Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80000
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorCharin Mangkhang-
dc.contributor.advisorPailin Phujeenaphan-
dc.contributor.advisorChaiwat Nantasri-
dc.contributor.authorOnsiripim Borihantanachoten_US
dc.date.accessioned2024-08-28T01:14:17Z-
dc.date.available2024-08-28T01:14:17Z-
dc.date.issued2024-06-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80000-
dc.description.abstractThis study, “Developing Learning Innovation of Digital Open Badge in Social Studies to Enhance Citizenship Characteristics of Secondary School Students,” aims to (1) analyze theories and concepts of citizenship characteristics from the curricula of the United Kingdom, Canada, the United States, Singapore, and Thailand; (2) create a learning platform of digital open badge to improve students’ citizenship characteristics in Social Studies; and (3) evaluate the results of the learning platform. This study employs a mixed-method approach using documents, research papers, and primary and secondary document research, including papers on citizenship characteristics found in the curricula of the five sample countries. The participants in this study included three experts in Character and Citizenship Education, three in digital educational innovation design, 48 involved personnel, and a sample group of 38 Mattayom 4 (Grade 10) students from Sanpaong Wittayakom School who enrolled in S31211 Character and Citizenship Education course in 2023. The instruments utilized for data collection included a needs assessment, in-depth interviews, observation forms, and a Character and Citizenship Education online learning manual and its online platform to improve students’ character traits. The outcomes are as follows: 1. Citizenship Characteristics Evident in the Curricula of the United Kingdom, Canada, the United States, Singapore, and Thailand According to the analysis of the curricula of the five countries using Josephson’s Six Pillars of Character theory, Singapore and the United States encompass all six core values, while Canada illustrates five values, the United Kingdom demonstrates four, and Thailand adheres to three. 2. Results of Digital Open Badge Learning Platform Development 2.1 Needs Assessment Analysis From the analysis, 19 necessary core values were evident in the curricula. It was found that 90.6% of the interviewed personnel identified responsibility as the most essential character trait to be addressed in the learning unit. 2.2 Development of Learning Platform and User Manual The data were collected from needs assessments, the analysis of the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551, and the school Subject Curriculum for Character and Citizenship Education for upper secondary school, which included 40 lecture hours for one credit unit. The Index of Item Objective Congruence (IOC) of the user manual, evaluated by the experts, scored 0.80. To align the results of platform development with the learning objectives of ten desirable characteristics, the digital badge was designed in task assignments at the individual, family, community, and international levels to motivate students to engage with the platform and self-assess their improvement. The experts involved in this study gave an IOC score of 0.80 for the platform and the user manual for the WWW.OPENBADGESVK.COM website. 3. Results of Digital Open Badge Learning Platform Application 3.1 Evaluation of Digital Open Badge Learning Innovation The overall student satisfaction with the Digital Open Badge was high, at an average score of 4.17. 3.2 Results from Observations and Interviews The changes in students’ behaviors aligned with the desirable character traits identified in this study. Evaluations from parents and students indicated notable improvements in responsibility and cooperation. The results suggested that after enrolling in Character and Citizenship Education, students’ character traits have improved significantly: 35.02% at the individual level, 29.39% at the family level, 22,62% at the community level, and 12,97% at the international level.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleDeveloping digital open badge learning innovation in social studies to enhance citizenship characteristics of secondary school studentsen_US
dc.title.alternativeการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshEducational innovations-
thailis.controlvocab.thashEducation, Secondary-
thailis.controlvocab.thashSocial studies -- Study and teaching (Secondary)-
