Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39434
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.โกสุมภ์ สายจันทร์-
dc.contributor.authorนัทธพงศ์ สุวรรณธัชen_US
dc.date.accessioned2016-07-22T09:24:23Z-
dc.date.available2016-07-22T09:24:23Z-
dc.date.issued2015-05-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39434-
dc.description.abstractThis study titled “Budget Bargaining Between the Elderly Club and Kee-Lek Sub-district Municipality, Mae Rim District, Chiang Mai Province” has objectives; to determine the form and nature of the relationship between local politicians to senior citizens; to study motivations that make the elderly calls for the budget to organize the activities of the elderly their group and to study the impact both positive and negative of the approval of the budget. This study uses qualitative research methodology by interviewing the residents of the district on various issues related to the topic of the research. The interviewees were divided into three groups consisting of: elderly and local government executives and government officers responsible the district. The study found that older people have a deep understanding of the local government and has participation in the local management and development. The elderly have banded together to organize a variety of activities. Elderly group in Kee-lek district was strengthened and has a role in setting the direction for the development of the district via the common interest groups. They often send representatives in their group or people who had supported as candidates in the local elections in several levels. Elderly Club and the Municipal provide benefit to each other. The municipality approves budget support to the elderly. The elderly use budget to organize activities with the aim to develop local and public activities for the elderly. The impact of budget approval: politics in the Municipality's budget process is related with executives who want to have control and power over council members and election campaigner under the patronage relationship with the budget process, another group outside the networks would get less budget to support their activities. The budget process is concerning the political interests or political feasibility. Although, it could tie a strong relationship based on patronage, but the people outside the network feel that they did not receive a fair treatment and cause dividing in the community. Some projects of the municipality did not get success because groups that get less budget support had less participation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการต่อรองงบประมาณของชมรมผู้สูงอายุกับเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeBudget Bargaining Between the Elderly Club and Kee-Lek Sub-district Municipality, Mae Rim District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัย เรื่อง การต่อรองงบประมาณของชมรมผู้สูงอายุกับเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงรูปแบบและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองท้องถิ่นกับผู้สูงอายุเทศบาลตำบลขี้เหล็ก มูลเหตุจูงใจที่ทำให้คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เรียกร้องงบประมาณเพื่อนำมาจัดกิจกรรมผู้สูงอายุ รวมทั้งผลกระทบ ทั้งด้านบวกและด้านลบในการอนุมัติงบประมาณโดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนในตำบลขี้เหล็กในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในการวิจัย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งประกอบด้วย กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลขี้เหล็กที่รับผิดชอบ พบว่าผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างดี ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารและพัฒนาท้องถิ่นในตำบลของตนเอง ซึ่งชมรมผู้สูงอายุได้รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมที่หลากหลาย กลุ่มผู้สูงอายุตำบลขี้เหล็ก เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง มีบทบาทต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาตำบลขี้เหล็ก จากกลุ่มผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน มักจะส่งตัวแทนในกลุ่มของตน หรือคนที่เคยให้การสนับสนุนลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งต่างๆในท้องถิ่นตำบลขี้เหล็ก ชมรมผู้สูงอายุ และเทศบาลตำบลขี้เหล็ก ต่างฝ่ายต่างให้การอุปถัมภ์กัน กล่าวคือ เทศบาลตำบลขี้เหล็ก อนุมัติงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมให้กับชมรมผู้สูงอายุ ส่วนชมรมผู้สูงอายุ ก็ได้งบประมาณเพื่อนำไปจัดกิจกรรมภายในชมรมโดยที่จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ให้กับผู้สูงอายุ ในด้านผลกระทบของการอนุมัติงบประมาณ พบว่าการเมืองในกระบวนการงบประมาณของเทศบาลตําบลขี้เหล็กเป็นความต้องการของผู้บริหารที่ต้องการมีอํานาจเหนือและสามารถควบคุมสมาชิกสภาเทศบาลโดยหัวคะแนนและราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งภายใต้ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์โดยใช้กระบวนการงบประมาณเป็นเครื่องมือในการให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ใต้อุปถัมภ์ทําให้ราษฎรอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่นอกเครือข่ายอุปถัมภ์ไม่ได้รับการ จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือหรือได้น้อยกว่า การจัดสรรงบประมาณหลายโครงการคํานึงถึงผลประโยชน์ทางการเมืองหรือความ เป็นไปได้ทางการเมือง (Political Feasibility) แม้สามารถผูกความสัมพันธ์ตามระบบอุปถัมภ์ได้แน่นแฟ้น แต่ราษฎรผู้อยู่นอกเครือข่ายก็เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมทําให้เกิดความไม่ศรัทธา เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือกับงานที่เป็นภารกิจของเทศบาล ทําให้โครงการบางอย่างของเทศบาลไม่ประสบผลสําเร็จen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)193.5 kBMicrosoft WordView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 241.35 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.73 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.