Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79911
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorก้องภู นิมานันท์-
dc.contributor.authorธนิสร ตุ่นแก้วen_US
dc.date.accessioned2024-07-28T09:23:59Z-
dc.date.available2024-07-28T09:23:59Z-
dc.date.issued2567-05-29-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79911-
dc.description.abstractThis independent research has the objective is to study the costs and returns of installing a rooftop Solar Rooftop in Mae Hong Son Provincial Energy Office by analyzing data on average electrical energy use (kWh per year) and maximum electrical energy use (kWh per year) from the data on historical electricity use trends. To estimate the size of the electricity production capacity for installing a solar Rooftop system. Then design a solar Rooftop system by determining the size of the electricity production capacity and amount of electricity expected to be produced per year and selecting the appropriate solar Rooftop system. Then analyze basic information and the installation location of the solar Rooftop system by finding the right size and location for installing a solar Rooftop system and analyze data on electricity consumption that is suitable for choosing to install a solar Rooftop system for used in analyzing financial data by forecasting electricity demand from quantitative forecasts by using time series forecasting techniques with 2 methods 1) Simple Moving Average Method and 2) Decomposition Method and The Causal Forecasting Methods that is Simple Linear Regression Analysis to find the relationship between the demand for electricity consumption and other environmental factors. And then measure the forecast accuracy (Forecast Accuracy) using 3 methods: finding the average of absolute deviation (Mean Absolute Deviation or MAD), finding the mean square error (Mean Square Error or MSE) and finding the average percentage of absolute error (Mean Absolute Percentage Error or MAPE) by considering the value obtained to be the least value. In order for the forecast to be accurate. Then analyze financial data, including net present value (NPV) Payback period (PB) and Internal rate of return (IRR) and sensitivity analysis to assess feasibility value and return on investment of the project. The results of the study found that the size of the Solar Rooftop System covers electricity use the average power are 5 and 10 kilowatts maximum. The forecast value of electricity demand for a period of 25 years using the Simple Moving Average method is 165,014.08 units and has a total value of 843,799.52 baht, which is close to the size of a comprehensive Solar Rooftop System. Electricity use 5 kilowatts maximum Therefore, in analyzing financial data of the Solar Rooftop System that covers the average electricity use. Therefore, the analysis was chosen at a maximum size of 5 kilowatts maximum. The investment costs of the project are equal to 293,500 baht, in years 6 to 25, there is an annual maintenance fee for the solar energy production system of 15,000 baht and the discount rate is equal to 6.90% per year. The net present value (NPV) is equal to 128,217.74 baht. The payback period (PB) is equal to 8.97 years and the internal rate of return (IRR) is equal to 12.27% and from the sensitivity analysis of the project, all 3 approaches found that Approach, when the cost of installation is constant and the electricity cost increased by 10% with Net Present Value (NPV) of 181,861.26-baht, Payback Period (PB) of 7.89 years and Internal Rate of Return (IRR) of 14.31%. Approach 2: When installation costs increase 10% and fixed electricity bill has Net Present Value (NPV) of 98,867.34-baht, Payback Period (PB) of 9.86 years and Internal Rate of Return (IRR) of 10.70%. Approach 3: When installation costs increase by 10% and electricity costs increase 10% has Net Present Value (NPV) of 152,511.26 baht. Payback Period (PB) is 8.68 years, and the Internal Rate of Return (IRR) is 12.60%. The project is worth investing in 3 approaches and from the results of the said study, it was found that the investment project installs Solar Rooftop System with a maximum size of 5 kilowatts. It is worth the investment.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectSolar Rooftopen_US
dc.subjectCost and Returnen_US
dc.titleต้นทุนและผลตอบแทนในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคาของสำนักงานพลังงานจังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeCost and return on installing solar rooftop in Mae Hong Son Provincial Energy Officeen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashสำนักงานพลังงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashไฟฟ้า -- ต้นทุน-
thailis.controlvocab.thashไฟฟ้า -- อัตราผลตอบแทน-
thailis.controlvocab.thashการผลิตพลังงานไฟฟ้า-
thailis.controlvocab.thashไฟฟ้าแสงอาทิตย์-
thailis.controlvocab.thashพลังงานแสงอาทิตย์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคาของสำนักงานพลังงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยเฉลี่ย (kWhต่อปี) และการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด (kWhต่อปี) จากข้อมูลแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในอดีต เพื่อคาดคะเนขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าสำหรับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทำการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการหาขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้าที่คาดว่าจะผลิตได้ต่อปี และการเลือกระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสถานที่ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยการหาขนาดพื้นที่และสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อการเลือกติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการเงิน โดยทำการพยากรณ์คาดคะเนปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตจากการพยากรณ์เชิงปริมาณด้วยเทคนิคการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา ทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่ วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) และวิธีแยกส่วนประกอบ (Decomposition Method) และเทคนิคการพยากรณ์แบบมูลเหตุ (Causal Forecasting Methods) ทั้งหมด 1 วิธี ได้แก่ วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการปริมาณการใช้ไฟฟ้ากับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ จากนั้นทำการวัดค่าความแม่นยำในการพยากรณ์ (Forecast Accuracy) ด้วยแนวทาง 3 แนวทาง ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยของความเบี่ยงเบนสมบูรณ์ (Mean Absolute Deviation หรือ MAD) การหาค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (Mean Square Error หรือ MSE) และการหาค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error หรือ MAPE) โดยพิจารณาค่าที่ได้ให้มีค่าน้อยที่สุด เพื่อให้การพยากรณ์มีความเที่ยงตรง จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงิน ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ระยะเวลาคืนทุน อัตราผลตอบแทนภายใน และการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ความคุ้มค่าและผลตอบแทนในการลงทุนของโครงการ ผลการศึกษา พบว่าขนาดของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้า โดยเฉลี่ยของสำนักงาน คือ 5 และ10 กิโลวัตต์สูงสุด โดยค่าการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าระยะเวลา 25 ปี ด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) เท่ากับ 165,014.08 หน่วย และมีมูลค่ารวมทั้งหมด เท่ากับ 843,799.52 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์สูงสุด ดังนั้นในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงิน ของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยของสำนักงาน จึงเลือกทำการวิเคราะห์ที่ขนาด 5 กิโลวัตต์สูงสุด โดยมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนของโครงการเท่ากับ 293,500 บาท ในปีที่ 6 ถึงปีที่ 25 มีค่าบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ต่อปีราคา 15,000 บาทและอัตราส่วนลด (Discount Rate) เท่ากับ 6.90% ต่อปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 128,217.74 บาท ระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 8.97 ปี และมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 12.27% และจากการวิเคราะห์ความไวของโครงการ ทั้ง 3 แนวทาง พบว่า แนวทางที่ 1 เมื่อต้นทุนในการติดตั้งคงที่ และค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 10% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 181,861.26 บาท ระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 7.89 ปี และมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 14.31% แนวทางที่ 2 เมื่อต้นทุนในการติดตั้งเพิ่มขึ้น 10% และค่าไฟฟ้าคงที่ มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 98,867.34บาท ระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 9.86 ปี และมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 10.70% แนวทางที่ 3 เมื่อต้นทุนในการติดตั้งเพิ่มขึ้น 10% และค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 10% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 152,511.26 บาท ระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 8.68 ปี และมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 12.60% โดยโครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุนทั้ง 3 แนวทาง และจากผลการศึกษาดังกล่าว พบว่า โครงการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 5 กิโลวัตต์สูงสุดมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621532123-THANISORN TOONKAEW.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.