Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37856
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนิรุทธ์ ธงไชย-
dc.contributor.authorวริทธิ์ ธีระวรen_US
dc.date.accessioned2015-03-11T09:48:52Z-
dc.date.available2015-03-11T09:48:52Z-
dc.date.issued2014-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37856-
dc.description.abstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน ช่างเทคนิคสำหรับงานก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้บริหารของบริษัทที่ประกอบธุรกิจก่อสร้าง ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประเภทของโครงการก่อสร้างที่เข้าเก็บข้อมูลไม่ได้จำกัดอยู่ในโครงการประเภทใดประเภทหนึ่ง หากแต่จะรวมโครงการก่อสร้างทุกประเภท จำนวน 45 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยประสบปัญหาการขาดแคลน ร้อยละ 80.00 และปัจจุบันเห็นว่าแรงงานกลุ่มดังกล่าวยังมีการขาดแคลนอยู่ถึงร้อยละ 82.22 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 95.56 ได้เคยประเมินสถานการณ์ของการขาดแคลนแรงงานกลุ่มนี้ในอนาคต และพบว่าปริมาณช่างเทคนิคสำหรับงานก่อสร้างไม่พอเพียงกับความต้องการโดยคิดเป็นร้อยละ 77.78 การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนช่างเทคนิคสำหรับงานก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านบุคคล ด้านนโยบาย และด้านกระบวนการทำงาน ซึ่งการเลือกใช้แนวทางที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญคือ ขนาดและรูปแบบขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยย่อย คือระยะเวลาดำเนินกิจการ จำนวนคนงาน มูลค่างานสูงสุดที่ทำต่อสัญญาจ้างและมูลค่าเฉลี่ยงานต่อปี ความแตกต่างจากปัจจัยด้านระยะเวลาดำเนินกิจการ องค์กรที่ดำเนินกิจการมากกว่า 10 ปี มีวิธีการแก้ปัญหาโดยการโยกย้ายบุคลากรระหว่างแผนกและใช้วิธีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาทดแทน คิดเป็นร้อยละ 89.19 จ้างผู้รับเหมาช่วง คิดเป็นร้อยละ75.68 องค์กรที่ดำเนินกิจการน้อยกว่า 10 ปี มีวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการพัฒนาแรงงานที่ไม่มีทักษะหรือประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 100.00 มอบหมายภาระงานให้พนักงานอื่นที่รับผิดชอบงานในลักษณะเดียวกันคิดเป็นร้อยละ 86.96 และจัดส่งพนักงานเข้าฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 87.50 ความแตกต่างจากปัจจัยด้านจำนวนคนงาน องค์กรที่มีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน มีวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการโยกย้ายบุคลากรจากโครงการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 100.00, จ้างผู้รับเหมาช่วงคิดเป็นร้อยละ 86.36 และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเพื่อขอความช่วยเหลือในการจัดหาแรงงานคิดเป็นร้อยละ 72.73 องค์กรที่มีจำนวนคนงานน้อยกว่า 50 คน มีวิธีการแก้ไขปัญหา โดยการให้พนักงานในตำแหน่งอื่นดำเนินการหรือรับผิดชอบเพิ่มเติม คิดเป็นร้อยละ 86.96 ให้พนักงานอื่นที่รับผิดชอบงานในลักษณะเดียวกันทำงานล่วงเวลา คิดเป็นร้อยละ 78.26 วางแผนล่วงหน้าก่อนการดำเนินการ และปรับแผนกำหนดเวลางานก่อสร้างใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่ขาดแคลนแรงงานคิดเป็นร้อยละ 60.87 ความแตกต่างจากปัจจัยด้านมูลค่างานสูงสุดที่ทำต่อสัญญาจ้างและมูลค่าเฉลี่ยงานต่อปี องค์กรที่มีมูลค่างานสูงสุดที่ทำต่อสัญญาจ้างมากกว่า 50 ล้านบาทและมูลค่างานเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 100 ล้านบาท มีวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการโยกย้ายบุคลากรระหว่างแผนกคิดเป็นร้อยละ 100.00 จ้างผู้รับเหมาช่วง ร้อยละ 86.36 และนำรูปแบบการวางแผนล่วงหน้าก่อนการดำเนินการ (Pre-planning) ร้อยละ 90.91 องค์กรที่มีมูลค่างานสูงสุดที่ทำต่อสัญญาจ้างน้อยกว่า 50 ล้านบาทและมูลค่างานเฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 100 ล้านบาท มีวิธีการให้พนักงานอื่นที่รับผิดชอบงานในลักษณะเดียวกันและให้พนักงานในตำแหน่งอื่นดำเนินการหรือรับผิดชอบเพิ่มเติม คิดเป็นร้อยละ 86.96 และ 82.61 ตามลำดับ ใช้วิธีจ้างพนักงานหรือเด็กฝึกงานเข้ามาทำงานในกิจกรรมที่ขาดแคลนแรงงาน โดยคิดเป็นร้อยละ 65.22en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนช่างเทคนิคสำหรับงานก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeMethods of solving the problem of construction technicians shortage in Chiang Mai Provinceen_US
thailis.classification.ddc331.1199-
