Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80120
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorWoottichai Khamduang-
dc.contributor.authorSujittra Kaewkarten_US
dc.date.accessioned2024-10-22T00:44:52Z-
dc.date.available2024-10-22T00:44:52Z-
dc.date.issued2024-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80120-
dc.description.abstractNon-communicable diseases (NCDs) represent a significant global health burden, especially in low- and middle-income countries, where they are the leading causes of illness and premature death. However, certain populations living in rural or suburban areas in Thailand often face limited access to centralized healthcare services due to economic and geographical constraints. Therefore, telemedicine or telehealth services offer a crucial alternative solution to improve healthcare access for these populations, particularly for the screening and monitoring of NCDs through telemedicine technology and remote consultations. In Addition, NCDs screening for is typically conducted by healthcare professionals or specialists at healthcare facilities, leading to patient congestion and overcrowding at these facilities. Therefore, decentralizing the screening and monitoring services for NCDs to Village Health Volunteers (VHVs), who reside in these remote areas, is likely to enhance healthcare access for these populations. This study thus aims to evaluate the feasibility of the Health D system, a telehealth service operated by VHVs, for the screening and monitoring of NCDs in Doi Lo District, Chiang Mai Province, Thailand. VHVs were trained to operate the Health D system, which includes portable diagnostic tools and the T-logic algorithm for risk categorization. A total of 120 healthy participants were enrolled and underwent three visits for the collection of socio-demographic data, vital signs, physical examination, and classification of NCD risk groups, including diabetes, cardiovascular diseases (CVD), and chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Data were analyzed using descriptive statistics and categorized into risk groups. Teleconsultations were provided based on the risk stratification. The results showed that the Health D system is feasible for the screening and monitoring of NCDs in remote areas. The assessment of the VHVs competency to use the Health D system showed a significant improvement after training (p=0.0098). In the three visits (0, 2, 4 months), the prevalences of hypertension among participants were 32%, 29%, and 34%, respectively. The prevalences of overweight were 66%, 61%, and 60%, and the prevalences of abdominal obesity were 55%, 58%, and 56%, respectively. In the initial diabetes screening visit, the distributions of participants across normal to high-risk categories were 27%, 28%, 24%, and 21%, respectively. In the second visit, the proportion of participants in the normal group increased to 37%. However, the proportions in the normal and low-risk groups decreased in the third visit, while the proportions in other groups increased. For CVD screening, most participants were in the normal group, with 97%, 96%, and 94% in the three visits, respectively. Similarly, for COPD screening, 91%, 94%, and 92% were in the normal group. Additionally, a very weak negative correlation was found between the COPD Assessment Test (CAT) score and the distance covered in the 6-minute walk test (6MWT) for COPD screening (r=-0.1111, p=0.037). When analyzing the combined risk of all three diseases, the proportions of participants in the normal, low-, moderate-, and high-risk groups in the first visit were 21%, 31%, 27%, and 21%, respectively. In the second visit, the proportion in the normal group increased to 35%. In the last visit, the proportions of participants in the normal and low-risk groups were 20%, while the proportions in the moderate- and high-risk groups increased to 36% and 24%, respectively. Moreover, a survey of the VHVs and participants' satisfaction with the Health D system showed that all VHVs were satisfied with the training, and 92% were satisfied with using the Health D system. Additionally, at least 97% of participants expressed satisfaction with all aspects of the Health D system. In conclusion, the Health D system can be effectively operated by VHVs for screening and monitoring, which helps to raise awareness and promote the prevention of NCDs. Furthermore, it can be adapted for other screenings as needed to reduce disparities in healthcare access.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleFeasibility assessment of telehealth for non-communicable diseases screening by village health volunteers in Doi Lo District, Chiang Mai Province, Thailanden_US
