Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80084
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorก้องภู นิมานันท์-
dc.contributor.authorภาลิตา ต.เจริญen_US
dc.date.accessioned2024-10-09T10:49:16Z-
dc.date.available2024-10-09T10:49:16Z-
dc.date.issued2567-08-16-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80084-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study is to improve the testing procedures to align with the resource requirements (Aspect 6) and process requirements (Aspect 7) of ISO/IEC 17025:2017 standards in the chemical analysis of protein in food at the Central Laboratory of Northern Science Park, Chiang Mai Province. This study focuses on implementing the ISO/IEC 17025:2017 standard requirements and the Six Sigma methodology. Prioritized and identified root causes using Pareto charts and fishbone diagrams as well as value analysis and waste identification, and using scientific measurement tools to improve testing methods. The results were compared before and after the scientific method improvements using the HORRAT ratio as a statistical criterion for method validation. Quality control documentation is aligned with the standard using check sheets. The details of the improvements are as follows Before improving, the compliance with Aspects 6 and 7 of the requirements was 61% and 35%, respectively. The efficiency of the devices for both digestion and nitrogen loss showed recovery rates of 27.02 ± 2.06% and 2.64%, respectively. The efficiency of distillation and titration was 13.21%, against a standard range of 98%-102%. Additionally, method validation using reference material showed a value of 3.11 ± 0.15 grams, compared to the standard of 10.91 ± 0.16 grams, with a HORRAT ratio of 5.33, which should be less than 2. None of these values met the standard criteria. Furthermore, the digestion step unnecessarily took 240 minutes, with an additional 60 minutes for sample cooling. After improving, the compliance with Aspect 6 and 7 increased to 96% and 95%, respectively. The efficiency of tools for both digestion and nitrogen loss showed recovery rates improved to 99.96 ± 0.66% and 101.94 ± 0.33%, respectively. The efficiency of distillation and titration increased to 101.69 ± 0.22%. Method validation using reference material showed an improved value of 11.01 ± 0.086 grams, and the HORRAT ratio was 0.77, meeting all standard criteria. Additionally, the process efficiency was improved, reducing the digestion step to 60 minutes and the sample cooling time to 15 minutes, fully complying with ISO/IEC 17025:2017 standard requirements.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectISO/IEC 17025:2017en_US
dc.titleการปรับปรุงวิธีการทดสอบเพื่อให้ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 ของห้องปฏิบัติการกลางอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeImprovement of testing for ISO/IEC 17025:2017 accreditation of Northern Science Park Laboratory, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมคุณภาพ -- มาตรฐาน-
thailis.controlvocab.thashห้องปฏิบัติการ -- มาตรฐาน-
thailis.controlvocab.thashห้องปฏิบัติการ -- การรับรองคุณภาพ-
thailis.controlvocab.thashห้องปฏิบัติการ -- การทดสอบ-
thailis.controlvocab.thashห้องปฏิบัติการเคมี -- การทดสอบ-
thailis.controlvocab.thashอุทยานวิทยาศาสตร์ -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงวิธีการดำเนินการทดสอบเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านทรัพยากร (ด้านที่ 6) และด้านกระบวนการ (ด้านที่ 7) ของมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ในหัวข้อการวิเคราะห์ด้านเคมีของโปรตีนในอาหารของห้องปฏิบัติการกลางอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการนำข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 และแนวคิดซิกส์ ซิกม่า (Six Sigma) เข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการจัดลำดับและหาสาเหตุของปัญหา ได้แก่ แผนภูมิพาเรโต แผนภูมิก้างปลา และยังมีการระบุคุณค่าของงาน การระบุความสูญเสีย รวมถึงการใช้เครื่องมือวัดผลเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อปรับปรุงวิธีการทดสอบ และเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการปรับปรุงวิธีการทดสอบเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้อัตราส่วน HORRAT เป็นเกณฑ์ทางสถิติสำหรับการทดสอบความใช้ได้ของวิธี (Method Validation) และจัดทำเอกสารควบคุมคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานโดยใช้แผ่นตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดการปรับปรุง ดังนี้ ก่อนการปรับปรุงวิธีการทดสอบด้านเคมีของโปรตีนในอาหาร พบว่าความสอดคล้องในด้านที่ 6 และ 7 ของข้อกำหนดคือ 61% และ 35% ตามลำดับ ประสิทธิภาพของเครื่องมือทั้งการย่อยและการสูญเสียไนโตรเจน มีค่าร้อยละการกลับคืนมีค่า 27.02 ± 2.06% และ 2.64% ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพการกลั่นและการไทเทรตมีค่า 13.21% จากเกณฑ์มาตรฐาน 98% – 102% นอกจากนี้ได้มีการทดสอบความใช้ได้ของวิธีโดยใช้วัสดุอ้างอิง (Reference Material) มีค่า 3.11 ± 0.15 กรัม จากเกณฑ์มาตรฐาน 10.91 ± 0.16 กรัม และมีอัตราส่วน HORRAT คือ 5.33 จากเกณฑ์มาตรฐาน ต้องน้อยกว่า 2 ซึ่งยังคงไม่มีค่าใดผ่านเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ยังใช้เวลานานในการทดสอบในขั้นตอนการย่อยตัวอย่างอยู่ที่ 240 นาทีและรอตัวอย่างให้เย็นเป็นเวลา 60 นาที ซึ่งใช้เวลานานเกินควร ภายหลังการปรับปรุงวิธีการทดสอบพบว่า ในภาพรวมมีความสอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานในด้านที่ 6 และ 7 เพิ่มขึ้นเป็น 96% และ 95% ตามลำดับ โดยประสิทธิภาพของเครื่องมือทั้งการย่อยและการสูญเสียไนโตรเจนมีค่าร้อยละการกลับคืนเพิ่มขึ้นเป็น 99.96 ± 0.66% และ 101.94 ± 0.33% ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพการกลั่นและการไทเทรตเพิ่มขึ้นเป็น 101.69 ± 0.22% นอกจากนี้ได้มีการทดสอบความใช้ได้ของวิธีโดยใช้วัสดุอ้างอิง มีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 11.01 ± 0.086 กรัม และมีอัตราส่วน HORRAT คือ 0.77 ซึ่งผลการทดสอบข้างต้นได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด นอกจากนี้ยังทำให้ขั้นตอนการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการปรับปรุงการใช้เวลาในการทดสอบ ในขั้นตอนการย่อยตัวอย่างลดลงเหลือ 60 นาทีและเวลาในการรอตัวอย่างให้เย็นลดลงเหลือ 15 นาที และสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621532118-ภาลิตา ต.เจริญ.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.