Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39616
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ชูชีพ พุทธประเสริฐ-
dc.contributor.authorกนกวรรณ กาญจนวงศ์en_US
dc.date.accessioned2016-10-04T09:39:36Z-
dc.date.available2016-10-04T09:39:36Z-
dc.date.issued2015-04-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39616-
dc.description.abstractThis independent study has 2 objectives which are 1) to study the conditions and problems of internal quality assurance system procedure of Anuban Pattanatonnamkunkong School, Chiang Dao District, Chiang Mai Province and 2) to study the guidelines of internal quality assurance system procedure of Anuban Pattanatonnamkunkong School, Chiang Dao District, Chiang Mai Province. There are 3 procedures of this study. The first procedure is to study the conditions and problems of internal quality assurance system procedure. The population used in this study were the administrators, the teachers and the Basic Education committee of Anuban Pattanatonnamkunkong School. The tools used in this study was questionnaires and the data was analyzed by using average and standard deviation. The second procedure is to study and draft the guidelines of internal quality assurance system procedure. The populations used in this study were the administrators, the teachers and the Basic Education committee of Anuban Pattanatonnamkunkong School, educational supervisors and directors of kindergarten school who had the excellent result in every indicators from Office for National Education Standards and Quality Assessment (2011-2015), totally 11 people. The tools used in this study were workshop and workshop record. The data was analyzed by inductive inference. The third procedure is to examine the effect of the guidelines of internal quality assurance system procedure. The populations used in this study were 5 experts and the tools used in this study was the examination form for the guidelines of internal quality assurance system procedure to examine accuracy, suitability and possibility. The data was analyzed by using average and standard deviation. The study result of the internal quality assurance system procedure, according to the ministerial regulations, system, regulations and procedures of quality assurance, 2010, in 8 dimensions which are school standard determination, making educational developing plan of the school aiming to quality standard, arranging management system and information technology, the procedure following the school's education administration development plan, the quality assurance assessment, the internal quality assessment as in the school's educational standard, the arrangement of annually report which is the internal quality assessment report and the continued educational quality development, the overall was in minimum level. The problem was the school have not had the appointment of any committees, lacked of procedure plan and lacked of systematic organization structure. The responsibility determination for educational staff was inappropriate. The school and its affiliation had little quality assurance assessment and the teacher and educational staff had little understanding of internal quality assurance system procedure. The guideline of internal quality assurance system procedure, there should be an appointment of the committee of school standard determination, providing more understanding for every involving sector, providing more opportunities for them to be participated in the procedure, arranging procedure calendar and proceed according to the plan by collecting all data and information correctly and up to date. There should also be a supervision, monitoring and examination from the school and its affiliation, arranging self assessment report and providing it to the public. The Auditing result of possibility, suitability and usefulness of the guidelines of internal quality assurance system procedure of Anuban Pattanatonnamkunkong School, Chiang Dao District, Chiang Mai Province was in the highest level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน อนุบาลพัฒนาต้นน้ำขุนคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeInternal Quality Assurance System Procedure of Anuban Pattanatonnamkunkong School, Chiang Dao District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอนุบาลพัฒนาต้นน้ำขุนคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอนุบาลพัฒนาต้นน้ำขุนคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนอนุบาลพัฒนาต้นน้ำขุนคอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาและการร่างแนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนอนุบาลพัฒนาต้นน้ำขุนคอง ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับปฐมวัย ที่ได้รับผลการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารอบที่สาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ในระดับดีมากทุกตัวบ่งชี้ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการและแบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปอุปนัย และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิภาพของแนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบตรวจสอบแนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 ทั้ง 8 ด้านได้แก่ ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนา การจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน และด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบคือ สถานศึกษาไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ขาดการวางแผนการดำเนินงานและโครงสร้างการบริหารงาน ที่เป็นระบบ ชัดเจน การกำหนดบทบาทหน้าที่บุคลากรของสถานศึกษาและผู้รับผิดชอบ ยังไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจน สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดมีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้อย อีกทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในค่อนข้างน้อย ส่วนแนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สร้างความรู้ความเข้าใจ และบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงาน และดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ถูกต้อง และให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งมีการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบจากสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดจัดทำรายงานประเมินตนเอง และมีการเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ ผลการตรวจสอบความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ แนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอนุบาลพัฒนาต้นน้ำขุนคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)181.45 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract251.42 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.2 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.