Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37674
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อาทิตย์ วงศ์สว่าง | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-02-03T04:15:09Z | - |
dc.date.available | 2015-02-03T04:15:09Z | - |
dc.date.issued | 2014-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37674 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกลองปูจาและพัฒนาการของการตีกลองปูจาในดินแดนล้านนาหรือภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาความเป็นมาของกลุ่มลายคำและกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจา ตลอดจนปัญหาของการดำเนินการกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสำรวจทางกายภาพ สังเกตการณ์ จากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้แบบสอบถามแบบเขียนตอบและการสัมภาษณ์ โดยใช้การสัมภาษณ์ กลุ่มผู้รู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับกลองปูจาล้านนา กลุ่มสมาชิกเครือข่ายลายคำระดับแกนนำและหัวหน้าเครือข่าย และกลุ่มเยาวชนลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน ในอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอเมือง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ความสำคัญ รูปแบบ วิธีการดำเนินกิจกรรมของการตีกลองปูจาและปัญหาของการดำเนินการกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลองปูจา เป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องกระทบประเภทเครื่องหนัง ซึ่งจัดอยู่ในดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม ศาสนา ความศรัทธาและความเชื่อ ถือว่าเป็นกลองมงคลของล้านนา จัดเป็น 1 ใน 5 กลองในตำนานประวัติศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือ ส่วนกลุ่มลายคำนั้น เกิดขึ้นในปี พุทธศักราช 2534 จากการรวมกลุ่มกันของนักศึกษาที่มีใจรักในศิลปวัฒนธรรมล้านนา ณ เรือน อนุสารสุนทร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ปรีชา สุทธปรีดา ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา มัธยมบุรุษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลมูล จันทร์หอม และอาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์ ได้ให้ความเมตตาสนับสนุนให้มีสถานที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ เรือนอนุสารสุนทรได้รับความเมตตาจาก พ่อไกรศรี นิมมานเหมินท์ ปราชญ์แห่งล้านนา ตั้งชื่อให้ว่า “กลุ่มลายคำ” โดยกลุ่มดังกล่าวมีพันธกิจร่วมกันคือการสร้างสรรค์ และสืบสานลายศิลป์ ลายฟ้อนนาฏลีลา ลายดนตรี ลายช่างภูมิปัญญา และลายขับขานของล้านนาให้คงอยู่สืบไป มีทำหน้าที่อนุรักษ์และเผยแพร่การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนาและสืบทอดภูมิปัญญาต่างๆ โดยเฉพาะการตีกลองปูจาแบบล้านนา และพบว่ารูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ว่าสามารถกำหนดแนวทาง ได้ 2 แนวทางหลักๆและควรที่จะมีการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งสองแนวทางภายใต้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1) แนวทางการอนุรักษ์การตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ และ (2) แนวทางการฟื้นฟูการตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ทั้งสองแนวทางควรต้องมีจัดโครงการเพื่อสามารถขับเคลื่อนแนวทางดังกล่าวให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่โครงการ “สืบสานภูมิปัญญาการตีกลองปูจาแบบล้านนา” และโครงการ “ถวายคืนความรู้ การตีกลองปูจาสู่พระภิกษุสงฆ์สามเณร” เป็นต้น | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำใน จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | The Conservation and restoration of The Beating Poo Ja Drums of The Lai Klam Groups in Chiang Mai Province | en_US |
thailis.classification.ddc | 789.1 | - |
thailis.controlvocab.thash | กลองปูจา | - |
thailis.controlvocab.thash | กลอง--ไทย (ภาคเหนือ) | - |
thailis.controlvocab.thash | กลอง--เชียงใหม่ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 789.1 อ243ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกลองปูจาและพัฒนาการของการตีกลองปูจาในดินแดนล้านนาหรือภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาความเป็นมาของกลุ่มลายคำและกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจา ตลอดจนปัญหาของการดำเนินการกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสำรวจทางกายภาพ สังเกตการณ์ จากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้แบบสอบถามแบบเขียนตอบและการสัมภาษณ์ โดยใช้การสัมภาษณ์ กลุ่มผู้รู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับกลองปูจาล้านนา กลุ่มสมาชิกเครือข่ายลายคำระดับแกนนำและหัวหน้าเครือข่าย และกลุ่มเยาวชนลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน ในอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอเมือง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ความสำคัญ รูปแบบ วิธีการดำเนินกิจกรรมของการตีกลองปูจาและปัญหาของการดำเนินการกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลองปูจา เป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องกระทบประเภทเครื่องหนัง ซึ่งจัดอยู่ในดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม ศาสนา ความศรัทธาและความเชื่อ ถือว่าเป็นกลองมงคลของล้านนา จัดเป็น 1 ใน 5 กลองในตำนานประวัติศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือ ส่วนกลุ่มลายคำนั้น เกิดขึ้นในปี พุทธศักราช 2534 จากการรวมกลุ่มกันของนักศึกษาที่มีใจรักในศิลปวัฒนธรรมล้านนา ณ เรือน อนุสารสุนทร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ปรีชา สุทธปรีดา ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา มัธยมบุรุษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลมูล จันทร์หอม และอาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์ ได้ให้ความเมตตาสนับสนุนให้มีสถานที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ เรือนอนุสารสุนทรได้รับความเมตตาจาก พ่อไกรศรี นิมมานเหมินท์ ปราชญ์แห่งล้านนา ตั้งชื่อให้ว่า “กลุ่มลายคำ” โดยกลุ่มดังกล่าวมีพันธกิจร่วมกันคือการสร้างสรรค์ และสืบสานลายศิลป์ ลายฟ้อนนาฏลีลา ลายดนตรี ลายช่างภูมิปัญญา และลายขับขานของล้านนาให้คงอยู่สืบไป มีทำหน้าที่อนุรักษ์และเผยแพร่การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนาและสืบทอดภูมิปัญญาต่างๆ โดยเฉพาะการตีกลองปูจาแบบล้านนา และพบว่ารูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ว่าสามารถกำหนดแนวทาง ได้ 2 แนวทางหลักๆและควรที่จะมีการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งสองแนวทางภายใต้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1) แนวทางการอนุรักษ์การตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ และ (2) แนวทางการฟื้นฟูการตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ทั้งสองแนวทางควรต้องมีจัดโครงการเพื่อสามารถขับเคลื่อนแนวทางดังกล่าวให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่โครงการ “สืบสานภูมิปัญญาการตีกลองปูจาแบบล้านนา” และโครงการ “ถวายคืนความรู้ การตีกลองปูจาสู่พระภิกษุสงฆ์สามเณร” เป็นต้น | en_US |
Appears in Collections: | GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 245.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 236.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 315.97 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 571.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 282.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 371.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 6.pdf | CHAPTER 6 | 224.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 193.51 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 898.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 186.11 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.