Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79881
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Mukdawan Sakboon | - |
dc.contributor.advisor | Chu, Ta-Wei | - |
dc.contributor.author | Khun Maung Song | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-24T18:01:00Z | - |
dc.date.available | 2024-07-24T18:01:00Z | - |
dc.date.issued | 2024-06-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79881 | - |
dc.description.abstract | In Kyu Yone village, Panglong Sub-township, Southern Shan State, Myanmar, various government entities and other actors have conducted land acquisition process for urban expansion. This has resulted in ongoing disputes and challenges for the ethnic Yang villagers. This study investigates the roles of local governments, specifically the General Administration Department and the Department of Agricultural Land Management and Statistics, in the land acquisition process at the township and district levels using the concepts of control grabbing through powers of exclusion. It also explores the consequences for villagers' livelihoods and land tenure insecurity by employing the concepts of livelihood and land tenure security. Data collection employed both qualitative and quantitative methods. The findings reveal that local governments play a crucial role at the grassroots level. District administrators of the General Administration Department hold ultimate authority over land acquisition, while land officers from the Department of Agricultural Land Management and Statistics are more engaged on the ground. These power dynamics, status hierarchies, and institutional arrangements allow for the exploitation of the land acquisition process, disproportionately affecting the Yang people. Multiple layers of government involvement, ambiguous legal frameworks, and the vulnerability of the Yang people further complicate the situation. For over two decades, land insecurity and loss of livelihood have troubled Yang villagers due to top-down land grabs, disrupting traditional systems and creating complex power dynamics between authorities, local elites, and Yang communities. The study finds that local governments collaborate with influential local elites to promote land acquisition against the interests of the ethnic Yang, using legal administrative entities and education institutions. Despite the project suspension under the then National League for Democracy (NLD) government, disputes persist due to ambiguity over official stances. Exclusion tactics—such as regulation, market power, force, and legitimation—are used to control land access and exclude Yang villagers, which were used to reclassify territories, influence land allocation, coerce villagers, and justify dispossession. Transparency, proper consultation, and adherence to legal provisions are lacking, leaving villagers unaware until their lands are already cleared and fenced off. Local governments act as land brokers, prioritizing personal gain over resolving land disputes effectively. Consequently, ethnic Yang lose their primary livelihood, farmland, and crops without compensation, notification, or consent, leading to emotional and financial challenges, including fear, trauma, legal battles, and the inability to reclaim land. Moreover, deceptive external assistance further destroys community trust and undermines efforts to secure land rights. However, Yang villagers have demonstrated resilience and agency in resisting dispossession through various coping strategies, such as reclaiming land, cultivating crops on contested lands, negotiating with new landowners, and seeking external support. They also rent land from relatives and neighboring villages and engage in non-farm activities to sustain their livelihoods. This study highlights the complexities of coexisting customary and statutory land tenure systems. The clash between Yang villagers' customary practices and the government's statutory system creates challenges in determining which system takes precedence, threatening land tenure security. The study contributes to understanding land grabbing by focusing on local power relations and control over land and resources, often overlooked in broader narratives. It underscores the urgent need for policy reforms to address the complexities of coexisting land tenure systems, protect vulnerable communities' rights, and promote good governance. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.subject | Local Governments | en_US |
dc.subject | Land Acquisition | en_US |
dc.subject | Ethnic Yang people | en_US |
dc.subject | Livelihood | en_US |
dc.subject | Land Tenure Security | en_US |
dc.title | The Role of local governments in the land acquisition process in Kyu Yone Village, Shan State, Myanmar | en_US |
