Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37696
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโกสุมภ์ สายจันทร์-
dc.contributor.authorธันย์ คุณยศยิ่งen_US
dc.date.accessioned2015-02-17T10:54:10Z-
dc.date.available2015-02-17T10:54:10Z-
dc.date.issued2014-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37696-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จในการจัดตั้งเครือข่าย ปฏิรูปและพัฒนาชุมชนเชียงใหม่ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดรวมถึงทำการศึกษา ถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของเครือข่ายฯในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าแบ่งเป็น 2 ส่วน แบบสอบถาม ส่วนที่1 ใช้ในการสัมภาษณ์คณะกรรมการเครือข่ายฯ และแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ใช้ในการสัมภาษณ์ประธานชุมชน และแกนนำในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองหอย 5 ชุมชน ซึ่งบุคคลทั้งหมดได้ให้ข้อมูล ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จำนวนรวมทั้งหมด 13 ราย ผลการศึกษาพบว่าปัญหายาเสพติดในช่วงระยะเริ่มต้นการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองหอยยังพบการแพร่ระบาดของยาเสพติดโดยก่อนที่จะเริ่มมีการดำเนินงานของเครือข่ายฯยังคงเจอกับสภาพปัญหาอุปสรรคที่มีการแทรกแซงการบริหารจัดการของเครือข่ายฯและปัญหาจากสภาพแวดล้อมในชุมชน ซึ่งปัญหาอุปสรรคเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อ การกำหนดแนวกิจกรรมและการให้ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่โดยสามารถดำเนินงาน ในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและเกิดความสำเร็จจนทำให้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดลดลงการที่เครือข่ายฯได้ใช้ระยะเวลาในการสร้างกระบวนการและระบบของเครือข่ายฯภายใต้การประสานงานระหว่างประชาชนในพื้นที่กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนโดยการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบในการดำเนินงานของกรรมการเครือข่ายฯในพื้นที่ให้สอดรับกับสภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่และทำการวิเคราะห์อย่างตรงจุดโดยเครือข่ายฯมีการบริหารจัดการ ในเรื่องของการส่งเสริมกิจกรรมลงสู่พื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและนำเอาแผนยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การปลุกกระแสสังคม ยุทธศาสตร์การรณรงค์ป้องกันยาเสพติด ยุทธศาสตร์การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ และยุทธศาสตร์การป้องปรามยาเสพติดมาปรับกับข้อมูลของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้พื้นที่ชุมชนต่างๆที่มีการจัดกิจกรรมสามารถปรับเนื้อหาให้เข้ากับแนวทางหรือวัตถุประสงค์ของเครือข่ายฯได้อย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านกิจกรรมที่กำหนดขึ้นตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในมุมของชุมชนที่เจอกับปัญหายาเสพติดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมของชุมชนสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน จากการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายฯโดยผ่านกิจกรรมที่ลงไปสู่พื้นที่อย่างต่อเนื่องผนวกกับความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ที่จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลหนองหอยด้วยความตั้งใจและจิตใจที่เข้มแข็งเป็นสาธารณะพร้อมเสียสละทั้งกำลังกาย และสละเวลา ในขณะเดียวกันความสำเร็จของการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่นั้นเป็นผลมาจากการได้รับความร่วมมือและการหนุนเสริมกระบวนการทำงานจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างต่อเนื่องด้วยการเติมเต็มกระบวนการที่เครือข่ายฯยังคงขาดเหลือ และการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดโดยยึดหลักการตามแผนยุทธศาสตร์ทำให้เครือข่ายฯมีความสมบูรณ์ในด้านกระบวนการทำงานที่เป็นระบบและเกิดความยั่งยืนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสำเร็จในการจัดตั้งเครือข่ายปฏิรูปและพัฒนาชุมชนเชียงใหม่ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด : กรณีศึกษาตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAchievement in founding the reform and community development network for drug prevention and problem solving : a case study of Tambon Nong Hoi, Amphoe Mueang Chiang Maien_US
thailis.classification.ddc362.29-
thailis.controlvocab.thashยาเสพติด -- การควบคุม--เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashชุมชน -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 362.29 ธ115ค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จในการจัดตั้งเครือข่าย ปฏิรูปและพัฒนาชุมชนเชียงใหม่ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดรวมถึงทำการศึกษา ถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของเครือข่ายฯในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าแบ่งเป็น 2 ส่วน แบบสอบถาม ส่วนที่1 ใช้ในการสัมภาษณ์คณะกรรมการเครือข่ายฯ และแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ใช้ในการสัมภาษณ์ประธานชุมชน และแกนนำในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองหอย 5 ชุมชน ซึ่งบุคคลทั้งหมดได้ให้ข้อมูล ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จำนวนรวมทั้งหมด 13 ราย ผลการศึกษาพบว่าปัญหายาเสพติดในช่วงระยะเริ่มต้นการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองหอยยังพบการแพร่ระบาดของยาเสพติดโดยก่อนที่จะเริ่มมีการดำเนินงานของเครือข่ายฯยังคงเจอกับสภาพปัญหาอุปสรรคที่มีการแทรกแซงการบริหารจัดการของเครือข่ายฯและปัญหาจากสภาพแวดล้อมในชุมชน ซึ่งปัญหาอุปสรรคเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อ การกำหนดแนวกิจกรรมและการให้ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่โดยสามารถดำเนินงาน ในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและเกิดความสำเร็จจนทำให้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดลดลงการที่เครือข่ายฯได้ใช้ระยะเวลาในการสร้างกระบวนการและระบบของเครือข่ายฯภายใต้การประสานงานระหว่างประชาชนในพื้นที่กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนโดยการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบในการดำเนินงานของกรรมการเครือข่ายฯในพื้นที่ให้สอดรับกับสภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่และทำการวิเคราะห์อย่างตรงจุดโดยเครือข่ายฯมีการบริหารจัดการ ในเรื่องของการส่งเสริมกิจกรรมลงสู่พื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและนำเอาแผนยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การปลุกกระแสสังคม ยุทธศาสตร์การรณรงค์ป้องกันยาเสพติด ยุทธศาสตร์การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ และยุทธศาสตร์การป้องปรามยาเสพติดมาปรับกับข้อมูลของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้พื้นที่ชุมชนต่างๆที่มีการจัดกิจกรรมสามารถปรับเนื้อหาให้เข้ากับแนวทางหรือวัตถุประสงค์ของเครือข่ายฯได้อย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านกิจกรรมที่กำหนดขึ้นตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในมุมของชุมชนที่เจอกับปัญหายาเสพติดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมของชุมชนสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน จากการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายฯโดยผ่านกิจกรรมที่ลงไปสู่พื้นที่อย่างต่อเนื่องผนวกกับความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ที่จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลหนองหอยด้วยความตั้งใจและจิตใจที่เข้มแข็งเป็นสาธารณะพร้อมเสียสละทั้งกำลังกาย และสละเวลา ในขณะเดียวกันความสำเร็จของการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่นั้นเป็นผลมาจากการได้รับความร่วมมือและการหนุนเสริมกระบวนการทำงานจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างต่อเนื่องด้วยการเติมเต็มกระบวนการที่เครือข่ายฯยังคงขาดเหลือ และการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดโดยยึดหลักการตามแผนยุทธศาสตร์ทำให้เครือข่ายฯมีความสมบูรณ์ในด้านกระบวนการทำงานที่เป็นระบบและเกิดความยั่งยืนen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT180.15 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX574.62 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1328.14 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2443.34 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3235.16 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4429.2 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5311.53 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT260.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER519.02 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE386.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.