Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39723
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกวลิน คุณาศักดากุล-
dc.contributor.advisorวิลาวัลย์ คำปวน-
dc.contributor.authorวันวิสา เตชะวงค์en_US
dc.date.accessioned2016-12-08T09:49:05Z-
dc.date.available2016-12-08T09:49:05Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39723-
dc.description.abstractThe purposes of this study were to examine the effects of electrolyzed oxidizing water (EO water) on reduction of rot disease cause by Erwinia carotovora and Xanthomonas campestris and prolonging shelf-life of organic vegetables in vitro. EO water was produced using Super Oxseed Labo. Various concentrations of NaCl solotion at 0.00625, 0.0125, 0.025, 0.05, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4 and 0.5 percents were prepared and then measuring of this free chlorine concentrations and pH values were resulted in the range of 0.40-137.00 ppm and 3.65-4.11, respectively. In addition, the electrolyte conductivity (EC) showed at the range of 0.49-6.23 mS/cm. After soaking of bacterial suspension for 1 and 5 min in each concentration EO water for 48 hrs., 100 percent inhibition of E. carotovora (ECPS2) and X. campestris (XCPS6), which were isolated from chinese cabbage were found. But resistant of E. carotovora (ECTO1) and X. campestris (XCAU3) after treated with 0.00625 percent EO water for 1 and 5 min showed not completely inhibition in range 84.16-99.61 percent. Moreover, bacterial cells which were soaked in EO water at the concentration of 0.0025-0.5 percent were smaller than bacterial cells in distilled water (control). However, phytotoxic symptom affected from EO waters was determined on organic chinese cabbage and found that after washing for 24 hrs., plant leaves were bruised when treated with EO water at 0.4-0.5 percent. After wiping on plants incision with EO water at 0.3 percent concentration showed the best result for reducing rot disease. Application of EO water at the concentration 0.3 percent comparing with other disinfectants (Ozone water, solutions of potassium permanganate (KMnO4), solutions of sodium bicarbonate and Chlorinated Water), found that reducing rot disease prolonging shelf-life of organic vegetables (Chinese cabbage and Cos lettuce) of EO water were better than the trials of other disinfectants.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectออกซิไดซ์en_US
dc.subjectไฟฟ้าen_US
dc.subjectแบคทีเรียen_US
dc.subjectผักอินทรีย์en_US
dc.titleการใช้น้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักอินทรีย์en_US
dc.title.alternativeUsing electrolyzed oxidizing water to control bacteria for prolonging shelf-life of organic vegetablesen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc628.1673-
thailis.controlvocab.thashน้ำ -- การแยกสลายด้วยไฟฟ้า-
thailis.controlvocab.thashแบคทีเรีย-
thailis.controlvocab.thashผักอินทรีย์-
thailis.manuscript.callnumberว 628.1673 ว115ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อตรวจสอบผลของน้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้า (electrolyzed oxidizing water: น้ำ EO) ต่อการลดการเกิดโรคเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora และ Xanthomonas campestris และเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของผักอินทรีย์ในห้องปฏิบัติการ โดยการผลิตน้ำ EO ด้วยเครื่องผลิตน้ำออกซิไดส์ Super Oxseed Labo ซึ่งเตรียมได้จากสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความเข้มข้น 0.00625, 0.0125, 0.025, 0.05, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ พบว่าน้ำ EO มีค่าความเข้มข้นของคลอรีนอิสระอยู่ในช่วง 0.40-137.00 ppm และมีค่า pH ระหว่าง 3.65-4.11 เมื่อวัดค่าความสามารถในการแตกตัวของสารละลาย (electrolyte conductivity: EC) พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 0.49-6.23 mS/cm เมื่อนำเซลล์แขวนลอยของแบคทีเรียแช่ในน้ำ EO ที่ความเข้มข้นเกลือต่าง ๆ เป็นเวลา 1 และ 5 นาที หลังจากบ่มเชื้อเป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าเชื้อ E. carotovora (ECPS2) และ X. campestris (XCPS6) ซึ่งแยกได้จากผักกาดขาวปลี ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เชื้อ E. carotovora (ECTO1) และ X. campestris (XCAU3) หลังจากแช่ในน้ำ EO ความเข้มข้นเกลือ 0.00625 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลา 1 และ 5 นาที แบคทีเรียยังสามารถเจริญได้ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งในช่วง 84.16-99.61 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่าเซลล์ของแบคทีเรียที่แช่ในน้ำ EO ความเข้มข้นเกลือ 0.0025-0.5 เปอร์เซ็นต์ มีขนาดเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ใช้น้ำกลั่นฆ่าเชื้อ เมื่อทดลองล้างผักกาดกวางตุ้งอินทรีย์ด้วยน้ำ EO เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าน้ำ EO ความเข้มข้นเกลือ 0.4-0.5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ใบของผักกาดกวางตุ้งอินทรีย์แสดงอาการเป็นพิษ โดยทำให้ใบพืชแสดงอาการช้ำ และการล้างผักทั้งต้นจะทำให้ผักเน่าเร็วกว่าชุดควบคุมที่ไม่มีการล้างผลิตผล การใช้น้ำ EO ความเข้มข้นเกลือ 0.3 เปอร์เซ็นต์ เช็ดโคนต้นและรอยตัดของผักจะสามารถลดเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเน่าของผักอินทรีย์ได้มากที่สุดโดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษกับพืช และเมื่อนำน้ำ EO ความเข้มข้นเกลือ 0.3 เปอร์เซ็นต์ มาประยุกต์ใช้เปรียบเทียบกับสารละลายฆ่าเชื้อชนิดอื่น ๆ (น้ำโอโซน, น้ำผสมด่างทับทิม, น้ำผสมผงฟู และน้ำผสมคลอรีน) พบว่าน้ำ EO สามารถลดการเกิดโรคเน่าและยืดอายุการเก็บรักษาของผักอินทรีย์ชนิดอื่น (ผักกาดกวางตุ้งและผักกาดหวาน) ได้ดีกว่าสารฆ่าเชื้อที่นำมาทดสอบen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT218.82 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX490.64 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1234.17 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2766.92 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3414.5 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 43.67 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5181.4 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT296.3 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER214.2 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE241.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.