Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79793
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธารณ์ ทองงอก | - |
dc.contributor.author | อภิสิทธิ์ แก้วฟู | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-18T01:12:29Z | - |
dc.date.available | 2024-07-18T01:12:29Z | - |
dc.date.issued | 2567-05-16 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79793 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this thesis are: 1) To study the situation of cooperative network formation that promote student’s career skills development for Pilot Schools, Chiang Mai Education Sandbox, 2) To study the constructing cooperative network to promote student’s career skills development for Pilot Schools, Chiang Mai Education Sandbox, which have best practices, and 3) To develop and verify guidelines for constructing cooperative network to promote student’s career skills development for pilot school, Chiang Mai Education Sandbox. The research is divided into three stages: 1) A study of the situation of cooperative network formation involving 97 school administrators from pilot schools, Chiang Mai Education Sandbox. The tool used for data collection is a research questionnaire on Guidelines for Constructing Cooperative Network to Promote Student’s Career Skills Development for Pilot Schools, Chiang Mai Education Sandbox. The questionnaire uses a 5-point rating scale with a content validity index ranging from 0.80 to 1.00 and a reliability coefficient of 0.98., 2) In-depth interviews with 5 directors on constructing cooperative networks between educational institutions and workplaces on best practices. The tool used for data collection is a semi-structured interview, and 3) Connoisseurship meetings involving 9 experts in collaborative network construction. Data collection tools included validation surveys and record-keeping forms for the connoisseurship meetings. Data analysis techniques included descriptive and content analysis. The research findings revealed: 1) The reality of cooperative network formation conducive to promote student’s career skills development is significantly high. 2) Creating a collaborative network to promote student’s career skills development for pilot school, Chiang Mai Education Sandbox, which have best practices, consists of six steps: setting common goals, coordinating and organizing network organizations, collaboratively thinking and planning activities, implementing joint activities, exchanging lessons learned and disseminating work, and developing and maintaining continuous relationships. 3) Guidelines for constructing a cooperative network to promote student’s career skills development for pilot school, Chiang Mai Education Sandbox consist of four components: principles and concepts, objectives, operational methods, and success criteria. There are a total of 72 guidelines. From the verification, the guidelines achieved the highest level of accuracy, feasibility, and appropriateness across all quality criteria. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ | en_US |
dc.subject | ทักษะอาชีพ | en_US |
dc.subject | พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา | en_US |
dc.title | แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Guidelines for constructing cooperative network to promote student’s career skills development for pilot schools, Chiang Mai education sandbox | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | อาชีพ | - |
thailis.controlvocab.thash | การแนะแนวอาชีพ | - |
thailis.controlvocab.thash | นวัตกรรมทางการศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | อาชีพ -- เครือข่ายสังคม | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี 3) เพื่อสร้างและตรวจสอบแนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 2) การศึกษาการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง 3) การสร้างและตรวจสอบแนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกรายงานสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบตรวจสอบความถูกต้อง ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพการปฏิบัติ/เป็นจริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน 2) การประสานงานและองค์กรเครือข่าย 3) การร่วมคิดและวางแผนกิจกรรมร่วมกัน 4) การดำเนินการกิจกรรมร่วมกัน 5) การแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนและเผยแพร่ผลงาน 6) การพัฒนาความสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 3) แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและแนวคิด จุดประสงค์ วิธีการดำเนินงาน และเงื่อนไขความสำเร็จ มีแนวทางรวมทั้งสิ้น 72 แนวทาง จากการตรวจสอบความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของแนวทางฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านระดับเกณฑ์คุณภาพทุกประเด็น | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650232053-อภิสิทธิ์ แก้วฟู.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.