Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80127
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล | - |
dc.contributor.advisor | สุกิจ กันจินะ | - |
dc.contributor.advisor | แสงทิวา สุริยงค์ | - |
dc.contributor.author | สุกสาคอน กุนทิสัก | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-10-22T01:16:07Z | - |
dc.date.available | 2024-10-22T01:16:07Z | - |
dc.date.issued | 2024-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80127 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were: 1) to study the personal, economic, social characteristics and certain cassava production conditions of cassava farmers in Phouvong District, Attapeu Province, Lao PDR; 2) to analyze the needs and factors related to farmers' needs for knowledge promotion in cassava production; and 3) to study the problems and suggestions in cassava production of farmers in Phouvong District, Attapeu Province, Lao PDR. The population consisted of 263 cassava farmers from 5 villages in Phouvong District, Attapeu Province, Lao PDR. The sample size was calculated using Taro Yamane's formula with a 0.05 error level, resulting in a sample of 159 farmers. Data were collected using interviews. Data analysis employed descriptive statistics, including frequency, percentage, maximum, minimum, standard deviation, and inferential statistics, specifically multiple regression analysis using the Enter method. The research findings show that the majority of farmers are male, with an average age of 42.84 years, having completed primary education. The average household size is 5.52 members, with an average of 3.88 working members. The average annual household income from agriculture is 19 million kip and 11 million kip from non-agricultural sources. Most farmers (91.82%) use their own capital for cassava production, and the majority (86.97%) is debt-free. For those with debt, the average outstanding balance is 5.68 million kip. A large proportion of farmers (91.19%) do not contact district agricultural officers, and almost all (99.40%) receive production information from neighbors and relatives, with an average of 1.64 information sources. In the 2022 production year, the average cultivation area was 1.04 hectares, yielding an average of 5 tons per hectare. Most cassava producers (71.07) find the production technology very complicated. Additionally, (84.27%) of farmers had a moderate level of knowledge and understanding of cassava production principles. The farmers' knowledge needs are at a high level (X ̅=2.30), with 4 main areas of highest demand: purchasing sources and prices (X ̅=2.52), varieties and land preparation (X ̅=2.42), Caring for cassava (X ̅=2.42), and harvesting and post-harvest management (X ̅=2.36). The demand for knowledge transfer through promotional methods is at a moderate level (X ̅=2.22). The most desired methods are: (1) Individual approach: farmers want staff to visit and provide on-site advice (X ̅=2.68) and transfer knowledge through model farmers (X ̅=2.51); (2) Group approach: farmers want training sessions (X ̅=2.42); (3) Mass approach: farmers desire manuals/ brochures (X ̅=2.59) and instructional documents (X ̅=2.53). The analysis of factors related to farmers' demand for knowledge promotion in cassava production revealed that among all independent variables, four variables were significant. The number of knowledge sources and gender had a positive relationship with the dependent variable at a statistically significant level. Conversely, experience and knowledge had a negative relationship with the dependent variable at a statistically significant level. Farmers face major production challenges, including: lack of advisory staff (84.90%), low crop prices and middlemen issues (76.10%), drought problems (71.07%), soil degradation leading to low yields (69.18%), harvesting difficulties (60.38%), and pest and disease problems (56.60%). Farmers' recommendations include: requesting field visits from advisory staff for consultation (79.87%), support for stable crop prices (77.99%), and production input support (37.11%) Recommendations from the results of this research: Farmers should study and learn additional techniques from experienced individuals, while also contacting agricultural officers or local group leaders for advice on cassava production. Furthermore, relevant agencies should support the formation of farmer groups to facilitate access to production inputs, training, and easier access to government information. They should also provide support for production factors through low-interest loan or installment programs, enabling farmers to access technology more easily. The focus should be on knowledge transfer through representatives of leading farmer groups to promote learning. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความต้องการส่งเสริมความรู้ด้านการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอภูวง จังหวัดอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | en_US |
