Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79854
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณภา นบนอบ-
dc.contributor.advisorอนิรุทธ์ วัชรวิภา-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ วิจารย์en_US
dc.date.accessioned2024-07-24T00:49:11Z-
dc.date.available2024-07-24T00:49:11Z-
dc.date.issued2024-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79854-
dc.description.abstractThe Delivery Analysis (DA) software is installed with tomotherapy systems to assess the radiation dose received by patients during each treatment fraction. The software uses data from the detector signals to calculate and analyze the radiation dose based on the machine's daily treatment operations. The program displays the dose distribution received by the patient, comparing it to reference data. Any deviations caused by patient positioning and anatomical changes during treatment are analyzed and displayed by the DA software. Therefore, to effectively use this software for monitoring anatomical changes in patients during treatment, this study aims to evaluate the dose distribution analyzed by the DA software by comparing it with measurements from the ArcCHECK (AC) phantom and cylindrical array detectors in situations with varying thicknesses of tissue-equivalent material (Bolus). Method: Treatment plans were created based on CT images of the ArcCHECK (AC) phantom with a total bolus thickness of 2 centimeters. The treatment plans were divided according to the simulated lesion positions and radiation techniques: one at the diode detector on the top of the phantom (Target A) and the other at the center of the phantom (Target B). Each lesion group was planned using both Helical Tomotherapy (HT) and TomoDirect (TD) techniques. The dose distribution was then measured using the AC phantom based on the treatment plan, with the thickness of the bolus reduced from 0.5 centimeters to 2.0 centimeters. Data were recorded to determine the correlation of the gamma passing rates at criteria of 3%/3mm and 3%/2mm obtained from the detector signal analysis using the DA software, comparing these to the measurements obtained from the AC phantom. Results: The treatment plans for Targets A and B demonstrated statistically significant correlations between the gamma passing rates obtained from the DA software and the measurements from the AC phantom for both HT and TD techniques at all bolus thickness levels. The gamma passing rates decreased as the bolus thickness varied from the initial value in both techniques. The gamma passing rates from the DA software fell below the acceptable threshold of 90% at the 3%/3mm criterion when the thickness changed by more than 2.0 centimeters and 1.5 centimeters for HT and TD techniques, respectively. Conclusion: The DA software can effectively display gamma passing rates obtained from analyzing the detector signal and treatment machine data by comparing the dose distribution of each fraction with reference values. There is a statistically significant correlation between the values obtained from the DA software and those measured in the phantom for both HT and TD techniques.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินชุดโปรแกรมวิเคราะห์การฉายรังสีของเครื่องฉายรังสีตัดขวางแบบเกลียวหมุนสำหรับประยุกต์ใช้ในเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับแผนen_US
dc.title.alternativeEvaluation of delivery analysis software in tomotherapy for adaptive radiotherapy applicationen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการฉายรังสี-
thailis.controlvocab.thashการรักษาด้วยรังสี-
thailis.controlvocab.thashรังสีวิทยาทางการแพทย์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractชุดโปรแกรมวิเคราะห์การฉายรังสี (Delivery Analysis software: DA) ถูกติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องฉายรังสีภาพนำแบบเกลียวหมุน เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับในการฉายรังสีแต่ละครั้ง จากข้อมูลปริมาณสัญญาณตัวรับภาพ (detector) ที่นำมาคำนวณและวิเคราะห์ปริมาณรังสีตามข้อมูลการทำงานของเครื่องฉายรังสีในแต่ละวัน โดยโปรแกรมจะแสดงการกระจายปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับเปรียบเทียบกับข้อมูลอ้างอิง ซึ่งความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการจัดท่าผู้ป่วย และลักษณะทางกายวิภาคของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการรักษา จะได้รับการวิเคราะห์และแสดงผลได้ด้วยชุดโปรแกรม DA ดังนั้นเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ชุดโปรแกรมนี้สำหรับการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของผู้ป่วยในระหว่างการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการกระจายปริมาณรังสีที่วิเคราะห์จากชุดโปรแกรม DA เปรียบเทียบกับการวัดด้วยหุ่นจำลองและหัววัดรังสีเรียงแถวทรงกระบอก (ArcCHECK: AC) ที่มีการจำลองการเปลี่ยนแปลงความหนาของวัสดุสมมูลเนื้อเยื่อ (Bolus) ขนาดต่างๆ วิธีการวิจัย: วางแผนรังสีรักษาบนภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหุ่นจำลอง AC ที่เพิ่มความหนาด้วยแผ่น Bolus ขนาดความหนารวม 2 เซนติเมตร โดยแบ่งแผนรังสีรักษาตามการจำลองตำแหน่งของรอยโรค และเทคนิคการฉายรังสี ได้แก่ 1.สร้างรอยโรคอยู่ที่ตำแหน่งหัววัดรังสีชนิดไดโอดบริเวณผิวด้านบนของหุ่นจำลอง (Target A) และ 2. สร้างรอยโรคอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของหุ่นจำลอง (Target B) โดยวางแผนรังสีรักษารอยโรคแต่ละกลุ่มด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบเกลียวหมุน (Helical Tomotherapy: HT) และเทคนิคการฉายรังสีปรับความเข้มแบบแหล่งกำเนิดอยู่นิ่ง (TomoDirect: TD) จากนั้นวัดการกระจายปริมาณรังสีด้วยหุ่นจำลอง AC ตามแผนรังสีรักษาที่วางแผนไว้ โดยลดระดับความหนาของวัสดุสมมูลเนื้อเยื่อตั้งแต่ 0.5 เซนติเมตร ถึง 2.0 เซนติเมตร และทำการบันทึกข้อมูลการกระจายปริมาณรังสีที่วัดได้ เพื่อหาความสัมพันธ์ของอัตราผ่านค่าแกมมาที่เกณฑ์ 3%/3mm และ 3%/2mm ที่ได้จากการวิเคราะห์ปริมาณสัญญาณตัวรับภาพด้วยชุดโปรแกรม DA เปรียบเทียบกับอัตราผ่านค่าแกมมาที่ได้จากการวัดในหุ่นจำลอง AC ผลการวิจัย: อัตราผ่านค่าแกมมาที่ได้จากชุดโปรแกรม DA ของแผนรังสีรักษา Target A และ B มี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการวัดในหุ่นจำลอง AC ทั้งเทคนิค HT และ TD ในทุกระยะความหนาของ Bolus โดยพบว่ามีอัตราผ่านค่าแกมมาลดลงเมื่อความหนาของ Bolus มีการเปลี่ยนแปลงไปจากค่าเริ่มต้นทั้งสองเทคนิค ซึ่งอัตราผ่านค่าแกมมาจากชุดโปรแกรม DA จะลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือ น้อยกว่าร้อยละ 90 ที่เกณฑ์ 3%/3mm เมื่อความหนาหุ่นจำลองมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 2.0 เซนติเมตร และ 1.5 เซนติเมตร ในเทคนิค HT และ TD ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย: ชุดโปรแกรม DA สามารถแสดงอัตราผ่านค่าแกมมาที่ได้จากการวิเคราะห์ปริมาณสัญญาณของตัวรับภาพและข้อมูลเครื่องฉายรังสี โดยการเปรียบเทียบค่าการกระจายปริมาณรังสีในการฉายรังสีแต่ละครั้งกับค่าอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่าที่ได้จากการวัดในหุ่นจำลองทั้งในเทคนิค HT และเทคนิค TDen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650731007_ณัฐวุฒิ วิจารย์.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.