกระทำการคัดลอกประโยคบางประโยคจากเอกสารโดยไม่ได้ทำการอ้างถึงในส่วนของเนื้อหา และไม่ได้ทำการอ้างอิงในหน้าบรรณานุกรมตามลำดับ ด้านสาเหตุที่ทำให้เกิดการลอกเลียนวรรณกรรม นักศึกษากลุ่มตัวอย่างเห็นว่า มีสาเหตุมาจากอินเทอร์เน็ต และลักษณะเอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทำให้การลอกเลียนทำได้ง่าย และความต้องการได้ระดับคะแนนสูง ตามลำดับ ด้านวิธีการลงโทษ นักศึกษากลุ่มตัวอย่างเห็นว่าถึงแม้จะเห็นว่าบทลงโทษของมหาวิทยาลัยมีความเหมาะสม แต่ก็เห็นว่าให้ควรลงโทษในระดับรุนแรง เช่น การให้ออก หรือ พักการเรียน โดยเห็นว่าควรมีการลงโทษในระดับปานกลาง คือ ควรทำการตักเตือนผู้กระทำ รองลงมา คือ อนุญาตให้นักศึกษาทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดใหม่ในรายวิชานั้น และสุดท้ายให้ทำทัณฑ์บน ตามลำดับen_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT521.52 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX720.97 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1287.39 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2379.53 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3281.71 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4444.38 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5397.91 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT484.01 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER992.95 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE320.44 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.