Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. วันเพ็ญ ทรงคำ-
dc.contributor.authorศุภกฤษณ์ เสวะกะen_US
dc.date.accessioned2016-07-11T07:49:58Z-
dc.date.available2016-07-11T07:49:58Z-
dc.date.issued2559-02-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39384-
dc.description.abstractAgriculture ranks among the high risk occupations. Farmers are at risk for work-related illnesses and injuries. The purpose of this cross-sectional descriptive study was to examine occupational hazards and work-related illnesses and injuries among 282 Longan gardener, Pratupha Sub-district, Mueang Lamphun District, Lamphun Province. Data collection was carried out during October to November 2016. The study instrument was an interview form of occupational hazards, work related illnesses and injuries among longan gardener, which developed form a literature review. It was confirmed a content validity by panel of experts and yielded an index of 0.98. Reliability was tested and its value was at an acceptable level (0.88-0.94). Data analysis was performed by using descriptive statistics. The main results showed that the most important occupational hazards among the sample were ergonomic hazard including body twisting while work (37.23%), safety hazard including work with sharp tools or equipments (32.98%) and physical hazard including exposure to heat (26.95%). Whiles psycho social hazards were having income or compensation uncertainty (22.34%) and having accelerated harvest regularly (18.44%). Regarding chemical hazards, the sample exposed fertilizers or plant hormone substances frequently (30.50%).The most common illnesses possibly related to exposure of occupational hazards perceived by the study sample during the past one month included fatigue/excessive sweating (84.75%), stress/anxiety form having income or compensation uncertainty (78.01%) and accelerated harvest (59.57%), musculoskeletal pain including low back pain (71.91%) shoulder pain (70.12%) leg/knee pain (63.83%) and headache (64.89%). Work-related injury during the past 3 month was 39.22 percent. The injury causation were falls and slips (69.48%) and cut form sharp instruments (50.24%). The most frequently injured body parts were legs and knee (62.91%) hand and finger (60.09%). The injury attribute to bruises (69.95%) sprains and strains (49.77%). Severity of injury was non-fatal injuries, without days away from work (64.32%). The results of this study indicate that public health personnel and related health team who take main responsibility for occupational and environmental health should recognize the importance of developing systematic both environmental and health surveillance for longan gardener. Raising self-awareness and responsibility for health and behavioral change are needed to reduce occupational illnesses or injuries related to work among longan gardener.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยคุกคามสุขภาพ การเจ็บป่วยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeOccupational Hazards, Work-related Illnesses and Injuries Among Longan Gardener, Pratupha Sub-district, Mueang Lamphun District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงส่งผลให้เกษตรกรมีโอกาสเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพ การเจ็บป่วยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 282 คน รวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ปัจจัยคุกคามสุขภาพการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าในระดับที่ยอมรับได้ (0.88 - 0.94) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์คือ ทำงานด้วยท่าทางบิดเอี้ยวลำตัวเป็นประจำ (ร้อยละ 37.23) ส่วนปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านความปลอดภัย คือมีการใช้อุปกรณ์/เครื่องมือของมีคม เป็นประจำ (ร้อยละ 32.98) และปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านกายภาพ คือ สัมผัสกับความร้อนเป็นประจำ (ร้อยละ 26.95) ขณะที่ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านจิตสังคม คือมีรายได้หรือค่าตอบแทนไม่แน่นอนเป็นประจำ (ร้อยละ 22.34) และต้องเร่งรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นประจำ (ร้อยละ 18.44) ส่วนปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมี คือ มีการสัมผัสกับปุ๋ยหรือสารเร่งการเจริญเติบโต บ่อยครั้ง (ร้อยละ 30.50) ส่วนการเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาที่สำคัญ คืออาการเหนื่อย อ่อนเพลีย /เสียเหงื่อมาก (ร้อยละ 84.75) ความเครียด/วิตกกังวลจากรายได้หรือค่าตอบแทนที่ไม่แน่นอน (ร้อยละ 78.01) และจากการรีบเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต (ร้อยละ 59.57) อาการปวดตามระบบโครงร่างกล้ามเนื้อได้แก่ ปวดหลังส่วนล่าง/เอว (ร้อยละ71.91) ปวดไหล่ (ร้อยละ70.12) ปวดขา/เข่า (ร้อยละ 63.83) อาการปวดศีรษะ ร้อยละ 64.89 ส่วนการบาดเจ็บที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.53 เคยได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน สาเหตุของการบาดเจ็บ ได้แก่ หกล้มหรือลื่นล้ม ร้อยละ 69.48 วัตถุหรือสิ่งของตัด/บาด/ทิ่มแทง ร้อยละ 50.24 อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บสูงสุดคือ ขา หน้าแข้ง น่อง เข่า หัวเข่า ร้อยละ 62.91 มือ นิ้วมือ ร้อยละ 60. 09 ลักษณะการบาดเจ็บ ได้แก่ การฟกช้ำ การถูกชน การถูกเบียด ร้อยละ 69.95 ข้อต่อเคล็ด และการอักเสบตึงตัวของกล้ามเนื้อ ร้อยละ 49.77 ส่วนความรุนแรงของการบาดเจ็บ พบว่า ร้อยละ 64.32 บาดเจ็บเล็กน้อยโดยไม่ต้องหยุดงาน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า นักการสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไย มีความตระหนักและรับผิดชอบต่อสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงและการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยen_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)183.09 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 259 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.