Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39684
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุจ ศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorสุรพล เศรษฐบุตร-
dc.contributor.advisorชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย-
dc.contributor.authorปรัชญา นุชสุวรรณen_US
dc.date.accessioned2016-12-07T06:37:19Z-
dc.date.available2016-12-07T06:37:19Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39684-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study 1) the satisfactory level of farmers, 2) the factors relating to farmers’ satisfaction, and 3) the problems, obstaclesand suggestions of farmers toward rice pledging program in Lamphun province. The samples used in this research consisted of 341 farmers participated rice pledging program in Lamphun province. Data was collected through the use of questionnaires and analyzed by statistical program for social sciences research. Statistics employed were frequency, percentage, mean, maximum, minimum, standard deviation, and multiple regression analysis. The results revealed that 51% of the farmers were male, with an average age of 47.88 year having primary education, with an average experience of rice production of 27.13 years. The average family income was 219,179.77 baht per year. The average of farm size was 22.85 rais having the average labor of 3.43 persons per household. All farmers were members of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives group. Their average area of rice production was 15.50 rais. The average rice yield was 8,305.42 kilograms. Most of them received the most rice pledging project information from agricultural extension officer, also they had an average rice pledging of 4,489.73 kilograms. The study on farmers’ satisfaction toward rice pledging program concerning the satisfaction level in the following 2 dimensions: 1) rice farmer registration and providing certification for farmers, and 2) paddy delivery at the participating mills of Public Warehouse Organization. The result was satisfied in a medium level on rice farmer registration and providing certification for farmers. However, the satisfaction on paddy delivery at the participating mills of Public warehouse organization was significantly low. The study of factors that had a statistically significant correlated with farmers’ satisfaction were being members of institute of agriculture rice pledging, rice yield, sources of rice pledging project information, the amount of pledged rice, and farmers’ opinion toward the rice pledging program. The 5 factors had positive relationship with the level of farmers’ satisfaction toward rice pledging program. As for problems, obstacles and suggestion of farmers toward rice pledging program, farmers were not confident in the validity of the scales and the checking of rice quality. The number of participating mills are few. The farmers suggested that responsible agency for the rice pledging program with a single agency to provide ease of operation and improve the validity of the scales and the checking of rice quality in order to increase farmers' confidence in participating the rice pledging program.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโครงการรับจำนำข้าวเปลือกen_US
dc.subjectข้าวเปลือกen_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.titleความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในจังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeFarmers’ satisfaction toward rice pledging program in Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc633.1868-
thailis.controlvocab.thashโครงการรับจำนำข้าวเปลือก-
thailis.controlvocab.thashข้าวเปลือก -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- ความพอใจในการทำงาน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 633.1868 ป1711ค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก และ 3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ในพื้นที่ของจังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ในจังหวัดลำพูน จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรร้อยละ 51 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.88 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 27.13 ปี มีรายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ย 219, 179.77 บาทต่อปี มีขนาดที่ดินถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 22.85 ไร่ มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.43 คน เกษตรกรทั้งหมดเป็นสมาชิกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีพื้นที่การผลิตเฉลี่ย 15.50ไร่ มีปริมาณข้าวเปลือกที่ผลิตได้เฉลี่ย 8,305.42 กิโลกรัม ได้รับการรับข่าวสารเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และมีปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าร่วมจำนำ เฉลี่ย 4,489.73 กิโลกรัม การศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก โดยศึกษาระดับความพึงพอใจใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและออกใบรับรอง และ ด้านการนำข้าวเปลือกไปส่งมอบที่หน่วยรับจำนำ พบว่า โดยภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางในด้านการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและออกใบรับรอง แต่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยในด้านการนำข้าวเปลือกไปส่งมอบที่หน่วยรับจำนำ การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตร ปริมาณข้าวเปลือกที่ผลิตได้ แหล่งข่าวสารเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่ได้รับ ปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าร่วมจำนำ และความคิดเห็นของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก โดยตัวแปรทั้ง 5 ตัว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ในด้านการศึกษาปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญที่เกษตรกรได้รับจากการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบคุณภาพข้าว และไม่สะดวกในการขนส่งข้าวเปลือกไปที่หน่วยรับจำนำเนื่องจากจำนวนโรงสีข้าวที่เป็นหน่วยรับจำนำมีปริมาณน้อยไม่ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าว ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ เสนอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีหน่วยงานเดียวเพื่อความสะดวกในการดำเนินการติดต่อ ตลอดจนต้องการให้ปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกเพื่อให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในการเข้าร่วมโครงการen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT242.73 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX455.31 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1260.39 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2432.07 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3358.72 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4680.81 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5295.66 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT229.19 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER843.39 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE254.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.