Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39718
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเยาวเรศ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.advisorอารี วิบูลย์พงศ์-
dc.contributor.authorนุชจรี ปิมปาอุดen_US
dc.date.accessioned2016-12-08T09:29:12Z-
dc.date.available2016-12-08T09:29:12Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39718-
dc.description.abstractThe establishment of cooperative rice mills is intended to help members of the cooperative, which as a source of paddy and provide fair prices to farmers, but the operations of cooperative rice mills are limited in the quantity that is not enough. It can be said that rice mills could not reached maximum production capacity because of insufficient raw materials. This study had objective 1) to study characteristics of rice mills 2) to study costs of milling process 3) to study efficiency in milling and 4) to study managerial efficiency of the agricultural cooperatives’ rice mills in the northern of Thailand. The data were collected from 15 agricultural cooperatives’ rice mills in northern Thailand. This study applied Data Envelopment Analysis (DEA) and Input-Oriented model under variable return to scale condition to estimated milling and managerial efficiency. The results found that the most cooperative rice mills were medium rice mill size. The agricultural cooperatives’ rice mills were milling according to customer order. The most of the products were sold to cooperative members and local market, some cooperative rice mill produced rice products for direct sale company with their own brands. In the milling process, the average cost was 18,036 baht per ton. The average revenue was 18,243 baht per ton and net revenue was 207 baht per ton. The efficiency of milling found that the average efficiency score was high level but the inefficiency mills can be improve by developing process in milling to increased output 6 percent and reduced inputs such as employees and depreciation. The most agricultural cooperatives’ rice mills also had the other businesses were agricultural products collection and agricultural processing. The managerial efficiency of rice mills revealed that average efficiency score was high level and inefficiency mills can be improve by increased revenue was average 3.37 percent and should be decreased operating cost. The results showed that the most of cooperative rice mills still have opportunity to improve their productivity.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรงสีข้าวen_US
dc.subjectสหกรณ์การเกษตรen_US
dc.titleประสิทธิภาพการจัดการของโรงสีข้าวของสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeManagerial efficiency of agricultural cooperatives’ rice mills in northern of Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc338.17318-
thailis.controlvocab.thashการสีข้าว -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashการสีข้าว -- ต้นทุนและประสิทธิผล-
thailis.controlvocab.thashโรงสีข้าว -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashโรงสีข้าว -- การผลิต-
thailis.controlvocab.thashสหกรณ์การเกษตร -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 338.17318 น422ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการจัดตั้งโรงสีข้าวของสหกรณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสมาชิกของสหกรณ์ ทั้งเป็นแหล่งรับซื้อข้าวเปลือก และให้ราคาที่ยุติธรรมแก่เกษตรกร แต่การดำเนินงานของโรงสีข้าวสหกรณ์ส่วนใหญ่จะสีข้าวไม่เต็มความสามารถเนื่องจากมีวัตถุดิบข้าวเปลือกไม่เพียงพอ จึงอาจกล่าวได้ว่าโรงสีข้าวไม่มีการดำเนินงานอย่างเต็มความสามารถ การศึกษาครั้งนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของโรงสีข้าวของสหกรณ์ 2) ศึกษาต้นทุนการสีข้าวของโรงสีข้าวของสหกรณ์ 3) ศึกษาประสิทธิภาพการสีข้าวของโรงสีข้าวของสหกรณ์ และ 4) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการโรงสีข้าวของสหกรณ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงสีข้าวของสหกรณ์การเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทยจำนวน 15 แห่ง ในการประมาณค่าประสิทธิภาพการสีข้าวและประสิทธิภาพการจัดการของโรงสีข้าวของสหกรณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้ม พิจารณาด้านผลผลิต ภายใต้เงื่อนไขอัตราผลตอบแทนต่อขนาดผันแปร ผลการศึกษาพบว่าโรงสีข้าวสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าวขนาดกลาง การสีข้าวจะสีตามปริมาณคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะจำหน่ายให้กับสมาชิกของสหกรณ์ และจำหน่ายให้กับพ่อค้าข้าว บางสหกรณ์สีข้าวให้กับบริษัทเพื่อจำหน่ายในตราสินค้าของบริษัทนั้นๆ ในขั้นตอนการสีข้าวของโรงสีข้าวของสหกรณ์ พบว่ามีต้นทุนเฉลี่ย 18,036 บาทต่อตัน มีผลตอบแทนเฉลี่ย 18,243 บาทต่อตัน และมีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 207 บาทต่อตัน ส่วนผลการศึกษาประสิทธิภาพการสีข้าวของโรงสีข้าวของสหกรณ์ พบว่าโรงสีข้าวของสหกรณ์มีประสิทธิภาพการสีข้าวอยู่ในระดับสูง แต่สำหรับโรงสีข้าวของสหกรณ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพในการสีข้าวนั้น สามารถปรับปรุงการสีข้าวให้มีประสิทธิภาพได้โดยการพัฒนาการสีข้าวให้ได้ปริมาณข้าวต้นเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6 และโรงสีข้าวควรลดการใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ จำนวนพนักงาน และค่าเสื่อมราคา ในด้านการดำเนินงานพบว่านอกจากโรงสีข้าวสหกรณ์ส่วนใหญ่มีการประกอบธุรกิจการแปรรูปข้าวเปลือกแล้ว ยังมีธุรกิจการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร และบางแห่งมีธุรกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการของโรงสีข้าวของสหกรณ์ พบว่าโรงสีข้าวของสหกรณ์มีประสิทธิภาพการจัดการอยู่ในระดับสูง ส่วนโรงสีข้าวของสหกรณ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพการจัดการ สามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพได้ หากสามารถเพิ่มรายได้จากการดำเนินธุรกิจเฉลี่ยร้อยละ 3.37 และลดต้นทุนในการดำเนินงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรงสีสหกรณ์ส่วนใหญ่ยังมีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT183.9 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX159.53 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1253.4 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2798.36 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3316.24 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4646.31 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5641.43 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 6.pdfCHAPTER 6244.58 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT180.62 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER580.83 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE289.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.