thailis.controlvocab.thashCivics-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะและความเป็นพลเมืองที่ปรากฏในระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ แคนาดาสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรูสังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลการนวัตกรรมการเรียนรูสังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mix Method) โดยผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ด้านเอกสาร งานวิจัย แนวคิดทฤษฎี (Documentary Research) ทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ได้แก่ การจัดการศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ปรากฏในระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้คุณลักษณะความเป็นพลเมืองจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการศึกษาและออกแบบการเรียนรู้แนวดิจิทัล จำนวน 3 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 48 คน และนักเรียนตัวอย่าง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาโดยการเจาะจง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ส 31211 การสร้างคุณลักษณะนิสัยและค่านิยม จำนวน 38 คน ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตพฤติกรรม คู่มือการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา แพลตฟอร์มออนไลน์ การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา และแบบประเมินการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัย ดังนี้ 1. แนวคิดการสร้างพลเมืองในมิติของการเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ปรากฏในระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และไทย จากการวิจัยเอกสารหลักสูตรการศึกษาการสร้างความเป็นพลเมืองของประเทศตัวอย่าง 5 ประเทศ ได้แก่ ผลการสังเคราะห์ค่านิยมหลัก (Core Value) ของ 5 ประเทศโดยวิเคราะห์กับแนวคิดทฤษฎี SIX Pillars ของ Josephson จำนวน 6 ค่านิยม ได้แก่ ประเทศ สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 ค่านิยม ได้แก่ ประเทศแคนาดา จำนวน 4 ค่านิยม ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และจำนวน 3 ค่านิยม ได้แก่ ประเทศไทย 2. ผลการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรูสังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา 2.1 ผลการศึกษาความต้องการจำเป็น (Need Assessment) หลังจากที่ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยสังเคราะห์คุณลักษณะที่จำเป็นหรือค่านิยม(Core Value)จำนวนทั้งสิ้น 19 ข้อ ที่ปรากฎในหลักสูตรของ 5 ประทศ การลำดับคุณลักษณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะสูงสุด คือ ความรับผิดชอบ คิดเป็นร้อยละ 90.6 2.2 ผลการพัฒนาคู่มือและแพลตฟอร์มแนวทางการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยผู้วิจัยได้นำผลการเก็บข้อมูลความต้องการจำเป็น (Need Assessment) ควบคู่กับการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551และหลักสูตรสถานศึกษา ในรูปแบบของหลักสูตรระดับรายวิชาเพิ่มเติม(The Subject Curriculum) จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่ วิชาการสร้างคุณลักษณะนิสัยและค่านิยม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามโครงสร้างหลักสูตรจำนวน 1 หน่วยกิต 40 ชั่วโมง โดยได้นำคู่มือให้ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.80 ผลการพัฒนาแพลตฟอร์ม ให้สอดคล้องกับความต้องการจะเป็นในด้านคุณลักษณะที่จำเป็น และออกแบบการจัดการเรียนรู้ จึงได้นำคุณลักษณะทั้ง 10 ข้อมาออกแบบ ตัว Digital Badge ให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ในลักษณะของ Tasks สำหรับจะประกอบด้วย 4 ระดับ ได้แก่ ระดับตนเอง ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และ ระดับโลก เพื่อให้เกิดแรงจูงใจรวมถึงใช้ในการวัดและประเมินผล ในส่วนของแพลตฟอร์มและคู่มือการใช้งานเว็บไซต์ WWW.OPENBADGESVK.COM ได้นำคู่มือการใช้งานและตัวอย่างแพลตฟอร์มให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ประเมินค่าความสอดคล้อง(IOC)เท่ากับ 0.80 3. ผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรูสังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษา 3.1 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาภาพรวมค่าเฉลี่ย 4.17อยู่ในระดับมาก 3.2 ผลการสังเกตและสัมภาษณ์ตัวอย่าง พบว่า ผลการเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมสอดคล้องกับการศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมินตนเองของผู้เรียน และผู้ปกครองที่มีการประเมินตรงกัน โดยคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของผู้เรียนที่มีการที่เปลี่ยนแปลงสูงสุดคือความรับผิดชอบ และความร่วมมือ ผลการวิจัยระดับการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบเปิดแบดจ์ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาสูงสุดที่มีการส่งในระบบหลังการจัดการเรียนรู้สูงสุด ได้แก่ระดับตนเองคิดเป็นร้อยละ 35.02 รองลงมา ระดับครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 29.39 และระดับชุมชน คิดเป็นร้อยละ 22.62 และระดับสากล คิดเป็นร้อยละ 12.97en_US
Appears in Collections:EDU: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.