Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79890
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทวรรณ กิติกรรณากรณ์-
dc.contributor.authorจุฬาลักษณ์ ทรัพย์ทวีสินen_US
dc.date.accessioned2024-07-28T06:52:20Z-
dc.date.available2024-07-28T06:52:20Z-
dc.date.issued2567-04-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79890-
dc.description.abstractObjective: To compile names and legal standing of drug items sold by pharmacies physically located at Mueang District, Chiang Mai through online application by having the staff of platform provider buy drugs onsite from drugstores and deliver to consumers (buying agent), and to suggest strategies for regulating such drug distribution to comply with the law. Method: This research was a mixed method study. A cross-sectional study was conducted during May 11 to June 6, 2023 to survey names and legal classification of medications sold by pharmacies located at Mueang Chiang Mai District through an online application by having the staff of platform provider act as an onsite buying agent for consumers. Qualitative research aimed to identify strategies for resolving this problem by conducting in-depth interviews with 12 key informants individually including experts in public health policy and law, community pharmacists, and lay people. Three key informants including two practitioners in consumer protection and public health pharmacy and one lawyer of the health region participated in focus group discussion. Results: There were 56 drugstores in Mueang district, Chiangmai selling medications through online application by having the platform provider act as an onsite buyer for consumers. Among 2,575 identified medications, 4 (0.19%), 209 (8.12%), 693 (26.91%) and 1,668 (64.78%) were legally classified as specifically controlled drugs, dangerous drugs, household drugs, and non-specially controlled or dangerous drugs, respectively. Strategies to resolve the problem suggested by the informants included amending the law to be consistent with changes in public’s access to medicine, classifying medicines according to their risk and allowing certain medicines with low risk to be sold through online, requiring history taking and drug dispensing by a pharmacist, establishing a national surveillance system for online drug pharmacies and educating the public on the issue. Conclusion: The majority of medications available from pharmacies physically located at Mueang District, Chiang Mai through on online application with the staff of platform provider acting as an onsite buyer for consumers was non-specially controlled or dangerous drugs. There is a need for amending the regulation for controlling distribution channels of medications and online drug advertising sales and determining appropriate practices for patient safety.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectdrugstoresen_US
dc.subjectonline drugstoresen_US
dc.subjecthaving the other purchase medicinesen_US
dc.subjectdrug selling outside the registered placesen_US
dc.titleการสำรวจสถานการณ์ยาที่มีสำหรับจำหน่ายผ่านช่องทางการฝากซื้อออนไลน์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeA Situation survey of available medicines for purchasing on an online merchant platform in Muang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashร้านขายยา -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashร้านขายยา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
thailis.controlvocab.thashร้านขายยาทางอินเทอร์เน็ต-
thailis.controlvocab.thashการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจรายการและสถานะทางกฎหมายของยาที่ร้านยาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ขายผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์โดยพนักงานของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเป็นผู้ซื้อยาในสถานที่จากร้านยาและส่งให้ผู้บริโภค (หรือผู้รับฝากซื้อ) และหาแนวทางการจัดการขายยาดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย วิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม ถึง 6 มิถุนายน พ.ศ.2566 ทำเพื่อสำรวจรายการและสถานะทางกฎหมายของยาที่มีขายผ่านช่องทางการฝากซื้อออนไลน์ของร้านยาที่ตั้งในอำเภอเมืองเชียงใหม่บนแอปพลิเคชันของบริษัทแห่งหนึ่ง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพทำเพื่อหาแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายเดี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านนโยบายและกฎหมายสาธารณสุข เภสัชกรร้านยา และประชาชน รวมทั้งหมด 12 คน และยังมีการสนทนากลุ่มกับผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุขและนิติกรประจำเขตสุขภาพ รวม 3 คน ผลการวิจัย: ร้านยา 56 แห่งในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่มีช่องทางขายยาผ่านการฝากซื้อออนไลน์ ยาที่พบการขาย 2,575 รายการ แบ่งสถานะทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 เป็นยาควบคุมพิเศษ 4 รายการ (ร้อยละ 0.19) ยาอันตราย 209 รายการ (ร้อยละ 8.12) ยาสามัญประจำบ้าน 693 รายการ (ร้อยละ 26.91) และยาที่ไม่ใช่ยาควบคุมพิเศษหรือยาอันตราย 1,668 รายการ (ร้อยละ 64.78) แนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาที่ผู้ให้ข้อมูลเสนอ ได้แก่ การทบทวนกฎหมายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงช่องทางการเข้าถึงยาของประชาชน การจัดกลุ่มยาตามความเสี่ยงและกำหนดให้ยาบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยสามารถขายผ่านออนไลน์ การกำหนดให้มีการซักประวัติและส่งมอบยาโดยเภสัชกรเท่านั้น การจัดตั้งระบบเฝ้าระวังการขายยาออนไลน์ระดับประเทศ และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้บริโภค สรุป: รายการยาที่ปรากฏบนแอปพลิเคชันการฝากซื้อยาออนไลน์จากร้านยาในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ทั้งนี้จำเป็นต้องการทบทวนกฎหมายที่ควบคุมช่องทางการขายยาและการโฆษณายาทางออนไลน์ และกำหนดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของประชาชนen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.