Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37790
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโกสุมภ์ สายจันทร์-
dc.contributor.authorจีราวุธ รักร่วมen_US
dc.date.accessioned2015-02-18T10:16:11Z-
dc.date.available2015-02-18T10:16:11Z-
dc.date.issued2014-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37790-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ทำการศึกษาจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่เป็นทางการ ได้แก่ กำนันตำบลสบป่อง ผู้ใหญ่บ้านบ้านแม่อุมอง นายก อบต.สบป่อง และ ส.อบต.สบป่อง และกลุ่มชาวบ้าน ได้แก่ ประธานกลุ่มแม่บ้าน ผู้นำพิธีกรรม และชาวบ้าน รวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การเริ่มโครงการ เช่น การประชุมวางแผน การเสนอข้อคิดเห็น การกำหนดแผนงาน การจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในแต่ละฝ่าย การสนับสนุนงบประมาณ การร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ป่าของหมู่บ้าน การร่วมประเมินผลและติดตามผล การนำปัญหามาวิเคราะห์และร่วมหาทางแก้ไข และมีการทำกิจกรรมการจัดการพื้นที่ป่าร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง 2. ปัญหาและข้อจำกัดในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง พบว่ามีปัญหาด้านการเมือง คือ ผู้นำท้องถิ่นยังไม่สามารถใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด กับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของหมู่บ้านได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งการดำเนินงานของชาวบ้านนั้น ยังขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้การดำเนินการจัดการป่านั้นไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีความแตกต่างกันในด้านวิถีชีวิตการดำรงชีพของตน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน และกฎหมายที่ใช้ในการจัดการพื้นที่ป่ายังไม่มีความชัดเจน ชาวบ้านไม่สามารถเข้ามาจัดการปัญหาโดยใช้ข้อกฎหมายได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเพื่อให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง หน่วยงานราชการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร ความรู้ต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินการให้ชาวบ้านได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการป่าที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อที่ชาวบ้านจะได้ดำเนินการในการจัดการพื้นที่ป่าของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่ป่า บ้านแม่อุมอง ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeThe Community participation of forest management in Baan Mae Ou-Mong , Soppong Sub-district ,Pang Ma-Pha District, Mae Hong Son Provinceen_US
thailis.classification.ddc634.92-
thailis.controlvocab.thashการจัดการป่าไม้--การมีส่วนร่วมของประชาชน-
thailis.controlvocab.thashทรัพยากรป่าไม้--แม่ฮ่องสอน. อำเภอปางมะผ้า-
thailis.controlvocab.thashทรัพยากรธรรมชาติ--แม่ฮ่องสอน. อำเภอปางมะผ้า-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 634.92 จ372ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ทำการศึกษาจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่เป็นทางการ ได้แก่ กำนันตำบลสบป่อง ผู้ใหญ่บ้านบ้านแม่อุมอง นายก อบต.สบป่อง และ ส.อบต.สบป่อง และกลุ่มชาวบ้าน ได้แก่ ประธานกลุ่มแม่บ้าน ผู้นำพิธีกรรม และชาวบ้าน รวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การเริ่มโครงการ เช่น การประชุมวางแผน การเสนอข้อคิดเห็น การกำหนดแผนงาน การจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในแต่ละฝ่าย การสนับสนุนงบประมาณ การร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ป่าของหมู่บ้าน การร่วมประเมินผลและติดตามผล การนำปัญหามาวิเคราะห์และร่วมหาทางแก้ไข และมีการทำกิจกรรมการจัดการพื้นที่ป่าร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง 2. ปัญหาและข้อจำกัดในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง พบว่ามีปัญหาด้านการเมือง คือ ผู้นำท้องถิ่นยังไม่สามารถใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด กับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของหมู่บ้านได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งการดำเนินงานของชาวบ้านนั้น ยังขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้การดำเนินการจัดการป่านั้นไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีความแตกต่างกันในด้านวิถีชีวิตการดำรงชีพของตน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน และกฎหมายที่ใช้ในการจัดการพื้นที่ป่ายังไม่มีความชัดเจน ชาวบ้านไม่สามารถเข้ามาจัดการปัญหาโดยใช้ข้อกฎหมายได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเพื่อให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านแม่อุมอง หน่วยงานราชการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร ความรู้ต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินการให้ชาวบ้านได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการป่าที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อที่ชาวบ้านจะได้ดำเนินการในการจัดการพื้นที่ป่าของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT192.51 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX2.51 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1528.99 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2672.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3314.56 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 42.77 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5412.34 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT254.34 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER535.96 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE314.76 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.