Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39277
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร ไชยประสิทธิ์-
dc.contributor.authorพิมพ์เดือน ญาณวรพงศ์en_US
dc.date.accessioned2016-01-04T08:53:32Z-
dc.date.available2016-01-04T08:53:32Z-
dc.date.issued2557-10-28-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39277-
dc.description.abstractOral health problem is a major public health problem. Good oral health is a key factor for physical growth in relevant to physical development. Oral problem health among adolescence, especially early adolescence, may cause consequent several problems. Hence, this descriptive research is aimed to examine perception of oral health information and factors influencing perception of oral health information among secondary school students. The sample group is selected from 124 grade 8 (Mattayom 2) students of Long Wittaya School. The sample group is derived from specific purpose sampling. The three types of tool used for compiling data consist of questionnaire developed by researcher. The questionnaire comprises of general information and perception of oral health information. The oral health information includes experiences gained from dental services and disease prevention services, oral care, and roles of oral care with sociability. Meanwhile, this questionnaire is used asinterview guide for in-depth interview, its contents are validated by 3 experts, which took Content Validity Index = 0.77. Reliability is tested by implementing Cronbach’s coefficient alpha, which reliability = 0.87. Theoral health survey form among 12-year and 15-year was conducted by the Dental Health Division, Bureau of Dental Health, Ministry of Public Health (Dental Health Division, 2008). The descriptive statistic is implemented for data analysis. The findings indicate that perception of oral health information among secondary students has been incomplete and incorrect. Most of their perceptions are derived from experiences of dental services and disease prevention services by dental personnel. Some of them have not acknowledged that they have oral health problems if symptoms do not present, for example, toothache and bleeding. In addition, perception and assessment of oral health is perceived from roles of oral with sociability about bad teeth appearance, maxillary excess, crowding teeth and bad breath. It is proven that students are interesting in oral care because of orthodontic treatment for fashion. A proportion of perception of oral health among female students and students with grade 3.50 or higher is higher than male students and students with grade lower than 3.50. Additionally, it is found that secondary students should receive oral check consistently as well as integrated oral hygiene including dentistry disease, disease characteristics, disease causes, and disease disadvantage. It is advised to focus on problems affecting to sociability of students. Knowledge of doing oral health care by itself will enable students to find abnormality in time without waiting until symptoms are visibly seen. Preventive knowledge about appropriate oral health care, food, snacks and beverage selection may be provided in group or specific person. For male students, it is advised to focus on checking oral health knowledge by itself. Forfemale students, focus on correct teeth brushing, food, snacks and beverage selection. It is suggested to aware of selected health education media by considering communication methods to be apprehensive and appropriate for students.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปาก -- การดูแลและสุขวิทยาen_US
dc.titleการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอลอง จังหวัดแพร่en_US
dc.title.alternativePerception of oral health information among secondary school students, Long District, Phrae Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc617.6-
thailis.controlvocab.thashปาก -- การดูแลและสุขวิทยา-
thailis.controlvocab.thashฟัน -- การดูแลและสุขวิทยา-
thailis.controlvocab.thashนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอลอง (แพร่)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 617.6 พ366ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญ การมีสุขภาพช่องปากที่ดีจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตตามพัฒนาการของร่างกาย การเกิดปัญหาโรคในช่องปากในกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะวัยรุ่นตอนต้น สามารถก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ ดังนั้นการศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนลองวิทยาทั้งหมด จำนวน 124 คน ทำการสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด คือ แบบสอบถามซึ่งพัฒนา โดยผู้ศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลสุขภาพช่องปากซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลจากประสบการณ์การเข้ารับบริการทางทันตกรรม และการรับบริการส่งเสริมป้องกันโรค การรักษาความสะอาดช่องปาก บทบาทของช่องปากกับการเข้าสังคม โดยแบบสอบถามนี้จะใช้เป็นแนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วย แบบสอบถามดังกล่าวได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.77 ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (cronbach’s coefficient alpha) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87แบบฟอร์มการตรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก (oral health survey form) ในเด็กอายุ 12 ปีและ 15 ปี ของกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (กองทันตสาธารณุสุข, 2551) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ของตนเองแต่ยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน การรับรู้ส่วนมากเป็นการรับรู้จากประสบการณ์การได้รับบริการทันตกรรมและบริการส่งเสริมป้องกันจากทันตบุคลากร นักเรียนบางส่วนไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพช่องปากหากไม่มีอาการแสดง เช่น ปวดฟัน เลือดออก เป็นต้น ส่วนการรับรู้และประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากด้วยตนเองมักเป็นการรับรู้จากบทบาทของช่องปากกับการเข้าสังคม ในเรื่องรูปลักษณ์ของฟันที่ไม่สวยงาม ฟันเหยิน ซ้อนเก และปัญหากลิ่นปาก จะเห็นว่าแรงจูงใจที่ทำให้เด็กหันมาสนใจสุขภาพช่องปากของตนเองคือความต้องการจัดฟันเพื่อความสวยงาม สัดส่วนการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากอยู่ในนักเรียนเพศหญิงและนักเรียนที่มีระดับผลการเรียนมากกว่า 3.50 ซึ่งมากกว่ากลุ่มนักเรียนเพศชายและนักเรียนที่มีผลการเรียนน้อยกว่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องโรคทางทันตกรรม ลักษณะของโรค สาเหตุของโรค ผลเสียของโรคซึ่งควรเน้นปัญหาที่มีผลต่อการเข้าสังคมของนักเรียน ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพช่องปากของตนเอง ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถตรวจพบความผิดปกติได้รวดเร็วทันการโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ ความรู้ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคทั้งในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี การเลือกบริโภคอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม โดยอาจให้สุขศึกษาเป็นรายกลุ่มหรือการให้เฉพาะราย เช่น ในกลุ่มนักเรียนเพศชายอาจเน้นไปที่ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพช่องปากของตนเอง ในกลุ่มนักเรียนหญิงอาจเน้นไปที่การดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี เช่น การแปรงฟันอย่างถูกวิธี การเลือกบริโภคอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม และควรตระหนักถึงสื่อสุขศึกษาที่จะให้แก่นักเรียน โดยคำนึงถึงวิธีการสื่อสาร ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย และเหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนen_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT189.4 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX458.45 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1176.29 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2388.76 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3185.67 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4773.03 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5166.31 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT184.49 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER596 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE212.1 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.