Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80142
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑามาส คุ้มชัย-
dc.contributor.advisorศิวาพร ธรรมดี-
dc.contributor.authorปภัสสร กุมภาพันธ์en_US
dc.date.accessioned2024-11-06T00:32:29Z-
dc.date.available2024-11-06T00:32:29Z-
dc.date.issued2024-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80142-
dc.description.abstractThis study collected shallot varieties from various provinces in Thailand: Chiang Mai (CMI), Chaiyaphum (CPM), Chiang Rai (CRI), Khon Kaen (KKN), Lamphun (LPN), Mae Hong Son (MSN), Nakhon Ratchasima (NMA), Phetchabun (PNB), Phayao (PYO), Si Sa Ket (SSK), and Uttaradit (UTT); as well as those from Indonesia (IDO) and Indian onions from India (IND). The aim was to evaluate the morphological diversity of the plants by cultivating and assessing 27 shallot accessions during the winter seasons from 2021 to 2024. The experiment was designed using a randomized complete block design (RCBD). Based on the results, the shallots could be classified into four categories according to their bulb colors: purple-red, pink-red, yellow-orange, and white. In addition, the characteristics of the shallot leaves could be divided into two types: upright and curvy. The results of the first planting trial indicated that the yielded weight of the NMA07, NMA08, and NMA09 after undergoing the air-drying process was not significantly different, ranging from 3,030.90 to 3,137.00 kilograms per rai. It was also found that the NMA07 had a bulb circumference of 13.83 centimeters, which was significantly larger than and different from that of the NMA08 and NMA09, which ranged from 9.60 to 10.04 centimeters. The correlation coefficient (R) between the yielded weight after drying and the number of bulbs and bulb circumference was 0.22 and 0.53, respectively. The correlation coefficient (R) between the bulb circumference and the number of bulbs was -0.37. According to the results of the second planting trial, it was found that the yielded weights of the air-dried NMA08 and NMA09 were not significantly different, as the former and latter weighed 3,225.49 and 3,356.23 kilograms per rai, respectively. The results also showed that the NMA07 had a bulb circumference of 12.14 centimeters, which was statistically larger than and different from that of the NMA08 and NMA09, which ranged from 9.67 to 9.88 centimeters. The correlation coefficient (R) between the yielded weight of the air-dried shallots and the number of leaves, leaf length, and number of bulbs was 0.30, 0.22, and 0.49, respectively. The correlation coefficient (R) between the bulb circumference and the number of leaves and leaf width was -0.36 and 0.56, respectively. The results of the third planting trial, focusing on the development of hybrid shallots between shallots and Indian onions, revealed that the yielded weights of the CMI02 × IND01, NMA05 × IND01, NMA09 × IND01, IND01 × PYO04, and IND01 × UTT05 hybrids, ranging from 3,020.02 to 3,474.27 kilograms per rai, were not significantly different from those available in the market. It was found that the CMI02 × IND01 cross had a bulb circumference of 16.54 centimeters, which was larger than other crosses in the present study and those in the market, which ranged from 12.40 to 14.93 centimeters. The correlation coefficient (R) between the yielded weight of the air-dried shallots and the leaf length, leaf width, number of bulbs, and bulb circumference was 0.42, 0.78, -0.43, and 0.80, respectively. The correlation coefficient (R) between the bulb circumference and the leaf length, leaf width, and number of bulbs was 0.42, 0.60, 0.81, and -0.50, respectively. Furthermore, all hybrid shallot varieties produced larger bulbs and were statistically different from shallots grown from self-pollinated seeds. The genetic relationship between shallots and Indian onions was studied using DNA fingerprinting with five SSR molecular markers. The results suggested that ACM091, AFS015, AFS104, and AFS149 were able to show genetic differences, while ACM071 could not distinguish genetic variations among shallots and Indian red onions. By analyzing DNA fingerprints along with morphological assessments, the shallots and Indian onions in the present study could be clearly classified into six groups: four groups of Thai shallots, one group of Indonesian shallots, and one group of Indian onions.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleสัณฐานวิทยาและการประเมินพันธุกรรมหอมแดง เพื่อการปรับปรุงพันธุ์en_US
