Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39607
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ชูชีพ พุทธประเสริฐ-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. สุวรรณ หมื่นตาบุตร-
dc.contributor.authorแววพันธ์ ฉางข้าวชัยen_US
dc.date.accessioned2016-09-30T09:53:20Z-
dc.date.available2016-09-30T09:53:20Z-
dc.date.issued2015-04-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39607-
dc.description.abstractThe objective of this study is to study the problem and the suggestion in management of local learning resources participatory of Ban Na Pa Peak School. The data providers were school administrator, academic teacher, teacher, community leader, school committee, local wisdom representative, monk and local administrator representative, 30 of them and to study the guidelines of local learning resources participatory of Ban Na Pa Peak School. The data providers were supervisor of educational service area, school administration, academic teacher, village headman, local wisdom in any fields and supervisor of local wisdom, 14 of them. The tool used in this study were questionnaire for school administrator, academic teacher and teacher about local learning resources management and the questionnaire for participant from the community about local learning resources management. The data was qualitative analyzed by summarizing from the interview then distributed the frequency according to the points and used the point of the conversation and group conversation record to search for local learning resources participatory management and presented by narration. The study result for the problem and the suggestion in local learning resources management showed that the procedure was planed systematically but lacked of participation of administrator, teacher, local wisdom and community. It was found that there were not participation as a committee from school committee who were represented from community leader, parents, local wisdom, monk, local administration and government section developing the local curriculum. The suggestion is the administrator should create atmosphere of participation, allocate the time for academic teacher, teacher and involving sectors to plan and pay attention to the management of learning resources together. About the examination and assessment, it was found that there was no cooperation from the community to be participated in the procedure, no experts who clearly understand about examination and assessment for internal quality assurance. The suggestion is they all should work together to determine the requirement for supervision to monitor the quality of management and development. The guidelines of local learning resources participatory of Ban Pa Na Paek School, for the school system, there should be some management planning seriously, systematically and continuously, supporting for human resource, budget and management resource including to encouraging involving sectors to be participated in making decision in every procedure of educational management, curriculum development and local learning management systematically and according to the need of the learner. Moreover, there must be creating of some understanding in the role of involving sectors to have them have more attention, developing academic leader and creating more awareness to administrator. There must also be a report, assessment and supervision which have standard and effectiveness. The guidelines for local learning resources management are to have the learner preserve their own culture, create more unity, insert more content of wisdom value, history and natural resources conservation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนบ้านนาป่าแปก อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeLocal Learning Resources Participatory Management Guidelines of Ban Na Pa Paek School, Mueang Mae Hong Son Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านนาป่าแปกโดย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูผู้สอน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนภูมิปัญญาท้องถิ่น พระภิกษุ และผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 30 คน และศึกษาแนวทาง การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านนาป่าแปก โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ศึกษานิเทศก์ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ผู้ใหญ่บ้านนาป่าแปก ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ และศึกษานิเทศก์เฉพาะทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูผู้สอน เรื่อง การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นและแบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมจากชุมชนเรื่อง การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสรุปประเด็นจากการสัมภาษณ์แล้วแจกแจงความถี่ตามประเด็น และใช้ประเด็นการสนทนาและแบบบันทึกผล การสนทนากลุ่มเพื่อแสวงหาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม นำเสนอในรูปแบบการบรรยาย ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น พบว่ามีการดำเนินการวางแผนอย่างเป็นระบบแต่ขาดการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร คณะครู ภูมิปัญญาและชุมชนอย่างจริงจังข้อเสนอแนะคือควรมีการวางแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องด้านการนำแผนบริหารไปสู่การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่น พบว่าไม่มีคณะกรรมการสถานศึกษาที่เป็นตัวแทนผู้นำชุมชนระดับท้องถิ่น ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนภูมิปัญญาท้องถิ่น พระภิกษุ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการในพื้นที่เข้าร่วมเป็นคณะทำงานโครงการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศร่วมคิดร่วมทำ จัดสรรเวลาให้ครูวิชาการครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้วางแผนร่วมกันและให้ความสำคัญของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ด้านการตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้พบว่า ขาดการประสานความร่วมมือจากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ขาดผู้มีความรู้ความเข้าใจชัดเจน เกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผล ในการนิเทศ ติดตามการประกันคุณภาพภายใน ข้อเสนอแนะคือ ควรร่วมกันกำหนดความต้องการในการรับการนิเทศ หรือกำกับติดตามเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพการบริหารจัดการ ด้านการปรับปรุงพัฒนา ให้คำปรึกษา สำหรับแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านนาป่าแปกในส่วนระบบของสถานศึกษาคือ ควรวางแผนการบริหารจัดการดำเนินงานอย่างจริงจังเป็นระบบและต่อเนื่องส่งเสริมสนับสนุนทั้งด้านบุคลากรงบประมาณ ทรัพยากรการบริหาร ตลอดจนส่งเสริมให้มีเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตัดสินใจทุกขั้นตอนของการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาการพัฒนาหลักสูตร และการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน อีกทั้งยังต้องสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนให้เห็นความสำคัญ พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการและสร้างความตระหนักแก่ผู้บริหาร มีการรายงานผล การวัดประเมินผล การนิเทศติดตาม ที่มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ จัดให้มีการศึกษาดูงานส่วนแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับการดำเนินการในส่วนของแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นคือ ควรให้ผู้เรียนมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมของตน สร้างความสามัคคี สอดแทรกเนื้อหาด้านคุณค่าทางภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)180.1 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract242.74 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.53 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.