Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80001
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐพล แจ้งอักษร | - |
dc.contributor.author | หลาว, เหวินเหวิน | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-08-28T01:17:19Z | - |
dc.date.available | 2024-08-28T01:17:19Z | - |
dc.date.issued | 2024-06-28 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80001 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research are 1) to develop indicators of the core competencies of higher vocational education students in Thailand and China 2) to analyze the Invariance in the core competencies of higher vocational education students between Thailand and China 3) to develop guidelines for promoting the core competencies of higher vocational students between Thailand and China. The researcher conducted the research in 3 parts. Part 1: Literature review and related research were conducted to obtain components and indicators. Then, an interview form was created to interview 20 experts. The data obtained from the experts was analyzed qualitatively through content analysis. Part 2: A questionnaire was created to collect data. The validity was determined by IOC values (0.60 to 1.00) discrimination power (0.769 to 0.937) reliability for 9 aspects (between 0.968 - 0.987) and overall reliability (0.997) Data was then collected from 500 Thai and 500 Chinese vocational students. The data was analyzed using descriptive statistics, second-order confirmatory factor analysis (2nd-order CFA) using Mplus 7.4 program and testing of model invariance and parameter invariance in the core competency indicator model for higher vocational students between Thailand and China using R program. Part3: The results from steps 1 and 2 were used to organize a group seminar to find ways to promote competencies of higher vocational students between Thailand and China. The research results can be summarized according to the objectives as follows, there are 9 components and 28 indicators of core competencies for higher vocational students in Thailand and China. The components include communication, digital technology literacy, problem-solving, self-development, teamwork, innovation creation, learning new things, morality and ethics, and global mindset. The indicators are distributed across these components. The validity check of the core competency measurement model for Thai higher vocational student showed good fit indices: x^2= 280.992, df = 244, p-value = 0.0519, CFI = 0.998, TLI = 0.997, RMSEA = 0.017, SRMR = 0.020. For the Chinese model: x^2= 233.807, df = 201, p-value = 0.0562, CFI = 0.999, TLI = 0.997, RMSEA = 0.018, SRMR = 0.017, also indicating good fit. The analysis of multi-group structural equation model invariance for core competency indicators between Thai and Chinese students found that the model form varied between the two countries. The factor loadings of core competencies differed between Thai and Chinese vocational students. Guidelines for developing core competencies of vocational students are as follows, Vocational education management policy 1) Incorporate core competency development into vocational education personnel production standards 2) Create an atmosphere conducive to effective core competency development. For colleges 1) Adjust personnel production goals based on annual employment quality reports and industry needs 2)Fully utilize student activity platforms and promote international exchange programs 3)Explore and develop methods for assessing core competencies. For teachers 1) Reform teaching methods, use diverse teaching tools and mixed methods 2)Improve teachers' own competency structure. For internship establishments 1)Strengthen cooperation between educational institutions and enterprises to provide internship opportunities for vocational students. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนสมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน | en_US |
dc.title.alternative | Analysis of invariance of the core competency of vocational education students between Thailand and China | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | อาชีวศึกษา -- จีน | - |
thailis.controlvocab.thash | อาชีวศึกษา -- ไทย | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของประเทศไทยและประเทศจีน 2) เพื่อวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนสมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน 3) พัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจนได้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ จากนั้นสร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒจำนวน 20 ท่าน และนำข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล โดยความถูกต้องจากค่า IOC (0.60 ถึง 1.00) ค่าอำนาจจำแนก (0.769 ถึง 0.937) ค่าความเชื่อมั่นรายด้านทั้ง 9 ด้าน (ระหว่าง 0.968 - 0.987) และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (0 .997) จากนั้นทำการเก็บข้อมูลนักศึกษาอาชีวศึกษาไทยและจีน จำนวนประเทศละ 500 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (2nd-order CFA) ด้วยโปรแกรม Mplus 7.4 การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบและค่าพารามิเตอร์ในโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนด้วยโปรแกรม R ขั้นตอนที่ 3 นำผลสรุปในขั้นตอนที่ 1 และ 2 มาจัดสัมมนากลุ่มเพื่อหาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระหว่างประเทศไทยกับจีน ผลการวิจัยสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ (ปวส.) ของประเทศไทยและประเทศจีน จำนวน 9 องค์ประกอบ ประกอบด้วยการสื่อสาร เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล การแก้ปัญหา การพัฒนาตัวเอง การทำงานเป็นทีม การสร้างสรรค์นวัตกรรม การเรียนรู้สิ่งใหม่ คุณธรรม จริยธรรม ความคิดอย่างสากล ตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวสึกษาระดับ (ปวส.) ของประเทศไทยและประเทศจีน จำนวน 28 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านการสื่อสารจำนวน 5 ตัว ด้านเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวน 3 ตัว ด้านการแก้ปัญหาจำนวน 3 ตัว ด้านการพัฒนาตัวเองจำนวน 2 ตัว ด้านการทำงานเป็นทีมจำนวน 4 ตัว ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมจำนวน 2 ตัว ด้านการเรียนรู้สิ่งใหม่จำนวน 3 ตัว ด้านคุณธรรม จริยธรรมจำนวน 3 ตัว ความคิดอย่างสากลจำนวน 3 ตัว 2) ผลการตรวจสอบความตรงโมเดลการวัดสมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ (ปวส.)ของประเทศไทย โดยใช้ค่าดัชนีในการพิจารณาความสอดคล้องกลมกลืน x^2= 280.992, df = 244, p-value = 0.0519, CFI = 0.998, TLI = 0.997, RMSER = 0.017, SRMR = 0.020 อยู่ในระดับดี โมเดลการวัดของประเทศจีน x^2= 233.807, df = 201, p-value = 0.0562, CFI = 0.999, TLI = 0.997, RMSER = 0.018, SRMR = 0.017 อยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุของตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ (ปวส.) ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนพบว่า รูปแบบของโมเดลมีความแปรเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบสมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ (ปวส.)ของประเทศไทยกับจีนมีความแตกต่างกัน 3) แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะหลักของนักศึกษาระดับ (ปวส.) ได้แก่ ด้านนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 1) การบรรจุการพัฒนาสมรรถนะหลักเข้าสู่มาตรฐานการผลิตบุคลากรในการศึกษาระดับอาชีวศึกษา โดยกำหนดให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาสมรรถนะหลัก 2) การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านวิทยาลัย 1) ปรับปรุงเป้าหมายการผลิตบุคลากรโดยพยากรณ์ทิศทางการพัฒนาวิชาชีพตามรายงานคุณภาพการจ้างงานประจำปีของผู้สำเร็จการศึกษาและความต้องการที่แท้จริงของอุตสาหกรรม 2) การจัดการนักศึกษาควรใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มกิจกรรมนักศึกษาอย่างเต็มที่ โดยจัดกิจกรรมที่มีลักษณะเฉพาะภายในวิทยาลัย และส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมชมรม นอกจากนี้ ควรจัดโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนมุมมองระดับนานาชาติ 3) สำรวจและพัฒนาวิธีการประเมินสมรรถนะหลักของนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ (ปวส.) ด้านครูผู้สอน 1) ปฏิรูปวิธีการสอน ใช้เครื่องมือการสอนที่หลากหลายและผสมผสานวิธีการสอนต่างๆ ปรับปรุงโครงสร้างความสามารถของครูเอง ด้านสถานประกอบการฝึกงาน 1) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้โอกาสในการฝึกงานแก่นักศึกษาอาชีวศึกษา | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650231007 WENWENLAO.pdf | 12.44 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.