Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39476
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์สมศักดิ์ เกี่ยวกิ่งแก้ว-
dc.contributor.authorสุนทร มาลีการุณกิจen_US
dc.date.accessioned2016-08-08T09:33:35Z-
dc.date.available2016-08-08T09:33:35Z-
dc.date.issued2015-03-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39476-
dc.description.abstractThis mixed methods study aimed to investigate the political consciousness of the Pga K’nyau heads at Tumbon Mae-Na-Jorn, Amphoe Mae Chaem, Changwat Chiang Mai. There were 120 heads at Tumbon Mae-Na-Jorn, Amphoe Mae Chaem, Changwat Chiang Mai responded to the questionnaire and 19 participated in the in-depth interview. The results revealed that in general the questionnaire respondents had the knowledge, understanding and consciousness of politics at a low level. In addition, the data from the interview indicated that the knowledge about politics mostly came from the experience and work experience of each participants which resulted in different ideas. For the problems, obstacles and suggestions about the political consciousness of the Pga K’nyau heads at Tumbon Mae-Na-Jorn, Amphoe Mae Chaem, Changwat Chiang Mai, it was found that they did not have the knowledge and understanding about politics and Thai language. They also had communication problems which was the obstacles in gaining knowledge about politics. Though they were the leaders, they could not access the political processes requiring discretion in order to cause changes. They only waited for orders and followed the orders from administrators or political trends from the politicians. This indicates that their political decisions have been controlled. Moreover, from the participant observation, the data pointed out that the villagers trusted in the decisions of the heads; that is, when the heads received orders or were manipulated, they could control the whole village. Thus, this illustrates the obstacles in political consciousness of the Pga K’nyau to fully understand politics. Followings are the suggestions. 1. There should be more public relations activities to provide knowledge about politics. These activities should encourage the heads to acquire knowledge and participate in politics which support them in making decisions freely without relying on other leaders’ decisions. 2. There should be workshops for the Pga K’nyau heads to create the responsibilities in terms of social ethics and morality, which are the principles for citizen under democracy. The Pga K’nyau heads have been eager to learn their status and roles in Mae-Na-Jorn Subdistrict Administrative Organization. 3. The local participation process should be created especially between the community and society in order to promote different forms of political expressions, participation in political activities, attending meetings, voicing opinions, and exchanging opinions. 4. The information about politics, economics, society, and democracy should be provided. When the citizen can influence the politics at local, regional and national levels, they have the opportunities to acquire the political information from many channels, such as radio, television, newspaper, and the Internet. 5. More education opportunity should be extended for the Pga K’nyau people so that they can read, speak, and write Thai. This will help with the communication with organizations. The Pga K’nyau people will also have the knowledge and able to participate in political activities.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสำนึกทางการเมืองของผู้นำปกาเกอะญอ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePolitical Consciousness of Pga K’nyau Leader Tumbon Mae-Na-Jorn, Amphoe Mae Chaem, Changwat Chiang Maien_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเรื่องความสำนึกทางการเมืองของผู้นำปกาเกอะญอ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ และการศึกษาเชิงคุณภาพควบคู่กัน โดยได้ทำการศึกษาเฉพาะผู้นำปกาเกอะญอในเขตตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 120 คน โดยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถาม และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน19 คน จากผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจและความสำนึกทางการเมืองอยู่ในระดับน้อย และจากสัมภาษณ์สามารถสรุปได้ว่า ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของแต่ละคนส่วนใหญ่จะเกิดจากประสบการณ์และระยะเวลาการทำงานของแต่ละคนซึ่งทำให้ได้คำตอบของแต่ละคนที่แตกต่างกันปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความสำนึกทางการเมืองของผู้นำปกาเกอะญอตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ขาดความรู้ความเข้าใจทางการเมืองและส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ภาษาไทย และมีปัญหาด้านการสื่อสารการขาดความรู้ทางการเมืองซึ่งถือว่าเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการรับรู้ทางการเมือง และถึงแม้จะเป็นผู้นำชุมชนแต่ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงกระบวนการทางการเมืองที่สามารถใช้ดุลยพินิจช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และต้องรอรับคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งจากฝ่ายปกครองหรือกระแสทางการเมืองจากนักการเมืองในระดับสูงขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าพวกเขายังถูกตีกรอบหรือถูกควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองของพวกเขาอยู่ สังเกต แบบมีส่วนร่วมบางคนให้ข้อมูลว่าชาวบ้านจะเชื่อตามการตัดสินใจของผู้นำ นั่นหมายถึงผู้นำเมื่อได้รับคำสั่งหรือถูกลอกให้ปฏิบัติหรือเลือกใครคนใดคนหนึ่งก็จะสามารถควบคุมทั้งหมู่บ้านได้ แสดงถึงปัญหาอุปสรรคทางการรับรู้ทางการเมืองของชาวปกาเกอะญอที่ยังไม่สามารถเข้าใจหรือเข้าถึงทางการเมืองได้อย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะ ควรให้มีการเผยแพร่หรือจัดกิจกรรมในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่อง ของทางการเมือง ซึ่งให้มากกว่าที่ได้รับรู้ในปัจจุบันนี้ แสดงถึงความต้องการรู้ ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ตนเองมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ สามารถตัดสินใจเองได้อย่างเสรี โดยที่ไม่ต้องคอยฟังการตัดสินใจของผู้นำคนใดคนหนึ่ง ควรมีการอบรมผู้นำปกาเกอะญอให้เกิดความรับผิดชอบทางสังคมคุณธรรม และจริยธรรม ซึ่งเป็นรากฐานเบื้องต้นของการเป็นพลเมืองมีวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตย ผู้นำปกาเกอะญอมีความตื่นตัว อยากพัฒนาความรู้ ความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาจร ควรมีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมกับ ชุมชน และสังคม เพื่อให้เกิดการแสดงออกในการด้านการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกิจกรรมทางการเมือง กล้าที่จะเข้าร่วมประชุม กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น เพื่อได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ควรมีการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่เกี่ยวกับสถาบันการเมือง ประเด็นและปัญหา ตลอดจนการดำเนินงานของระบอบประชาธิปไตย การที่พลเมืองสามารถมีอิทธิพลต่อการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับชาติเปิดโอกาสให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางด้านการเมืองผ่านหลาย ๆ ช่องทาง อาทิเช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ควรมีการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ชาวปกาเกอะญอมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ช่วยชาวปกา เกอะญอได้อ่าน พูด และเขียนภาษาไทยได้ เพราะอย่างน้อยที่สุดก็จะช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างสะดวก รวมถึง เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมืองได้en_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)176.65 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract212.52 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS2.58 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.