dc.title.alternativeการประเมินความเป็นไปได้ของการใช้เทเลเฮลท์เพื่อตรวจคัดกรองโรคไม่ติดต่อโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshChronic diseases-
thailis.controlvocab.lcshTelecommunication in medicine-
thailis.controlvocab.lcshMedical telematics-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นภาระทางสุขภาพสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามกลุ่มประชากรบางกลุ่มที่อาศัยในเขตชนบทหรือแถบชานเมืองในประเทศไทยมักได้รับการเข้าถึงการบริการสุขภาพจากส่วนกลางไม่ทั่วถึง เนื่องจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์ ดังนั้นการให้บริการการแพทย์ทางไกลหรือ เทเลเฮลท์ คืออีกหนึ่งทางออกสำคัญที่ทำให้ประชากรเหล่านั้น สามารถเข้าถึงการบริการสุขภาพได้มากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจกรองและการตรวจติดตามโรคไม่ติดต่อเรื้อรังผ่านเทคโนโลยีการแพทย์และการให้คำปรึกษาทางไกล ทั้งนี้ในการตรวจคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพประจำสถานพยาบาล ส่งผลให้เกิดการกระจุกตัวของผู้ป่วยและเกิดความแออัดในสถานพยาบาล ดังนั้นกระจายการบริการตรวจคัดกรองและติดตามโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไปยังอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่อาศัยประจำในเขตพื้นที่ห่างไกลนั้นๆ จึงน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการเข้าถึงการบริการสุขภาพของประชากรเหล่านี้ได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของระบบ Health D ซึ่งเป็นบริการสุขภาพทางไกลที่ดำเนินการโดย อสม. สำหรับการตรวจคัดกรองและติดตามโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย โดย อสม.จะได้รับการฝึกอบรมให้ใช้ระบบ Health D ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจคัดกรองแบบพกพาและชุดประมวลผล T-logic สำหรับการจัดกลุ่มความเสี่ยง โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 120 คนที่มีสุขภาพดี เข้ารับการตรวจกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมด 3 ครั้ง 3 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและจัดกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการตามระดับความเสี่ยง เพื่อเข้ารับบริการให้คำปรึกษาทางไกลตามประเภทของกลุ่มเสี่ยงนั้นๆ จากผลการศึกษาพบว่าระบบ Health D สามารถปฏิบัติได้จริง สำหรับการตรวจคัดกรองและติดตามโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ห่างไกล การประเมินความสามารถของ อสม. ในการใช้ระบบ Health D เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังการฝึกอบรม (p=0.0098) ในการตรวจคัดกรองและติดตามทั้ง 3 ครั้ง (เดือนที่ 0, 2, 4) พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 32, 29, และ 34 ตามลำดับ ภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 66, 61, และ 60 ตามลำดับ และภาวะอ้วนลงพุงร้อยละ 55, 58, และ 56 ตามลำดับ สำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานครั้งแรก พบกลุ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวานมีการกระจายเท่า ๆ กันจากกลุ่มปกติไปจนถึงความเสี่ยงสูงร้อยละ 27, 28, 24 และ 21 ตามลำดับ ในการตรวจครั้งที่ 2 พบว่ากลุ่มปกติเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37 อย่างไรก็ตาม กลุ่มปกติและกลุ่มความเสี่ยงต่ำพบลดลงในขณะที่กลุ่มอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในการตรวจครั้งที่ 3 การตรวจคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งสามครั้ง พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มปกติ ร้อยละ 97, 96, และ 94 ตามลำดับ เช่นเดียวกับการตรวจกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบกลุ่มปกติ ร้อยละ 91, 94, และ 92 ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อหาความสัมพันธ์แบบทดสอบภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง (CAT score) และระยะทางจากการเดิน 6 นาที (6MWT) สำหรับการคัดกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบความสัมพันธ์เชิงลบแบบอ่อน (r=-0.1111, p=0.037) เมื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของทั้ง 3 โรครวมกันสัดส่วนของกลุ่มความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรวม ในการตรวจครั้งแรก โดยเรียงจากกลุ่มปกติไปจนถึงกลุ่มเสี่ยงสูง พบร้อยละ 21, 31, 27, และ 21 ตามลำดับ สัดส่วนของกลุ่มปกติเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35 ในการตรวจครั้งที่สอง และในการตรวจครั้งสุดท้าย พบสัดส่วนของกลุ่มปกติและกลุ่มความเสี่ยงต่ำอยู่ที่ร้อยละ 20 ในขณะที่กลุ่มความเสี่ยงปานกลางและสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 36 และ 24 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังทำการสำรวจความพึงพอใจต่อระบบ Health D ของ อสม. และผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า อสม. ทุกคนพอใจกับการฝึกอบรมระบบ Health D และร้อยละ 92 ของ อสม. พึงพอใจในการนำระบบ Health D ไปใช้ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอย่างน้อยร้อยละ 97 แสดงความพึงพอใจในทุกด้านของระบบ Health D จึงสรุปได้ว่าระบบ Health D สามารถดำเนินการโดย อสม. สามารถใช้ตรวจติดตามและคัดกรอง ช่วยกระตุ้นและเพิ่มความตระหนักในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นอกจากนี้ยังสามารถนำปรับใช้สำหรับการคัดกรองอื่น ๆ ตามที่จำเป็นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพได้อีกด้วยen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651135902 SUJITTRA KAEWKART.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.