Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39310
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมพงษ์ ชิตไทสง-
dc.contributor.authorชัญญนิษฐ์ ห้อธิวงศ์en_US
dc.date.accessioned2016-07-04T09:01:05Z-
dc.date.available2016-07-04T09:01:05Z-
dc.date.issued2558-05-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39310-
dc.description.abstractThis study was aimed to determine dental caries status and identify factors that are associated with in children aged 3 – 5 years old in the Sweet Enough child care center, Sop Prap district, Lampang province. The population of the study, 155 children were collected by (1) survey the status of dental caries by dmft index in deciduous teeth (2) self-reported questionnaires were conducted among their parents (3) interview caregivers and educators in local government in the Sweet Enough Child Care Center and (4) In-depth interview parents on important issues. Data were analysed by descriptive statistics and correlation analysis by Chi-square test and Fisher’s exact test. The results of this study showed that the caries prevalence of deciduous teeth was 58.1% the mean dmft was 3.01 teeth per person. The significant (p < 0.05) of factors associated with dental caries in this study were (1) milk consumption (2) the habits of bottle feeding (3) oral health care practices (4) dental services utilization and (5) education level of the parents. Howevers, most of the samples were stop from the bottle feeding before started at the child care center and continue to drink fresh milk. More than half of the samples more never dental services utilization. The results of this study indicated that dental caries in preschool children has been still the problem in the Sweet Enough Child Care Center. Parents were less awareness of these habits, intake consume, sweet drink, allowed them to consume milk from a bottle and never dental services utilization. So, the parents, caregivers and educators in local government, representative community leaders and public health officers should be concerned and use community participation approach in the Sweet Enough Child Care Center to decrease the incidence of dental caries in pre-school children and dental public health problems.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุของเด็กอายุ 3 - 5 ปี ในศูนย์เด็กอ่อนหวาน อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeFactors Associated with Dental Caries of Children Aged 3-5 Years Old in the Sweet Enough Child Care Center, Sop Prap District, Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะฟันผุของเด็กอายุ 3 - 5 ปี และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันผุของเด็กอายุ 3 - 5 ปี ในศูนย์เด็กอ่อนหวาน อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 155 คน เก็บข้อมูลโดย (1) ทำการสำรวจสภาวะฟันผุ โดยใช้ดัชนีฟันผุ ถอน อุด (dmft) ในฟันน้ำนม (2) ใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองเด็ก (3) สัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กและนักวิชาการศึกษาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานศูนย์เด็กอ่อนหวานและ (4) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปกครองในประเด็นการศึกษาที่สำคัญจากการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติไค-สแควร์ และ ฟิชเชอร์ เอ็กแซ็ค ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกโรคฟันผุในกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 58.1 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) เท่ากับ 3.01 ซี่ต่อคน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในการศึกษาครั้งนี้ คือ (1) การบริโภคนม (2) พฤติกรรมการดื่มนมจากขวด (3) การทำความสะอาดช่องปากเด็ก (4)) การพาเด็กไปรับบริการทันตกรรม และ (5) ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลิกดูดนมขวดแล้วก่อนเข้ามาที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่ยังคงดื่มนมจืด และมากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง ไม่เคยใช้บริการทันตกรรมมาก่อน ผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า โรคฟันผุในเด็กเล็ก ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากของประชากรกลุ่มนี้ ในขณะที่ผู้ปกครองยังขาดความตระหนักในการควบคุมการบริโภคขนม ลูกอม เครื่องดื่มรสหวาน ปล่อยให้เด็กมีพฤติกรรมการดื่มดูดขวดนมที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้พาเด็กไปรับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ปกครองเด็ก ผู้ดูแลเด็ก นักวิชาการ ศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนแกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบุคลกรทางด้านสาธารณสุข โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้การดำเนินงานศูนย์เด็กอ่อนหวานมีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพเพื่อลดการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนและปัญหาด้านทันตสาธารณสุขต่อไปen_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docxAbstract (words)173.44 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract (words)187.74 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.