Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80093
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธัญณ์ณภัทร์ (วิวัฒน์วงศ์วนา) รักษ์โมลาจา-
dc.contributor.advisorปีดิเทพ อยู่ยืนยง-
dc.contributor.authorไอรินทร์ อยู่ทองen_US
dc.date.accessioned2024-10-11T11:44:31Z-
dc.date.available2024-10-11T11:44:31Z-
dc.date.issued2567-08-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80093-
dc.description.abstractThe purpose of this study was to study factors affecting study exchange abroad. among Thai undergraduate students and to know how to deal with challenges/problems and social and cultural adjustment of Thai exchange students abroad. This study is qualitative research using primary data collection from in-depth interviews. Participants from Khon Kaen University students were divided into 2 groups: 1) 5 were those who would like to study exchange abroad and 2) 5 were who experience study exchange abroad. The results of the study found that 1) factors affecting studying abroad among Thai undergraduate students depends on external factors consisting of supporting factors, including financial resources, coordination of exchange and credit transfer. The obstacle factors include financial resources, access to application information and consideration of student selection. 2) In addition, it depends on internal factors, including supporting factors such as the family's financial status and language and cultural readiness. The obstacle factors include the family's financial status, language study costs for preparation and reserve money to pay initial expenses. Challenges/ Problems that Thai exchange students face while living abroad found in 7 areas: 1) environment 2) population 3) cross-cultural communication 4) civil society 5) obligations beyond the collective agreement 6) costs other than expected and 7) health insurance system. In terms of the social and cultural adjustment of Thai exchange students abroad are four approaches to: 1) preparation before traveling abroad 2) socializing to interact with friends from different cultures 3) understanding the social and cultural context and 4) changing behavior to be consistent with the ways of people in society.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาen_US
dc.subjectนักศึกษาแลกเปลี่ยนen_US
dc.subjectการปรับตัวen_US
dc.subjectปัจจัยen_US
dc.subjectความท้าทายen_US
dc.titleการปรับตัวของนักศึกษาปริญญาตรีที่ไปร่วมโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นen_US
dc.title.alternativeAdaption of undergraduate students participating in exchange student program: a case study of Khon Kaen Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยขอนแก่น-
thailis.controlvocab.thashการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา-
thailis.controlvocab.thashโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา-
thailis.controlvocab.thashการศึกษานานาชาติ-
thailis.controlvocab.thashการปรับตัว (จิตวิทยา)-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นอุดมศึกษา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ในนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี และเพื่อทราบถึงการจัดการกับความท้าทาย/ปัญหา และการปรับตัวของนักศึกษาแลกเปลี่ยนไทยในต่างประเทศ ด้านการปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมวิจัยแบบเชิงลึก ผู้เข้าร่วมวิจัยที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าสำหรับการวิจัยครั้งนี้ เป็นการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีความต้องการไปศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ จำนวน 5 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้ไปศึกษาแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ในนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี พบว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ด้านทุนทรัพย์ การประสานงานการไปแลกเปลี่ยน และการเทียบโอนหน่วยกิต และปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ ด้านทุนทรัพย์ การเข้าถึงข้อมูลการสมัคร และการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา ทั้งยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ สถานะทางการเงินของครอบครัว และความพร้อมทางภาษาและวัฒนธรรม และปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ สถานะทางการเงินของครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการเตรียมความพร้อมด้านภาษา และการสำรองเงินจ่ายเบื้องต้น ความท้าทาย/ปัญหา ที่นักศึกษาแลกเปลี่ยนไทยต้องเผชิญขณะอยู่ต่างประเทศ พบว่า เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยต้องไปใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศในฐานะนักศึกษาแลกเปลี่ยนไทย ผู้เข้าร่วมวิจัยต้องเผชิญกับความท้าทายหรือปัญหา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสภาพแวดล้อม 2) ด้านประชากร 3) ด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 4) ด้านวิถีประชา 5) ภาระหน้าที่ที่นอกเหนือจากข้อตกลงร่วม 6) ค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้ และ 7) ด้านระบบประกันสุขภาพ ในส่วนของการปรับตัวของนักศึกษาแลกเปลี่ยนไทยในต่างประเทศ ด้านการปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยที่ไปศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ มีแนวทางในการปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมอยู่ 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ 2) การเข้าสังคมเพื่อปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนต่างวัฒนธรรม 3) การทำความเข้าใจกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม และ 4) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับวิถีของคนในสังคมen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640432014 ไอรินทร์ อยู่ทอง .pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.