Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37851
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรัท วินิจ-
dc.contributor.authorเปี่ยมศุข ท้าวศรีชัยen_US
dc.date.accessioned2015-03-10T10:32:43Z-
dc.date.available2015-03-10T10:32:43Z-
dc.date.issued2014-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37851-
dc.description.abstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีต่อความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้บริโภคที่ใช้บริการโรงอาหารของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 300 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 18 – 22 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่ยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน5,001-10,000 บาท บุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจมากที่สุดคือเพื่อน การใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจบ่อยที่สุดในวันจันทร์ช่วงเวลา 12.01-13.00 น.โดยจะใช้บริการโรงงานเฉลี่ย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าประเภทเครื่องดื่มมากที่สุดซึ่งมีค่าใช้จ่าย ในการซื้อสินค้าในโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจ เฉลี่ยต่อครั้ง 50-100 บาท เหตุผลหลักที่เลือกใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจคืออาหารและเครื่องดื่ม และความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาอาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสม ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าราคาอาหารธรรมดาที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 20 บาท/จาน ราคาอาหารพิเศษที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 30 บาท/จาน ราคาเครื่องดื่มธรรมดาที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 10 บาท/แก้ว และราคาเครื่องดื่มพิเศษที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 15 บาท/แก้ว ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญโดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ได้แก่ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปัจจัยด้านราคาปัจจัยด้านสถานที่ปัจจัยด้านบุคลากรปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการและให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพและปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด สำหรับปัจจัยย่อยในแต่ละด้านให้ความสำคัญดังนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ความสะอาดของอาหาร รสชาติของอาหาร และ ความสดใหม่และคุณภาพของวัตถุดิบ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือราคาอาหารเหมาะสมกับคุณภาพและปริมาณราคาต่อหน่วย (ชิ้น/จาน/ชาม/กล่อง/ห่อ/ถุง) ของอาหารต่ำกว่าราคาตลาดและมีอาหารหลากหลายระดับราคา ปัจจัยด้านสถานที่ ปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ทำเลที่ตั้งสะดวกต่อการเดินทางจัดที่นั่งไว้เพียงพอและที่จอดรถสะดวกและเพียงพอ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือการทำป้ายเพื่อชักชวนให้ใช้บริการมีภาพแสดงตัวอย่างอาหาร และการตกแต่งสถานที่และหน้าร้านเพื่อชักชวนให้ใช้บริการ ปัจจัยด้านบุคลากรปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความสุภาพ ยิ้มแย้มเป็นกันเองของผู้ขายความกระตือรือร้นและเอาใจใส่ในการให้บริการของผู้ขายและการตอบสนองและความเต็มใจของผู้ขายในการบริการ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ได้รับอาหารถูกต้องตามเมนูที่สั่งการทักทายและต้อนรับของผู้ขายและระยะเวลาที่ต้องรอในการรอรับอาหารหรือเครื่องดื่ม ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ความสะอาดของพื้น โต๊ะ เก้าอี้โต๊ะและเก้าอี้นั่งสบายและปลอดภัยและมีโต๊ะและเก้าอี้มีจำนวนเพียงพอen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภค ในการเลือกโรงอาหาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeServices marketing mix affecting consumers towards selecting cafeteria at the Faculty of Business Administration, Chiang Mai Universityen_US
thailis.classification.ddc658.8342-
thailis.controlvocab.thashความพอใจของผู้บริโภค--เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการตลาด-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 658.8342 ป666ส-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีต่อความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้บริโภคที่ใช้บริการโรงอาหารของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 300 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 18 – 22 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่ยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน5,001-10,000 บาท บุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจมากที่สุดคือเพื่อน การใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจบ่อยที่สุดในวันจันทร์ช่วงเวลา 12.01-13.00 น.โดยจะใช้บริการโรงงานเฉลี่ย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าประเภทเครื่องดื่มมากที่สุดซึ่งมีค่าใช้จ่าย ในการซื้อสินค้าในโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจ เฉลี่ยต่อครั้ง 50-100 บาท เหตุผลหลักที่เลือกใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจคืออาหารและเครื่องดื่ม และความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาอาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสม ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าราคาอาหารธรรมดาที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 20 บาท/จาน ราคาอาหารพิเศษที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 30 บาท/จาน ราคาเครื่องดื่มธรรมดาที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 10 บาท/แก้ว และราคาเครื่องดื่มพิเศษที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 15 บาท/แก้ว ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงอาหารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญโดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ได้แก่ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปัจจัยด้านราคาปัจจัยด้านสถานที่ปัจจัยด้านบุคลากรปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการและให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพและปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด สำหรับปัจจัยย่อยในแต่ละด้านให้ความสำคัญดังนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ความสะอาดของอาหาร รสชาติของอาหาร และ ความสดใหม่และคุณภาพของวัตถุดิบ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือราคาอาหารเหมาะสมกับคุณภาพและปริมาณราคาต่อหน่วย (ชิ้น/จาน/ชาม/กล่อง/ห่อ/ถุง) ของอาหารต่ำกว่าราคาตลาดและมีอาหารหลากหลายระดับราคา ปัจจัยด้านสถานที่ ปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ทำเลที่ตั้งสะดวกต่อการเดินทางจัดที่นั่งไว้เพียงพอและที่จอดรถสะดวกและเพียงพอ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือการทำป้ายเพื่อชักชวนให้ใช้บริการมีภาพแสดงตัวอย่างอาหาร และการตกแต่งสถานที่และหน้าร้านเพื่อชักชวนให้ใช้บริการ ปัจจัยด้านบุคลากรปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความสุภาพ ยิ้มแย้มเป็นกันเองของผู้ขายความกระตือรือร้นและเอาใจใส่ในการให้บริการของผู้ขายและการตอบสนองและความเต็มใจของผู้ขายในการบริการ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ได้รับอาหารถูกต้องตามเมนูที่สั่งการทักทายและต้อนรับของผู้ขายและระยะเวลาที่ต้องรอในการรอรับอาหารหรือเครื่องดื่ม ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพปัจจัยย่อยให้ความสำคัญมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ความสะอาดของพื้น โต๊ะ เก้าอี้โต๊ะและเก้าอี้นั่งสบายและปลอดภัยและมีโต๊ะและเก้าอี้มีจำนวนเพียงพอen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT301.92 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX361.49 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1173.34 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2205.44 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3173.57 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.35 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5668.82 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT282.07 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER398.95 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE185.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.