thailis.controlvocab.thashอุตสาหกรรมการก่อสร้าง--ลูกจ้าง--เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashคนงานก่อสร้าง--เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashอุตสาหกรรมการก่อสร้าง-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 331.1199 ว173ว-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน ช่างเทคนิคสำหรับงานก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้บริหารของบริษัทที่ประกอบธุรกิจก่อสร้าง ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประเภทของโครงการก่อสร้างที่เข้าเก็บข้อมูลไม่ได้จำกัดอยู่ในโครงการประเภทใดประเภทหนึ่ง หากแต่จะรวมโครงการก่อสร้างทุกประเภท จำนวน 45 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยประสบปัญหาการขาดแคลน ร้อยละ 80.00 และปัจจุบันเห็นว่าแรงงานกลุ่มดังกล่าวยังมีการขาดแคลนอยู่ถึงร้อยละ 82.22 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 95.56 ได้เคยประเมินสถานการณ์ของการขาดแคลนแรงงานกลุ่มนี้ในอนาคต และพบว่าปริมาณช่างเทคนิคสำหรับงานก่อสร้างไม่พอเพียงกับความต้องการโดยคิดเป็นร้อยละ 77.78 การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนช่างเทคนิคสำหรับงานก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านบุคคล ด้านนโยบาย และด้านกระบวนการทำงาน ซึ่งการเลือกใช้แนวทางที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญคือ ขนาดและรูปแบบขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยย่อย คือระยะเวลาดำเนินกิจการ จำนวนคนงาน มูลค่างานสูงสุดที่ทำต่อสัญญาจ้างและมูลค่าเฉลี่ยงานต่อปี ความแตกต่างจากปัจจัยด้านระยะเวลาดำเนินกิจการ องค์กรที่ดำเนินกิจการมากกว่า 10 ปี มีวิธีการแก้ปัญหาโดยการโยกย้ายบุคลากรระหว่างแผนกและใช้วิธีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาทดแทน คิดเป็นร้อยละ 89.19 จ้างผู้รับเหมาช่วง คิดเป็นร้อยละ75.68 องค์กรที่ดำเนินกิจการน้อยกว่า 10 ปี มีวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการพัฒนาแรงงานที่ไม่มีทักษะหรือประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 100.00 มอบหมายภาระงานให้พนักงานอื่นที่รับผิดชอบงานในลักษณะเดียวกันคิดเป็นร้อยละ 86.96 และจัดส่งพนักงานเข้าฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 87.50 ความแตกต่างจากปัจจัยด้านจำนวนคนงาน องค์กรที่มีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน มีวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการโยกย้ายบุคลากรจากโครงการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 100.00, จ้างผู้รับเหมาช่วงคิดเป็นร้อยละ 86.36 และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเพื่อขอความช่วยเหลือในการจัดหาแรงงานคิดเป็นร้อยละ 72.73 องค์กรที่มีจำนวนคนงานน้อยกว่า 50 คน มีวิธีการแก้ไขปัญหา โดยการให้พนักงานในตำแหน่งอื่นดำเนินการหรือรับผิดชอบเพิ่มเติม คิดเป็นร้อยละ 86.96 ให้พนักงานอื่นที่รับผิดชอบงานในลักษณะเดียวกันทำงานล่วงเวลา คิดเป็นร้อยละ 78.26 วางแผนล่วงหน้าก่อนการดำเนินการ และปรับแผนกำหนดเวลางานก่อสร้างใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่ขาดแคลนแรงงานคิดเป็นร้อยละ 60.87 ความแตกต่างจากปัจจัยด้านมูลค่างานสูงสุดที่ทำต่อสัญญาจ้างและมูลค่าเฉลี่ยงานต่อปี องค์กรที่มีมูลค่างานสูงสุดที่ทำต่อสัญญาจ้างมากกว่า 50 ล้านบาทและมูลค่างานเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 100 ล้านบาท มีวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการโยกย้ายบุคลากรระหว่างแผนกคิดเป็นร้อยละ 100.00 จ้างผู้รับเหมาช่วง ร้อยละ 86.36 และนำรูปแบบการวางแผนล่วงหน้าก่อนการดำเนินการ (Pre-planning) ร้อยละ 90.91 องค์กรที่มีมูลค่างานสูงสุดที่ทำต่อสัญญาจ้างน้อยกว่า 50 ล้านบาทและมูลค่างานเฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 100 ล้านบาท มีวิธีการให้พนักงานอื่นที่รับผิดชอบงานในลักษณะเดียวกันและให้พนักงานในตำแหน่งอื่นดำเนินการหรือรับผิดชอบเพิ่มเติม คิดเป็นร้อยละ 86.96 และ 82.61 ตามลำดับ ใช้วิธีจ้างพนักงานหรือเด็กฝึกงานเข้ามาทำงานในกิจกรรมที่ขาดแคลนแรงงาน โดยคิดเป็นร้อยละ 65.22en_US
Appears in Collections:ENG: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT185.61 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX524.99 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1211.39 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2461.45 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3342.59 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.21 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5344.38 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT178.14 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER597.5 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE207.48 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.