Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39563
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ภารดี นานาศิลป์-
dc.contributor.authorพัทยา แผ่นชัยพรมen_US
dc.date.accessioned2016-09-28T06:10:20Z-
dc.date.available2016-09-28T06:10:20Z-
dc.date.issued2557-12-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39563-
dc.description.abstractAaaaaaaAppropriate pain management through the use of clinical nursing practice guidelines is beneficial in relieving pain among the elderly after total knee arthroplasty. The purpose of this operational study was to evaluate the effectiveness of clinical nursing practice guidelines implementation for pain management among elderly patients after total knee arthroplasty, Chiangrai Prachanukorh Hospital. Guidelines from the Registered Nurses Association of Ontario (RNAO, 2012) was used as the framework of the study. The sample consisted of 30 elderly patients undergoing total knee arthroplasty and 15 professional nurses. The patients were divided into two groups, 15 in each: the clinical nursing practice guidelines group and the hospital standard of nursing care group. The study was conducted from August to September 2014. The instrument used in this study was the clinical nursing practice guidelines for pain reduction in total knee arthroplasty patients developed by Supaporn Hipunpuchchong (2006). The instruments for data collection consisted of a demographic data recording form for elderly patients and nurses, a numeric pain rating scale, and a satisfaction questionnaire to measure patient and nurse satisfaction with clinical nursing practice guidelines implementation. Data were analyzed using descriptive statistics and Fisher’ s exact test. Study findings revealed that: 1. Patient post-operative pain was lower in the clinical nursing practice guidelines group as compared to the hospital standard of nursing care group at hours 24, 48 and 72. This difference was statistically significant at p <.01 2. Ninety-three point thirty-three percent of patients in the clinical nursing practice guidelines group were satisfied with clinical practice guidelines implementation. 3. Ninety-three point thirty-three percent of nurses who used the clinical nursing practice guidelineswere satisfied with their implementation The results of this study confirm the effectiveness of the evidence based nursing practice guidelines implementation for pain management among elderly after total knee arthroplasty. Therefore, these guidelines should be used to improve quality of care for elderly patients after total knee arthroplasty.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectOsteoarthritisen_US
dc.subjectPain managementen_US
dc.subjectElderlyen_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการจัดการ ความปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of clinical nursing practice guidelines implementation for pain management among elderly undergone total knee arthroplasty, Chiangrai Prachanukroh hospitalen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddcW 4-
thailis.controlvocab.meshPain management-
thailis.controlvocab.meshElderly-
thailis.controlvocab.meshOsteoarthritis -- surgery-
thailis.manuscript.callnumberW 4 พ214ป 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการจัดการความปวดที่เหมาะสมโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลจะเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาความปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ การศึกษาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับจัดการความปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของสมาคมพยาบาลออนทาริโอ (RNAO, 2012) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 30 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน โดยกลุ่มผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มแรกเป็นผู้สูงอายุกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับจัดการความปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และผู้สูงอายุกลุ่มที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับจัดการความปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา คือ แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดปวดในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ของ สุภาภรณ์ หิรัญภุชชงค์ (2549) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุและพยาบาล แบบประเมินความปวดที่เป็นมาตรวัดตัวเลข แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยสูงอายุและพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบฟิชเชอร์ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า 1. ระดับความปวดของผู้สูงอายุกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับจัดการความปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ภายหลังการผ่าตัด, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ตามลำดับ มีสัดส่วนที่แตกต่าง จากกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) 2. ผู้สูงอายุกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับจัดการความปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ที่ร้อยละ 93.33 3. พยาบาลที่ให้บริการในหอผู้ป่วยสมเด็จย่าศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ที่ร้อยละ 93.33 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการลดความปวดของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ดังนั้น จึงควรนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)174.77 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract279.16 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS1.97 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.