Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39338
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อารี วิบูลย์พงศ์-
dc.contributor.advisorดร.พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์-
dc.contributor.authorสาริศา อะกะปันen_US
dc.date.accessioned2016-07-05T02:40:42Z-
dc.date.available2016-07-05T02:40:42Z-
dc.date.issued2558-06-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39338-
dc.description.abstractThe study was improvement plan for supply chain management of field crop firms in Lamphun province. The objectives of this independent study were to understand supply chain management, operating procedure and performance measure of the operation of each case. It was specific for maizes and cassava business. Maize Businesss studied four cases (Case A, B, C and D) and cassava business studied three case (Case A, B and C) that case A was located in Muang district, Longan batch type dryer and cement patio, case B was located in Muang district, continuous type dryer and cement patio, case C was located in Li district, continuous type dryer and cement patio and case D was located in Pasang district, Longan batch type dryer. The result was shown below. Maize Businesss bought raw materials from within the province and nearby provinces such as Chiang mai or Chiang rai. There were two ways to produce a dehumidifying and drying cement patio. The products were separated by finished goods to be sold to customers. The results showed that operational efficiency. Case B and C have evaluated performance. Probably as a result of the performance measure that was the seed distribution and the purchase of corn cob. They can support many more materials. But they should improve the quality of the production. Case A had efficiency in production. They have produced products to meet the needs of customers better. Case D has manageability cash flow as well. Cassava business bought raw materials from farmers that cultivated within the province and nearby provinces. Production process used only the cement patio. Finished products will be sold to the customer. The results showed that operational efficiency. Case C has evaluated performance. Case A should improve the planning, procurement and production. Case B should improve the quality of the production for reduce returns. Business of field crop firms had similar operation. The differences in performance were machinery and tools used in each case. In addition, the field crop firms had short of cash flow for persuaded suppliers. So enterpreneurs should have the working capital to facilitate the operation. The problems were there was the plan in the long term, not useing old data to decision, no check materials and the production was slow to function. It may cause damage to the product. Suggestions for improving operations, owner should get an understanding with farmers that upstream of raw material. The result was a quality from the first step in operation. Production planning and planning to used machine for maximum benefit. In the above improvement plan lead operational efficiency, reducing the period of operation and strategies to manage assets.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแผนการปรับปรุงการจัดการห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจค้าพืชไร่ในจังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeImprovement Plan for Supply Chain Management of Field Crop Firms in Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องแผนการปรับปรุงการจัดการโซ่อุปทานของธุรกิจพืชไร่ในจังหวัดลำพูนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโซ่อุปทานของธุรกิจค้าพืชไร่ในจังหวัดลำพูน ขั้นตอนการดำเนินงาน วิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยจะทำการศึกษาเฉพาะธุรกิจแปรรูปลดความชื้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ซึ่งในการศึกษานี้ธุรกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะใช้โรงงานกรณีศึกษา จำนวน 4 ราย (โรงงานกรณีศึกษา A, B, C และ D) และธุรกิจมันสำปะหลัง จำนวน 3 ราย (โรงงานกรณีศึกษา A, B และC ) โดยโรงงานกรณีศึกษา A อยู่ใน อำเภอเมือง ใช้เตาอบลำไยและลานตากในการดำเนินการผลิต โรงงาน B อยู่ในอำเภอเมือง ใช้เครื่องอบลดความชื้น(ไซโล) และลานตากในการดำเนินการผลิต โรงงาน C อยู่ในอำเภอลี้ เครื่องอบลดความชื้น (ไซโล) และลานตากในการดำเนินการผลิต และโรงงาน D อยู่ในอำเภอป่าซาง ใช้เตาอบลำไยในการดำเนินการผลิต โดยใช้แบบจำลอง SCOR model ในการศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งให้ผลการศึกษาของแต่ละธุรกิจดังนี้ ธุรกิจค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รับซื้อวัตถุดิบจากพื้นที่ภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง เช่น เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น โดยในการผลิตสามารถทำได้ 2 วิธีคือการใช้เครื่องอบลดความชื้น และการตากบนลานซีเมนต์ จากนั้นจะทำการคัดแยกเมล็ดก่อนนำไปจำหน่ายให้กับลูกค้าต่อไป โดยส่วนใหญ่ลูกค้าของโรงงานกรณีศึกษา คือ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 2 แห่งในจังหวัดลำพูน ผลการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานพบว่า โรงงานกรณีศึกษา B และ C มีผลการประเมินประสิทธิภาพที่ดี น่าจะเป็นผลมาจากกระบวนการจัดหาที่แตกต่างนั่นคือ การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และการรับซื้อช้าวโพดชนิดฝัก ทำให้สามารถรองรับวัตถุดิบได้หลายทางมากกว่า แต่ยังคงต้องทำการปรับปรุงในด้านคุณภาพของการผลิตสินค้า ส่วนโรงงานกรณี A มีความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า และ โรงงานกรณีศึกษา D มีความสามารถในการบริหารกระแสเงินสดภายในกิจการได้เป็นอย่างดี ธุรกิจค้ามันสำปะหลัง ในการรับซื้อส่วนใหญ่เป็นการรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกร จากหลายแหล่งพื้นที่เพาะปลูกทั้งภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง ส่วนในการผลิตโรงงานกรณีศึกษาจะใช้การตากบนลานซีเมนต์อย่างเดียวเท่านั้น จนกระทั่งมันเส้นแห้งดีแล้วจึงจะนำไปจำหน่ายให้กับลูกค้าต่อไป โดยในการศึกษาการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจค้ามันสำปะหลัง พบว่า โรงงานกรณีศึกษา C มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับที่ดีมาก ส่วนโรงงานกรณีศึกษา A ควรปรับปรุงการวางแผนการจัดหาและการผลิต ส่วนโรงงานกรณีศึกษา B ควรปรับปรุงการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้เกิดการรรับคืนสินค้าน้อยลง โดยทั่วไป ในการดำเนินงานของธุรกิจค้าพืชไร่ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานที่เหมือนกัน ดังนั้นความรวดเร็วในตอบสนอง จึงขึ้นอยู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ผู้ประกอบการแต่ละแห่งมีอยู่เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิต และการจัดส่ง นอกจากนี้ยังพบว่า ระยะเวลากระแสเงินสดของการดำเนินงานค่อนข้างสั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้แก่เกษตรกรและหัวสี/ผู้รวบรวม นำวัตถุดิบมาขายยังโรงงาน ดังนั้นในการดำเนินงานประกอบธุรกิจค้าพืชไร่ จึงควรมีเงินทุนหมุนเวียนมากพอสมควรเพื่อให้การดำเนินงานราบรื่น ไม่สะดุดติดขัด ปัญหาพบในการดำเนินงาน เกิดจากผู้ประกอบการขาดการวางแผนงาน การนำข้อมูลในอดีตมาใช้เพื่อประกอบการตัดสิน ขาดการตรวจสอบการรับเข้าของสินค้า การผลิตสินค้าไม่ทัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายและคุณภาพของสินค้าด้อยลง แนวแนวในการแก้ไข คือ การทำความเข้าใจกับเกษตรกรตั้งแต่ต้นน้ำเพื่อให้วัตถุดิบที่ได้ มีคุณภาพตั้งแต่ขั้นตอนแรก วางแผนการผลิต และการใช้เครื่องจักรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน การลดระยะเวลาการดำเนินงาน ปรับกลยุทธ์ในการจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้มากขั้นจากเดิม ก่อให้เกิดรายได้ และกำไรในลำดับต่อมาen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)200.01 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract241.82 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.