Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79885
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorMukdawan Sakboon-
dc.contributor.authorLashi Nu Raen_US
dc.date.accessioned2024-07-26T10:55:27Z-
dc.date.available2024-07-26T10:55:27Z-
dc.date.issued2024-06-16-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79885-
dc.description.abstractSugarcane contract farming is widely cultivated in Mai Ja Yang, a Kachin-China border town fully controlled by the ethnic armed group Kachin Independent Organization’s (KIO) 3rd Brigade with its governance structure. As part of China’s opium substitution program, sugarcane contract farming has been the main livelihood for the local people for over three decades. Chinese company investors, local Kachin farmers, and the KIO as the mediator participate in this agro-business. This qualitative study investigated and found the KIO has deployed armed capitalism as political, military, and economic strategies to facilitate cross-border sugarcane contract farming. Through the mechanism of the Sugarcane Committee and taxation, the KIO’s mediator role authorized its rebel governance while promoting Kachin sugarcane farmers’ livelihood. Armed capitalism cultivated in the context of sugarcane contract farming countered the Burmese state’s ceasefire capitalism militarization into the ethnic rebel-controlled areas. The KIO steadily occupies sugarcane-cultivated villages, land, and people through applying land usage system and taxation under its Environmental and Forest Conservation Department, and the positioning of civic services including education, administration, and healthcare in the villages. Different social actors’ interests intersected in Mai Ja Yang, the liminal zone of the Kachin-China border. The interests of the KIO, the Chinese government and companies, and the Burmese state - and their relations have thus shaped and been shaped by the liminality of the border. Meanwhile, information on successful sugarcane growing has been transferred through the cross-border kinship network to local Kachin farmers in Mai Ja Yang facing the decline in the production of other crops including rice, Shamu, and oil seeds, who have since chosen sugarcane contract farming as their main livelihood source. Consequently, sugarcane contract farming brought better changes in the social and economic conditions of the sugarcane growers who gained higher income to support their children’s education with the largest portion. Furthermore, they have obtained skills in managing sugarcane, building household networks and contributing to the social communities. However, sugarcane farming also exposed growers to environmental, social, and health hazards. Sugarcane farming’s massive use of chemical pesticides and fertilizers led to health problems and mysterious illnesses among the local farmers as well as causing land acidification, environmental degradation, and decreased productivity due to infertile soil. This led to local people’s insecure livelihoods. The Sugarcane growers are currently facing a dilemma in growing sugarcane. While they acknowledged that negative impacts outweigh positive socio-economic benefits, no other livelihood opportunity is available. This study contributes to the comprehension of armed capitalism as deployed by the KIO not only as a tool to promote Kachin farmers’ livelihoods, but also to legitimize its political authority over its territory, through the provision of education, and health services to civilians. The KIO’s role as a mediator in sugarcane contract farming further enhances its governance and sovereignty, while also helping reconstruct the Kachin kinship in the liminal, border space. However, the stressor the sugarcane farming created for local farmers necessitates the KIO to negotiate more with Chinese companies, closely cooperate with the health department, and better re-arrange the contract to find sustainable ways of livelihood improvement for Kachin civilians.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleArmed capitalism and livelihood insecurity of Kachin sugarcane contract farmers in the liminal zone of Kachin-China borderen_US
dc.title.alternativeทุนนิยมติดอาวุธและวิถีชีวิตที่ไม่มั่นคงของเกษตรกรปลูกอ้อยชาวคะฉิ่นภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา ในเขตพื้นที่ระหว่างกลางบริเวณชายแดนคะฉิ่น-จีนen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshLand use -- Law and legislation-
thailis.controlvocab.lcshLand use -- Law and regislation-
thailis.controlvocab.lcshEthnic groups -- Burma-