dc.title.alternative | บทบาทของรัฐบาลท้องถิ่นในกระบวนการได้มาซึ่งที่ดินในหมู่บ้าน กิวโยน รัฐฉาน ประเทศเมียนมา | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Local government -- Burma | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Land use -- Burma | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Land titles | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Land tenure | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ในหมู่บ้านกิ่วโยน ตำบลปางโหลง ทางตอนใต้ของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา หน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเวนคืนที่ดินเพื่อขยายตัวเมือง ส่งผลให้เกิดข้อพิพาทและความท้าทายต่อชาวบ้านที่เป็นชาติพันธุ์ยาง (Yang) การศึกษานี้ได้ทำการตรวจสอบบทบาทของรัฐบาลท้องถิ่น โดยเฉพาะกรมการปกครองและกรมจัดการที่ดินเกษตรและสถิติ ในกระบวนการเวนคืนที่ดินในระดับตำบลและอำเภอ โดยใช้แนวคิดการยึดครองโดยการควบคุมผ่านอำนาจของการกีดกัน นอกจากนี้ยังสำรวจผลกระทบต่อการดำรงชีพและความไม่มั่นคงในการถือครองที่ดินของชาวบ้านโดยใช้แนวคิดการดำรงชีพ (livelihoods) และความมั่นคงในการถือครองที่ดิน (land tenure security) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ทั้งวิธีการเชิงคุณภาพและปริมาณ ผลการวิจัยพบว่ารัฐบาลท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในระดับพื้นที่ ผู้บริหารระดับอำเภอของกรมการปกครองมีอำนาจสูงสุดในการเวนคืนที่ดิน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ที่ดินจากกรมจัดการที่ดินเกษตรและสถิติมีส่วนร่วมในพื้นที่มากกว่า การศึกษาพบว่า พลวัตทางอำนาจ ลำดับชั้นสถานะ และการจัดการเชิงสถาบันเหล่านี้ เอื้อให้เกิดการแสวงหาประโยชน์จากกระบวนการเวนคืนที่ดิน ส่งผลกระทบหลากหลายต่อชาวบ้านชาติพันธุ์ยาง นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของรัฐบาลหลายระดับ กรอบกฎหมายที่คลุมเครือ และความเปราะบางของชาติพันธุ์ยาง ยิ่งทำให้สถานการณ์ซับซ้อนมากขึ้น เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากความไม่มั่นคงด้านที่ดินและการสูญเสียการดำรงชีพ เนื่องจากการยึดครองที่ดินแบบบนลงล่าง (top-down) ซึ่งทำลายระบบดั้งเดิมและสร้างพลวัตทางอำนาจที่ซับซ้อนระหว่างเจ้าหน้าที่ ชนชั้นนำท้องถิ่น และชุมชนชาติพันธุ์ยาง การศึกษาพบว่ารัฐบาลท้องถิ่นร่วมมือกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเวนคืนที่ดินที่ขัดต่อผลประโยชน์ของชาวบ้านชาติพันธุ์ยาง โดยผ่านช่องทางหน่วยงานบริหารและการศึกษาพบว่า รัฐบาลท้องถิ่นร่วมมือกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเวนคืนที่ดินที่ขัดต่อผลประโยชน์ของชาวบ้านชาติพันธุ์ยาง โดยผ่านช่องทางหน่วยงานบริหารและสถาบันการศึกษา แม้ว่าโครงการจะถูกระงับภายใต้รัฐบาลพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในขณะนั้น แต่ข้อพิพาทยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากท่าทีที่คลุมเครือของทางการ ทั้งยังมีการใช้กลยุทธ์การกีดกัน เช่น กฎระเบียบ อำนาจทางการตลาด กำลัง และความชอบธรรม เพื่อควบคุมการเข้าถึงที่ดินและกีดกันชาวบ้านชาติพันธุ์ยาง ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ ถูกนำไปใช้ในการจำแนกประเภทพื้นที่ใหม่ ซึ่งส่งผลต่อการจัดสรรที่ดิน การบีบบังคับชาวบ้าน และสร้างความชอบธรรมให้กับการยึดครองและการสูญเสียที่ดินของชาวบ้าน ในขณะที่การดำเนินการขาดความโปร่งใส ไม่มีการปรึกษาหารืออย่างเหมาะสม และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ทำให้ชาวบ้านไม่ทราบจนกว่าที่ดินของพวกเขาจะถูกแผ้วถางและกั้นรั้ว รัฐบาลท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นนายหน้าที่ดิน มุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าการแก้ไขข้อพิพาทที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบทำให้ชาวบ้านชาติพันธุ์ยาง สูญเสียการดำรงชีพหลัก ที่ดินทำกิน และพืชผลไปโดยไม่ได้รับค่าชดเชย ไม่มีการแจ้งให้ทราบ หรือแสวงหาความยินยอมแต่อย่างใด ส่งผลกระทบทั้งทางจิตใจและสถานะที่ไม่มั่นคงทางการเงิน ซึ่งรวมถึงความหวาดกลัว บาดแผลทางจิตใจ การต่อสู้ทางกฎหมาย และการไม่สามารถเรียกร้องที่ดินกลับคืนมาได้ ยิ่งไปกว่านั้น ความช่วยเหลือจากภายนอกที่หลอกลวงยิ่งทำลายความไว้วางใจของชุมชนและบ่อนทำลายความพยายามในการรักษาสิทธิในที่ดิน อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านชาติพันธุ์ยาง (Yang) ได้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นและความสามารถในการต่อต้านผ่านกลยุทธ์การรับมือต่างๆ เช่น การเรียกร้องที่ดินคืน การเพาะปลูกพืชในที่ดินที่มีข้อพิพาท การเจรจากับเจ้าของที่ดินรายใหม่ และการแสวงหาการสนับสนุนจากภายนอก พวกเขายังใช้วิธีการเช่าที่ดินจากญาติและหมู่บ้านใกล้เคียง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมนอกภาคการเกษตรเพื่อการดำรงชีพ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นความซับซ้อนของระบบการถือครองที่ดินตามจารีตประเพณีและตามกฎหมายที่ดำรงอยู่ร่วมกัน การปะทะกันระหว่างแนวปฏิบัติตามจารีตประเพณีของชาวบ้านและระบบตามกฎหมายของรัฐบาลสร้างความท้าทายในการกำหนดว่าควรจะให้ความสำคัญกับระบบใดก่อน ซึ่งความท้าทายนี้ยังส่งผลคุกคามความมั่นคงในการถือครองที่ดิน การศึกษานี้ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการยึดครองที่ดินโดยมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในท้องถิ่นและการควบคุมที่ดินและทรัพยากร ซึ่งมักถูกมองข้ามในงานศึกษาโดยทั่วไป การศึกษานี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูปนโยบายเพื่อแก้ไขความซับซ้อนของระบบการถือครองที่ดินที่ดำรงอยู่ร่วมกัน การปกป้องสิทธิของชุมชนที่เปราะบาง และการส่งเสริมธรรมาภิบาลที่ดี | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620435821 Khun Maung Song.pdf | 6.23 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.