Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37854
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชับวุฒิ ตั้งสมชัย-
dc.contributor.authorธนวัฒน์ จันทร์โรจนพันธ์-
dc.date.accessioned2015-03-10T10:50:12Z-
dc.date.available2015-03-10T10:50:12Z-
dc.date.issued2014-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37854-
dc.description.abstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่องการวัดระดับอุปนิสัยของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอุปนิสัย 7 ประการพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ตามหลักการของ Stephen R.Covey และเพื่อเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับอุปนิสัยของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับคุณลักษณะทั่วไปของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 305 ราย โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ R.V. Krejcie และ D.W. Morgan และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงของ Covey (2010) แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-21 ปี ศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มีผลการเรียนเฉลี่ยภาคการศึกษาล่าสุดและผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับ 2.51-3.25 ส่วนใหญ่เป็นบุตรคนสุดท้อง มีจำนวนพี่น้อง 2 คน อาศัยอยู่กับบิดาและมารดา บิดามารดาอาศัยอยู่ด้วยกัน บิดามีอาชีพเกษตรกร มารดามีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีเพื่อนสนิทน้อยกว่า 5 คน ไม่เคยทำงานพิเศษหรือหารายได้เสริม ไม่เคยเป็นผู้ริเริ่ม ผู้นำ หรือผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนักศึกษา เคยมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ มีความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสโมสรนักศึกษา และเคยเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอกทีฟ อุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ ความสมดุลในการดำเนินชีวิต บัญชีออมใจ อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อุปนิสัยที่ 6 ผนึกพลังประสานความต่างอยู่ในระดับมาก และอุปนิสัยที่ 3 ทำสิ่งที่สำคัญก่อน อยู่ในระดับค่อนข้างมาก ตามลำดับ เมื่อคิดเป็นกลุ่มอุปนิสัยแล้วพบว่า ระดับกลุ่มอุปนิสัยชัยชนะส่วนตน กลุ่มอุปนิสัยชัยชนะในสังคม และภาพรวม 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ระดับบัญชีออมใจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับคุณลักษณะทั่วไปดังต่อไปนี้ เพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ ความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสโมสรนักศึกษา หรือวิทยาลัยจัดให้ และประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ระดับความสมดุลในการดำเนินชีวิตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับคุณลักษณะทั่วไปดังต่อไปนี้ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยภาคการศึกษาล่าสุด จำนวนพี่น้อง การทำงานพิเศษหรือมีรายได้เสริมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ ความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสโมสรนักศึกษา หรือวิทยาลัยจัดให้ และประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ระดับกลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะส่วนตนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับคุณลักษณะทั่วไปดังต่อไปนี้ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา จำนวนพี่น้อง ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ ความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสโมสรนักศึกษา หรือวิทยาลัยจัดให้ และประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ระดับกลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะในสังคมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับคุณลักษณะทั่วไปดังต่อไปนี้ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ยภาคการศึกษาล่าสุด จำนวนพี่น้อง ประสบการณ์การเป็นผู้ริเริ่ม ผู้นำ หรือผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนักศึกษา ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ และประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ระดับภาพรวม 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีทรงประสิทธิผลสูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับคุณลักษณะทั่วไปดังต่อไปนี้ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา จำนวนพี่น้อง ประสบการณ์การเป็นผู้ริเริ่ม ผู้นำ หรือผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนักศึกษา ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ และประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุปนิสัย พบว่า อุปนิสัยตามหลักการ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ได้แก่ บัญชีออมใจ ความสมดุลในการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยที่ 1 ถึง อุปนิสัยที่ 7 มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับทุกอุปนิสัย ผลการเรียนเฉลี่ยภาคการศึกษาล่าสุดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสมดุลในการดำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 1 บี-โปรแอกทีฟ อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ อุปนิสัยที่ 4 การคิดแบบชนะ/ชนะ อุปนิสัยที่ 6 การผนึกพลังประสานความต่าง กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะส่วนตน กลุ่มอุปนิสัยเพื่อชัยชนะในสังคม และภาพรวม 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมมีความสัมพันธ์ทางบวก กับความสมดุลในการดำเนินชีวิต อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ และอุปนิสัยที่ 4 การคิดแบบชนะ/ชนะ นักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง มีค่าเฉลี่ยระดับอุปนิสัยมากกว่านักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงในทุกระดับอุปนิสัยen_US
dc.language.isothen_US
dc.sourceว/ภน 152.33 ธ157ก-
dc.subject.classification152.33-
dc.subject.ddcมหาวิทยาลัยแม่โจ้. คณะเศรษฐศาสตร์ -- นักศึกษา-
dc.subject.ddcนิสัย-
dc.titleการวัดระดับอุปนิสัยของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้หลักการเจ็ดอุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูงen_US
dc.title.alternativeMeasuring habit level of Faculty of Economics Students, Maejo University, by applying the seven habits of highly effective people principleen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT193.54 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX873.75 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1255.1 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2312.42 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3299.64 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.82 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5579.09 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT268.68 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER328.51 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE250.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.