thailis.controlvocab.thashSugarcane -- Burma-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในเมืองไม จา ยัง บริเวณพรมแดนรัฐคะฉิ่น-จีน มีการปลูกอ้อยภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญาอย่างแพร่หลาย บริเวณดังกล่าวนี้ อยู่ในการควบคุมของกองพลน้อยที่ 3 กลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระ (Kachin Independent Organization – KIO) การปลูกอ้อยแบบเกษตรพันธสัญญานี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่น ที่รัฐบาลจีนให้การสนับสนุน และเป็นวิถีการดำรงชีพที่สำคัญของคนท้องถิ่นมากว่า 3 ทศวรรษ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องนอกจากเกษตรกรชาวคะฉิ่นแล้ว ยังประกอบด้วยนักลงทุนชาวจีน และกลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางในธุรกิจเกษตรนี้ งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ทำการศึกษาและค้นพบว่า กลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระ ได้ใช้ทุนนิยมติดอาวุธในฐานะที่เป็นยุทธศาสตร์ทางการเมือง การทหาร และทางเศรษฐกิจในการเอื้ออำนวยเกษตรพันธสัญญาการปลูกอ้อยข้ามพรมแดน โดยอาศัยกลไกคณะกรรมการอ้อย การเก็บภาษี และการบริหารจัดการที่ดิน กลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระได้สร้างอำนาจในการปกครองในฐานะกองกำลังต่อต้านรัฐ พร้อมทั้งส่งเสริมวิถีการดำรงชีพของเกษตรกรชาวคะฉิ่นผู้ปลูกอ้อย ดังนั้น ทุนนิยมติดอาวุธในบริบทของเกษตรพันธสัญญาการปลูกอ้อย จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการต่อต้านการขยายอำนาจของรัฐบาลทหารเมียนมา ผ่านทุนนิยมการหยุดยิง (ceasefire capitalism) เข้าไปในเขตพื้นที่ที่กองกำลังติดอาวุธของกลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระควบคุมอยู่ ซึ่งการปกครองของกลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระ เป็นการควบคุมหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อย ที่ดิน และประชาชน โดยผ่านกลไกการบริหารระบบการใช้ที่ดินและการจัดเก็บภาษีภายใต้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ป่า รวมทั้งการให้บริการต่างๆ เช่น การศึกษา การบริหาร และบริการด้านสาธารณสุข ในเมืองไม จา ยัง ซึ่งเป็นพื้นที่ระหว่างกลางบริเวณพรมแดนคะฉิ่น-จีน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย อาทิ กลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระ รัฐบาลและบริษัทจีน รัฐบาททหารเมียนมา และเกษตรกรท้องถิ่น ซึ่งเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้ผลประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ พื้นที่บริเวณพรมแดนมีส่วนสำคัญในการส่งผลต่อรูปแบบของความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆที่หลากหลายดังกล่าว ขณะเดียวกัน ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จของการปลูกอ้อยแบบเกษตรพันธสัญญา ได้มีการถ่ายทอดผ่านเครือข่ายความสัมพันธ์เครือญาติข้ามพรมแดน ไปสู่เกษตรกรท้องถิ่นชาวคะฉิ่นในเมืองไม จา ยัง ซึ่งประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำของพืชเกษตรอื่นๆ เช่น ข้าว ชามู พืชน้ำมัน ทำให้ตัดสินใจเลือกการปลูกอ้อยแบบเกษตรพันธสัญญาเป็นหลักเพื่อหาเลี้ยงชีพ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทางด้านสภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เช่น มีรายได้สูงขึ้น และนำไปเป็นค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของลูกหลานได้มากขึ้น นอกจากนี้พวกเขายังได้เรียนรู้ทักษะในการบริหารจัดการการปลูกอ้อย สร้างเครือข่ายครัวเรือน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของชุมชนทางสังคม อย่างไรก็ตาม การปลูกอ้อย ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการใช้สารเคมี ปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช ในจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเกิดการเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ ตลอดจนเกิดปัญหาการเสื่อมโทรมของคุณภาพดินและน้ำ มลพิษด้านสิ่งแวดล้อม และผลผลิตที่ลดต่ำลงเพราะดินไม่อุดมสมบูรณ์ ทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในการดำรงชีพของเกษตรกรท้องถิ่น ที่กำลังประสบปัญหาท้าทายในการปลูกอ้อยภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา เพราะแม้ว่าจะตระหนักถึงผลเสียต่างๆที่มีมากกว่าผลดี แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่นในการดำรงชีพ งานศึกษาชิ้นนี้ มีส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทุนนิยมติดอาวุธ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการช่วยส่งเสริมการดำรงชีพของเกษตรกรชาวคะฉิ่น หากแต่ยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจความชอบธรรมในการปกครองทางการเมืองเหนือพื้นที่ในเขตการควบคุมของกลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระที่เป็นกลุ่มต่อต้านรัฐ ผ่านการให้บริการต่างๆทางสังคม เช่น การศึกษาและสาธารณสุขแก่พลเมืองของตน บทบาทของกลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระในการเป็นตัวกลางในระบบเกษตรพันธสัญญาการปลูกอ้อย จึงเป็นตัวช่วยย้ำอำนาจการบริหารปกครองและอธิปไตยของกลุ่ม และในขณะเดียวกันยังเป็นการรื้อสร้างระบบความสัมพันธ์เครือญาติคะฉิ่นขึ้นใหม่ ในเขตพื้นที่ระหว่างกลาง บริเวณชายแดนคะฉิ่น-จีน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เป็นแรงกดดันต่อเกษตรกร อันเป็นผลมาจากการปลูกอ้อยแบบเกษตรพันธสัญญา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข โดยกลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระ ที่ต้องมีการต่อรองเจรจามากขึ้นกับบริษัทจีน และต้องทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสร้างหลักประกันการจัดการเกษตรพันธสัญญา ให้มีความยั่งยืนเพื่อเป็นการยกระดับวิถีการดำรงชีพของพลเมืองชาวคะฉิ่นอย่างแท้จริงen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620435822 Lashi Nu Ra W.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.