dc.title.alternative | Farmers’ needs for extension of cassava production knowledge in Phouvong district, Attapue province, Lao People’s Democratic Republic | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | มันสำปะหลัง -- การผลิต | - |
thailis.controlvocab.thash | มันสำปะหลัง -- ลาว | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- ลาว | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมและสภาพการผลิตมันสำปะหลังบางประการของเกษตรกรในอำเภอภูวงจังหวัดอัตตะปือ สปป.ลาว 2) วิเคราะห์ความต้องการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการส่งเสริมความรู้ด้านการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอภูวง จังหวัดอัตตะปือ สปป.ลาว ประชากร คือ เกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง จาก 5 หมู่บ้านในอำเภอภูวง จังหวัดอัตตะปือ สปป.ลาว จำนวน 263 ราย โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 159 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบนำเข้าทั้งหมด (Enter) ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 42.84 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.52 คน และมีแรงงานเฉลี่ย 3.88 คน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อปีจากภาคเกษตร 19 ล้านกีบ และนอกภาคเกษตร 11 ล้านกีบ เกษตรกร (ร้อยละ 91.82) ใช้ทุนตัวเองในการผลิตมันสำปะหลัง และไม่มีหนี้สิน (ร้อยละ 86.79) สำหรับผู้ที่มีหนี้สิน มียอดคงค้างเฉลี่ย 5.68 ล้านกีบ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 91.19) ไม่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ และเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 99.40) ได้รับข่าวสารการผลิตจากเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง โดยมีจำนวนแหล่งรับข่าวสารความรู้เฉลี่ย 1.64 ช่องทาง ในปีการผลิต พ.ศ. 2565 มีขนาดพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 1.04 เฮกตาร์ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 5 ตันต่อเฮกตาร์ ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.07) มีความคิดเห็นต่อเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังอยู่ในระดับยุ่งยากมาก และเกษตรกร (ร้อยละ 84.27) มีความรู้ความเข้าใจด้านหลักการผลิตมันสำปะหลังอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการความรู้ของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก (X ̅=2.30) โดยมี 4 ประเด็นที่ต้องการมากที่สุดได้แก่ แหล่งรับซื้อและราคา (X ̅=2.52) พันธุ์และการเตรียมพื้นที่ (X ̅=2.42) การดูแลรักษา (X ̅=2.42) การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (X ̅=2.36). ความต้องการถ่ายทอดความรู้ผ่านวิธีการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅=2.22) โดยวิธีการที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ (1) แบบรายบุคคล ต้องการให้เจ้าหน้าที่เยี่ยมเยือนให้คำแนะนำในพื้นที่ (X ̅=2.68) และการถ่ายทอดผ่านเกษตรกรปราดเปรื่อง (X ̅=2.51) (2) แบบกลุ่ม ต้องการฝึกอบรม (X ̅=2.42) (3) แบบมวลชน ต้องการคู่มือ/แผ่นพับ (X ̅=2.59) และเอกสารคำแนะนำ (X ̅=2.53) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการส่งเสริมความรู้การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร พบว่า ในบรรดาตัวแปรอิสระทั้งหมด มีตัวแปรอิสระ จำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ จำนวนแหล่งความรู้ และเพศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางตรงกันข้าม ประสบการณ์ และความรู้ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เกษตรกรประสบปัญหาหลักในการผลิต คือ ขาดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ (ร้อยละ84.90) ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ และพ่อค้าคนกลาง (ร้อยละ76.10) ปัญหาภัยแล้ง (ร้อยละ 71.07) ดินเสื่อมคุณภาพได้ผลิตน้อย (ร้อยละ 69.18) ปัญหาการเก็บเกี่ยว (ร้อยละ 60.38) และโรคแมลงศัตรูพืช (ร้อยละ 56.60) โดยเกษตรกรให้ข้อเสนอแนะ คือ ต้องการให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา (ร้อยละ 79.87) สนับสนุนด้านราคาผลผลิตให้มีความมั่นคง (ร้อยละ 77.99) และสนับสนุนปัจจัยการผลิต (ร้อยละ 37.11) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ เกษตรกรควรศึกษาและเรียนรู้เทคนิคเพิ่มเติมจากผู้มีประสบการณ์ พร้อมติดต่อเจ้าหน้าที่เกษตรหรือผู้นำกลุ่มในพื้นที่เพื่อขอคำแนะนำในการผลิตมันสำปะหลัง นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อขอรับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต การฝึกอบรม และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐได้ง่ายขึ้น สนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตผ่านโครงการยืมหรือผ่อนชำระด้วยดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น และเน้นการถ่ายทอดความรู้ผ่านตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้นำในการส่งเสริมการเรียนรู้ | en_US |
Appears in Collections: | AGRO: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650831043 Souksakhone KOUNTHISAK.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.