Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80174
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพักตร์วิภา สุวรรณพรหม-
dc.contributor.authorปณต อัศววิวัฒน์พงศ์en_US
dc.date.accessioned2024-11-17T06:54:00Z-
dc.date.available2024-11-17T06:54:00Z-
dc.date.issued2023-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80174-
dc.description.abstractThe objective of this research was to study barriers and supporting factors towards one-year retention to Methadone Maintenance Therapy (MMT) in the perspective of MMT recipients at Wiang Haeng Hospital, Chiang Mai Province. Wiang Haeng is a remote mountainous area, at Myanmar Thailand border. Most of the population are ethnic minorities who do not have Thai nationality. There is a problem of MMT recipients missing their MMT appointment, resulting in poor compliance and high relapse to addiction. This research was a qualitative study. Data was collected through in-depth, semi-structured interviews. Interview questions were developed from the risk environment framework, Health Belief Model, and shared decision-making model. Key informants included a group of 6 good-compliance MMT recipients, a group of 5 poor-compliance MMT recipients and a group of 3 community leaders. Data were analyzed by content analysis from the recipient’s perspective. The interviews were taken between 1 August 2022 to 30 April 2023.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยอุปสรรคและปัจจัยสนับสนุนต่อการคงอยู่ในระบบของผู้บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว ในพื้นที่ทุรกันดารของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeBarriers and supporting factors to Methadone maintenance therapy retention in remote areas of Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashยาเสพติด -- เวียงแหง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการติดฝิ่น -- เวียงแหง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการติดยาเสพติด-
thailis.controlvocab.thashเภสัชกรรม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสรรคและปัจจัยที่ส่งผลต่อส่งผลต่อการคงอยู่ในระบบ การบำบัดด้วยเมทาโดนในระยะยาวอย่างน้อย 1 ปี ในมุมมองของผู้บำบัดในพื้นที่อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งที่เป็นพื้นที่ทุรกันดาร ป่าเขา ติดชายแดนเพื่อนบ้าน ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่ไม่มีสัญชาติไทย ในระบบการบำบัดพบปัญหาผู้รับการบำบัดไม่มารับยาเมทาโดนตามวัน เวลาที่นัดหมาย ส่งผลทำให้เกิดความร่วมมือที่ไม่ดีในการบำบัดรักษาการติดยาเสพคิด และกลับไปใช้ ยาเสพติดซ้ำ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi- structured interview) โดยข้อคำถามพัฒนาจากแนวคิดทฤษฎี Risk environment framework, Health Belief Model 1105 Shared decision making model คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากกลุ่มผู้บำบัด ที่ให้ความร่วมมือ 6 คน, กลุ่มผู้บำบัดที่ไม่ให้ความร่วมมือ 5 คน และกลุ่มผู้นำชุมชน 3 คน วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในมุมมองของผู้บำบัด เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2565 - 30 เมษายน 2566 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในระบบการบำบัดฯ ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการรับรู้ ผู้รับการบำบัดเกือบทั้งหมดรับรู้ถึงประโยชน์ของการบำบัด และ ผลกระทบในแง่ลบของยาเสพติดทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง แต่ก็ ไม่รู้จักหรือขาดความรู้เรื่องยาเม ทาโดนจึงทำให้เกิดความร่วมมือที่ไม่ดีในการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว 2)ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เนื่องจากความทุรกันดาร เป็นพื้นที่ห่างไกล การเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบากเข้าถึง ระบบสาธารณสุขได้ยาก คนในพื้นที่จึงเลือกใช้ยาเสพติดเพื่อบำบัดรักษาตนเอง เช่นเดียวกันการ เดินทางมารับการบำบัดมีความลำบากใช้เวลานานจึงทำให้คนมารับยาผิดนัด เกิดการขาดขาเมทาโดน รวมถึงการเป็นพื้นที่สูง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป้าเขา และอยู่ติดกับประเทศพม่าจึงทำให้เป็นพื้นพื้นที่ ลักลอบลำเลียงยาเสพติด คนเวียงแหงจึงเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย และอกจากการบำบัดกลับไปใช้ยา เสพติดได้ง่าย 3) สิ่งแวดล้อมที่เป็นโครงสร้างทางสังคม เช่น การเป็นพื้นที่ที่ประชากรมีรายได้น้อย ส่งผลต่อข้อจำกัดต่อการเดินทางเข้ารับการบำบัดด้วยเมทาโดน นโยบายด้านการบำบัดด้วยเมทาโดน และนโยบายการปราบปรามยาเสพติดทำให้คนเลือกที่จะหยุดใช้ยาเสพติดและเลือกที่จะเข้ารับการ บำบัดด้วยเมทาโดน 4) เครือข่ายทางสังคม เช่น อิทธิผลของเพื่อน ครอบครัว และชุมชน ส่งผลต่อการ ตัดสินใจเข้ารับการบำบัด และคงคงอยู่ในระบบการบำบัด ถ้าเพื่อน ครอบครัว และชุมชน มีความ เข้าใจต่อการบำบัดด้วยเมทาโดน และให้การสนับสนุนที่ดีต่อผู้บำบัด และร) การจัดบริการเพื่อบำบัด ยาเสพติดด้วยเมทาโดนระยะยาว เช่น การจำกัดปริมาณการจ่ายยาเมทาโดน ทำให้ผู้บำบัดต้องเดินทาง มารับบริการบ่อย กระทบต่อค่าใช้จ่าย การทำงางาน และการใช้ชีวิตของผู้บำบัด ซึ่งทำให้เกิดความ ร่วมมือที่ไม่ดีได้ แต่อย่างไรการมีอยู่ของการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะชาวและให้บริการโดยไม่มี ค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการช่วยลดปัญหาฝืนและเฮโรอินในพื้นที่อำอภอเวียงเหงได้ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษเช่นที่อำเภอเวียงแหงนั้น ควรเกิดขึ้น อย่างบูรณาการ เนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีหลากหลาย และปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อกันอย่าง ต่อเนื่องในหลายทิศทาง ทั้งเรื่องบริบท สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ การศึกษา และการ รวมถึงการให้ผู้รับการบำบัดเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการออกแบบรูปแบบการให้บริการ จะทำให้ผู้ บำบัดเด็กยาและกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติและไปกลับ ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641031010 ปณต อัศววิวัฒน์พงศ์.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.