Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39339
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ | - |
dc.contributor.author | สุทธิลักษม์ ชิระกุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-07-05T02:41:08Z | - |
dc.date.available | 2016-07-05T02:41:08Z | - |
dc.date.issued | 2558-05 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39339 | - |
dc.description.abstract | The purposes of the study of “The Role of Chiangmai Province Office of Labour Protection and Welfare in the Management of Labour’s Complaints, 2555 B.E.” were to investigate the causes of labour’s complaints in Chiang Mai in 2555 B.E., to analyze and classify labour’s complaints, as well as to study the procedure and the result of the management of labour’s complaints. Data was analyzed through conceptual framework of labour relations, labour law, conciliation and mediation principles. This independent study is a qualitative research which data have been collected from documentary sources and in-depth interview with the Labour Inspectors of Chiangmai Province Office of Labour Protection and Welfare who are responsible for the management of labour’s complaints. The result of the study showed that the causes of conflict between employer and employee which lead to complaints at Chiangmai Province Office of Labour Protection and Welfare are “compensation”, consisting of basic pay, severance pay, overtime pay, holiday pay, commission, guarantee money and employee contribution. The procedure of the management of labour’s complaints comprises submission of complaints, investigation and consideration of complaints, and order issuance. In 2555 B.E., a total of 167 cases of complaints have been completed and 136 of 167 cases were terminated by conciliation method, which is the main principle of mediation between employer and employee while the Labour Inspectors are unprejudiced. This principle decreases the damage and violence that may be occurred as a result of conflicts. Moreover, the great number of terminated cases by conciliation method has diminished the number of litigation at the Labour Court. Therefore, the Chiangmai Province Office of Labour Protection and Welfare plays an important role not only in labour protection and welfare but also reduction of litigation before proceedings at the Labour Court. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | บทบาทของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ ในการจัดการคำร้องทุกข์ของแรงงาน ในปี พ.ศ. 2555 | en_US |
dc.title.alternative | The Role of Chiangmai Province Office of Labour Protection and Welfare in the Management of Labour’s Complaints, 2555 B.E | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “บทบาทของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ในการจัดการคำร้องทุกข์ของแรงงานในปี พ.ศ. 2555” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของคำร้องทุกข์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2555 ทั้งยังต้องการวิเคราะห์และจำแนกลักษณะของคำร้องทุกข์ของแรงงานดังกล่าว รวมไปถึงศึกษาแนวทางการดำเนินการและผลของการดำเนินการของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ในการจัดการกับคำร้องทุกข์ของแรงงาน โดยการวิเคราะห์ข้อมูล จะวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับแรงงานสัมพันธ์ ประกอบกับการศึกษาผ่านกฎหมายแรงงาน รวมไปถึงแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง และแนวคิดการไกล่เกลี่ยร่วมด้วย ซึ่งรูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานตรวจแรงงานของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการไกล่เกลี่ยคำร้องทุกข์และข้อขัดแย้งด้านแรงงาน ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จน นำไปสู่การร้องทุกข์ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คือ สาเหตุที่เกี่ยวกับ “ค่าตอบแทน” อันประกอบไปด้วย ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าล่วงเวลาในวันทำงาน ค่าทำงานในวันหยุด ค่าคอมมิชชั่น เงินประกัน และเงินสะสม แนวทางการดำเนินการในการจัดการกับคำร้องทุกข์ของแรงงานมีขั้นตอนหลักที่สำคัญทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่ การรับคำร้อง, การพิจารณาคำร้องและวินิจฉัย, และการออกคำสั่ง ทั้งนี้ผลของการดำเนินการของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ในการจัดการกับคำร้องทุกข์ของแรงงานในปี พ.ศ. 2555 ได้แล้วเสร็จเป็นจำนวน 167 เรื่อง ซึ่งลูกจ้างยุติการร้องทุกข์โดยการประนีประนอมมากถึง 136 เรื่อง เนื่องจากแนวทางการประนีประนอมนั้นเป็นแนวทางที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใช้เป็นแนวทางหลักในการเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง พร้อมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งแนวทางนี้สามารถลดขนาดความเสียหาย หรือความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งได้ นอกจากนี้ การยุติเรื่องด้วยการประนีประนอมเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้จำนวนข้อพิพาทที่นายจ้างและลูกจ้างฟ้องร้องกันในชั้นศาลลดลง ดังนั้นสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่เพียงแต่มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองแรงงานและดูแลช่วยเหลือด้านสวัสดิการแรงงานเท่านั้น แต่หน่วยงานนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการลดปริมาณคดีความก่อนที่จะเข้าสู่ศาลแรงงานอีกทางหนึ่ง | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.doc | Abstract (words) | 64.5 kB | Microsoft Word | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 349.06 kB | Adobe PDF | View/Open |
full.pdf | Full IS | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.