Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39587
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.จันทนา สุทธิจารี-
dc.contributor.authorศักดิ์วิทยา กองแก้วen_US
dc.date.accessioned2016-09-28T09:09:39Z-
dc.date.available2016-09-28T09:09:39Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39587-
dc.description.abstractThis research contains two main objectives which are 1) to analyze impacts of Ban Mai Nai Soi Temporary Shelter Area on surrounding communities in Amphoe Mueang Mae Hong Son; and 2) to investigate and analyze measures and guidelines in solving problematic impacts of Ban Mai Nai Soi Temporary Shelter Area on surrounding communities in Amphoe Mueang Mae Hong Son. It is a qualitative research using interview schedule as an instrument in collecting data with the participant and non-participant observation. The samples draw for this study comprised of 12 people including 2 people from governmental organizations, 10 people from international organizations and private charity organizations and 4 refugees from Temporary Shelter Area. Results can be summarized as follows: According to the study concerning on impacts of Ban Mai Nai Soi Temporary Shelter Area on surrounding communities, it indicates that there are more than 10,000 refugees staying in Ban Mai Nai Soi Temporary Shelter Area in Amphoe Mueang Mae Hong Son. This leads to the governmental organizations’ inability in comprehensively controlling or overseeing the Shelter Area. Moreover, the international organizations and private charity organizations incessantly decreased assistance in food and consumer goods since they received less budget supporting from overseas funds. Thus, some refugees absconde from the Shelter Area to get employment. There are also the problems of stealing agricultural products from surrounding communities and searching for wild products in the surrounding forest. It also resulted to the local environment problem, for example the garbage problem which had inappropriate management system. In terms of hygiene and health problem, it shows that the refugees did not prioritize in healthcare. This lead to infective diseases such as Tuberculosis and Dengue Fever. Birth control problem occurs in the Shelter Area, too. However, eventhough the Thai governmental organizations realizes the importance of human rights respect, international organizations, private charity organizations, and the refugees regard that being restrained in the Shelter Area is the limitation in their rights and opportunities to develop themselves in preparation for returning to the country of origin or the third country, for instance. Nonetheless, in the positive point of view, the establishment of the Shelter in Ban Mai Nai Soi contributes to the greater labors, especially in agricultural labor. They are cheap labor that help in cost reduction for Thai people. Due to the problems, obstacles, and impacts of Ban Mai Nai Soi Temporary Shelter Area on surrounding communities, the governmental organizations, international organizations, private charity organizations, community leaders, and refugee leaders propose that in the policy level, the refugee restraint approach should be improved and the refugees should be allowed to move to other places. The refugees should also be able to work outside the Shelter Area. They should be considered to have legitimate right of temporary habitation and allowed many groups of people to participate in regulate approaches to solve refugee problems. In the local level, budget and personnel in monitoring the refugee should be adequately supported in order to have an effective and efficient work in the Shelter Area management.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลกระทบของพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านใหม่ในสอย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ต่อชุมชนโดยรอบen_US
dc.title.alternativeImpacts of Ban Mai Nai Soi Temporary Shelter Area on Surrounding Communities in Amphoe Mueang Mae Hong Sonen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านใหม่ในสอย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ต่อชุมชนโดยรอบ 2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์มาตรการและแนวทางแก้ไขผลกระทบในส่วนที่เป็นปัญหาของพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านใหม่ในสอย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ต่อชุมชนโดยรอบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชาชนโดยรอบพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ จำนวน 12 คน กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 2 คน กลุ่มองค์การระหว่างประเทศและองค์กรการกุศลเอกชน จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้หนีภัยการสู้รบที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ จำนวน 4 คน และใช้เทคนิควิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ จากผลการศึกษาผลกระทบของพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านใหม่ในสอย ต่อชุมชนโดยรอบ พบว่า ในปัจจุบันยังคงมีจำนวนผู้หนีภัยการสู้รบที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านใหม่ในสอย มากกว่า 10,000 คน ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ไม่สามารถควบคุม ดูแลได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับองค์การระหว่างประเทศและองค์กรการกุศลเอกชนได้ลดความช่วยเหลือในด้านอาหาร เครื่องอุปโภค บริโภคลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนในต่างประเทศลดลง ส่งผลให้ผู้หนีภัยการสู้รบบางคนลักลอบออกจากพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ เพื่อรับจ้างทำงาน และเกิดปัญหาการลักขโมยพืชผลทางการเกษตรของประชาชนในชุมชนโดยรอบ การเข้าไปเก็บหาของป่าในพื้นที่ป่าโดยรอบ อีกทั้งส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เช่น ปัญหาขยะ ที่ไม่มีระบบจัดการอย่างเหมาะสม ปัญหาสุขภาพอนามัยและสาธารณสุข พบว่า ผู้หนีภัยการสู้รบไม่ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ สุขอนามัยที่ดี จึงส่งผลให้เกิดปัญหาโรคติดต่อต่างๆ เช่น วัณโรค ไข้เลือดออก เกิดขึ้นภายในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ปัญหาการคุมกำเนิด ขณะเดียวกันในด้านสิทธิมนุษยชน ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐไทยจะตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน แต่ทางองค์การระหว่างประเทศและองค์กรการกุศลเอกชน และกลุ่มผู้หนีภัยการสู้รบ มองว่า การถูกควบคุมให้อยู่แต่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ เป็นการจำกัดสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาตนเองในการเตรียมตัวเพื่อกลับไปประเทศภูมิลำเนาหรือการไปใช้ชีวิตต่อไปในประเทศที่สาม เป็นต้น อย่างไรก็ตามในเชิงบวก การจัดตั้งพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ทำให้ชุมชนโดยรอบมีแรงงานจากผู้หนีภัยการสู้รบ โดยเป็นแรงงานในภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการจ้างงานราคาถูก ทำให้ชาวบ้านลดต้นทุนการผลิตได้ จากปัญหา อุปสรรค และผลกระทบในส่วนที่เป็นปัญหาของพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการ สู้รบบ้านใหม่ในสอย ต่อชุมชนโดยรอบ หน่วยงานภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศและองค์กรการกุศลเอกชน ผู้นำชุมชน และผู้นำของผู้หนีภัยการสู้รบ ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ว่า ในระดับนโยบาย ควรปรับปรุงแนวทางการควบคุมผู้หนีภัยการสู้รบ โดยอนุญาตให้ผู้หนีภัยการสู้รบสามารถเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ และสามารถออกมารับจ้างทำงานภายนอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯได้ ควรพิจารณาให้สิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปิดโอกาสให้บุคคลกลุ่มต่างๆ มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบให้มากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน เป็นต้น และในระดับพื้นที่ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลผู้หนีภัยการสู้รบในระดับพื้นที่อย่างเพียงพอ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)180.07 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract216.6 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.78 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.