Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39619
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.จันทนา สุทธิจารี-
dc.contributor.authorสมชาย กะหลู่en_US
dc.date.accessioned2016-10-04T09:41:32Z-
dc.date.available2016-10-04T09:41:32Z-
dc.date.issued2015-04-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39619-
dc.description.abstractThis qualitative study “Performance of District Chief Officers in Conflict Zone, Rueso District, Narathiwas Province” aimed to 1) examine the operational processes of the district chief officers, 2) study problems and obstacles affecting the operations of the district chief officers in the conflict zone, Rueso District, Narathiwas Province, and 3) investigate the possible solutions to the problems. 109 participants, chosen from 5 groups of the samples, participated in the interviews. In addition, participatory observation, non- participatory observation, and reviewing related documents and research were used. The data revealed that the district chief officers, who are provincial government officers, had an important roles in coordinating the policies and were a crucial mechanism of the bureaucracy in conveying the intentions of the government to the local people. In addition, the operations of the district chief officers in conflict zone, Rueso District, Narathiwas Province were vital in driving the government policies into practice with the cooperation from the local village headmen, community leaders, religion leaders, police officers, and soldiers from every organizations as well as the local people. This was done under social, cultural, and religious contexts of the local which resulted in the changes of the present bureaucratic systems, which was the conditions caused the conflicts. Furthermore, it was found that although the district chief officers had to work in the unrest environment caused by the past conflicts, wrong policies, and other complication threats, the officers could do their jobs to meet the expectations of the people and focus on the participations of the local people. The data also indicated that the district chief officers were those who put the government policies into practice in the local communities and they could take care of the people, especially improving life quality of the local people. Finally, it was found that apart from the unrest problems, which were the factor affecting the operations of the district chief officers, the complication threats associated with the unrest including drugs and illegal business were another problem. In terms of solutions to the problems, the participants suggested that all government organizations and the government should seriously cooperate in stopping the problems. In addition, the district chief officers and local government organizations must support the local people, reduce the suspicions, and focus on the roles of local leaders in developing the community and public security. Furthermore, the district chief officers, who are the district leaders, must get supports in terms of safety vehicles for local operations with the supports from the Territorial Defense Department. Also, the operations of the district chief officers must emphasize on the improvement of life quality of the local people. Finally, local forces should be supported and the local people should cooperate in keeping the peace in each local community including village security, district security, and village defense. Therefore, it can be suggested that: 1. The operations of the district chief officers and other government officers in the Southern border provinces from every organization must focus mainly on the continuous participation of the local people. 2. The government organizations must drive the policies in the Southern border provinces in terms of development and security. For development, the administrators (districts) should be the main organizations in integrating the government sectors to run the local projects. For security, the local soldiers or police officers, who have better personnel and equipment, should be the main operators. However, both development and security must work simultaneously and seriously from all government sectors including village headmen, community leaders, local people, and religion leaders. 3. Government officers working in Rueso District must understand the history of the conflicts, identity, culture and traditions, language, and life style of the local people. In addition, the officers must not create any more conflict condition in the area.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอ ในเขตพื้นที่ความขัดแย้ง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสen_US
dc.title.alternativePerformance of District Chief Officers in Conflict Zone, Rueso District, Narathiwat Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา การปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอ ในเขตพื้นที่ความขัดแย้ง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอ (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอในเขตพื้นที่ความขัดแย้ง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 กลุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ จำนวน 109 ตัวอย่าง และใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวมทั้งศึกษาจากเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปลัดอำเภอ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐในราชการส่วนภูมิภาค มีบทบาทสำคัญในการประสานนโยบายและเป็นกลไกสำคัญของระบบราชการในการสื่อเจตนารมณ์จากภาครัฐสู่ประชาชนในพื้นที่ให้เห็นเป็นรูปธรรม การปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอในพื้นที่อำเภอรือเสาะมีความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของทางราชการสู่การปฏิบัติโดยความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ตำรวจ ทหาร หน่วยงานราชการทุกภาคส่วนในพื้นที่ ตลอดจนภาคประชาชน โดยคำถึงถึงบริบททางสังคม วัฒนธรรม ศาสนาของพื้นที่เป็นสำคัญ จนทำให้ระบบราชการปัจจุบันในพื้นที่เปลี่ยนไปจากระบบราชการเดิมซึ่งเป็นเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้ง ปลัดอำเภอปฏิบัติหน้าที่ในสภาพแวดล้อมเหตุการณ์ความไม่สงบอันเกิดจากเงื่อนไขความขัดแย้งในอดีต จากนโยบายที่เคยผิดพลาดของระบบราชการและภัยแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่พบว่าการปฏิบัติหน้าที่ได้ตอบสนองความต้องการของประชาชนและมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่าปลัดอำเภอเป็นผู้ดำเนินตามนโยบายของภาครัฐในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน สามารถดูแลทุกข์สุขของประชาชน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอ รองลงมาคือ ปัญหาภัยแทรกซ้อนที่มีส่วนเชื่อมโยงกับการก่อความไม่สงบในพื้นที่ เช่นปัญหายาเสพติด ธุรกิจผิดกฎหมาย ส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากข้อเสนอของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้ หน่วยงานราชการทุกภาคส่วนตลอดจนรัฐบาลต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อหาทางยุติปัญหาในพื้นที่ ปลัดอำเภอรวมถึงหน่วยงานราชการในพื้นที่ต้องเป็นที่พึ่งแก่ประชาชน ลดความหวาดระแวง ให้ความสำคัญในบทบาทหน้าที่ของผู้นำท้องที่ในพื้นที่ในการร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่และเสริมสร้างความมั่นคง ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบลต้องได้รับการสนับสนุนยานพาหนะที่มีความปลอดภัยเพื่อใช้สำหรับลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมีสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่มีอยู่ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ ส่งเสริมกองกำลังประจำถิ่นและภาคประชาชนร่วมกันรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ในแต่ละหมู่บ้านให้เข้มแข็งและต่อเนื่อง ทั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ชุดคุ้มครองตำบล และชุดคุ้มครองหมู่บ้าน อีกทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอต้องมุ่งเน้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และในส่วนของผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ (1) การปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอรวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกหน่วยงานต้องเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เป็นหลักอย่างต่อเนื่อง (2) หน่วยงานของราชการต้องขับเคลื่อนนโยบายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งด้านการพัฒนา และด้านความมั่นคง ซึ่งด้านการพัฒนานั้นควรให้ฝ่ายปกครอง (อำเภอ) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการส่วนราชการในพื้นที่ดำเนินโครงการ ในขณะที่ด้านความมั่นคงนั้นควรให้เจ้าหน้าที่ทหาร หรือตำรวจในพื้นที่ซึ่งมีความพร้อมด้านบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์มากกว่า เป็นหน่วยงานหลัก ทั้งนี้ ทั้งด้านการพัฒนาและความมั่นคงจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปโดยการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากหน่วยงานราชการทุกภาคส่วน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภาคประชาชน และผู้นำศาสนา (3) เจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อำเภอรือเสาะ ต้องมีการเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ความขัดแย้งของพื้นที่ รวมถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา วิถีชีวิต ของประชาชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่สร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเพิ่มในพื้นที่en_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)177.91 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract232.87 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.61 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.