dc.title.alternativeMorphology and genetic evaluation of shallot for improvementen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashหอมแดง-
thailis.controlvocab.thashหอมแดง -- สัณฐานวิทยา-
thailis.controlvocab.thashหอมแดง -- การปลูก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractรวบรวมพันธุ์หอมแดงจากจังหวัดเชียงใหม่ (CMI) ชัยภูมิ (CPM) เชียงราย (CRI) ขอนแก่น (KKN) ลำพูน (LPN) แม่ฮ่องสอน (MSN) นครราชสีมา (NMA) เพชรบูรณ์ (PNB) พะเยา (PYO) ศรีสะเกษ (SSK) อุตรดิตถ์ (UTT) อินโดนีเซีย (IDO) และหอมแขกจากอินเดีย (IND) เพื่อประเมินความหลากหลายทางสัณฐานวิทยา โดยปลูกประเมินในฤดูหนาวปี 2564 ถึง 2567 จำนวน 27 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก ผลการทดลองสามารถ จำแนกสีของหัวได้ 4 สี ดังนี้ สีแดงม่วง สีแดงชมพู สีเหลืองส้ม และสีขาว ลักษณะของใบจำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ใบตั้งตรง และใบโค้งงอ การปลูกประเมินครั้งที่ 1 พบว่า น้ำหนักผลผลิตหลังตากผึ่งลมของ NMA07, NMA08 และ NMA09 ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ มีค่าเท่ากับ 3,030.90 ถึง 3,137.00 กิโลกรัมต่อไร่ NMA07 มีเส้นรอบวงของหัวเท่ากับ 13.83 เซนติเมตร ซึ่งมีค่ามากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ NMA08 และ NMA09 โดยมีค่าอยู่ในช่วง 9.60 ถึง 10.04 เซนติเมตร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างน้ำหนักหลังตากผึ่งลมกับจำนวนหัวและเส้นรอบวงของหัว มีค่าเท่ากับ 0.22 และ 0.53 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างเส้นรอบวงของหัวกับจำนวนหัว มีค่าเท่ากับ -0.37 การปลูกประเมินครั้งที่ 2 พบว่า น้ำหนักผลผลิตหลังตากผึ่งลมของ NMA08 และ NMA09 ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ มีค่าเท่ากับ 3,225.49 และ 3,356.23 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ NMA07 มีเส้นรอบวงของหัวเท่ากับ 12.14 เซนติเมตร ซึ่งมีค่ามากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ NMA08 และ NMA09 โดยมีค่าอยู่ในช่วง 9.67 ถึง 9.88 เซนติเมตร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างน้ำหนักหลังตากผึ่งลมกับจำนวนใบ ความยาวใบ และจำนวนหัว มีค่าเท่ากับ 0.30, 0.22 และ 0.49 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างเส้นรอบวงของหัวกับจำนวนใบ และความกว้างใบ มีค่าเท่ากับ -0.36 และ 0.56 ตามลำดับ การปลูกประเมินครั้งที่ 3 การพัฒนาพันธุ์ลูกผสมระหว่างหอมแดงและหอมแขก พบว่า น้ำหนักผลผลิตหลังตากผึ่งลมของ CMI02 × IND01, NMA05 × IND01, NMA09 × IND01, IND01 × PYO04 และ IND01 × UTT05 ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติกับพันธุ์การค้ามีค่าอยู่ในช่วง 3,020.02 ถึง 3,474.27 กิโลกรัมต่อไร่ CMI02 × IND01 มีเส้นรอบวงของหัวเท่ากับ 16.54 เซนติเมตร ซึ่งมากกว่าลูกผสมพันธุ์อื่นและพันธุ์การค้า ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 12.40 ถึง 14.93 เซนติเมตร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างน้ำหนักหลังตากผึ่งลมมีความสัมพันธ์กับความยาวใบ ความกว้างใบ จำนวนหัว และเส้นรอบวงของหัว มีค่าเท่ากับ 0.42, 0.78, -0.43 และ 0.80 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างเส้นรอบวงของหัวมีความสัมพันธ์กับความยาวใบ ความกว้างใบ และจำนวนหัว มีค่าเท่ากับ 0.60, 0.81 และ -0.50 ตามลำดับ นอกจากนี้หอมแดงพันธุ์ลูกผสมทุกพันธุ์มีขนาดหัวใหญ่และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับหอมแดงที่ปลูกจากเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผสมตัวเอง การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหอมแดงและหอมแขกจากการวิเคราะห์ลายพิมพ์ DNA ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลชนิด SSRs จำนวน 5 ไพรเมอร์ พบว่า ไพรเมอร์ ACM091, AFS015, AFS104 และ AFS149 สามารถแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรม ในขณะที่ไพรเมอร์ ACM071 ไม่สามารถแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมของหอมแดงและหอมแขกได้ และจากการวิเคราะห์ลายพิมพ์ DNA ร่วมกับการประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถจำแนกกลุ่มหอมแดงและหอมแขกได้ทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้แก่ หอมจากแดงไทย 4 กลุ่ม หอมแดงจากอินโดนีเซีย 1 กลุ่ม และหอมแขกจากอินเดีย 1 กลุ่ม ได้อย่างชัดเจนen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630831006 ปภัสสร กุมภาพันธ์.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.