Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79785
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนต์นภัส มโนการณ์-
dc.contributor.advisorสุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช-
dc.contributor.authorรัชฎาภรณ์ ซ่ามยองen_US
dc.date.accessioned2024-07-17T01:17:37Z-
dc.date.available2024-07-17T01:17:37Z-
dc.date.issued2567-05-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79785-
dc.description.abstractThe objectives of this research are: 1) to synthesize the components and indicators of a learning ecosystem, 2) to study the processes and best practices in managing a learning ecosystem, and 3) to develop and validate guidelines for managing a learning ecosystem to achieve the desired learning outcomes at the basic education level. The sample consisted of 500 school administrators and teachers under the Office of the Basic Education Commission. Opinions were surveyed using a 40-item, 5-point Likert scale questionnaire on the components of a learning ecosystem. The discrimination power ranged from 0.549 to 0.961 and the reliability was 0.969. Confirmatory factor analysis was conducted using Mplus software. Qualitative data were collected through interviews with seven experts, selected by purposive sampling. The interview guidelines focused on managing the learning ecosystem and reviewing the draft guidelines for achieving desired learner outcomes. Additionally, a focus group discussion with seven experts, also selected by purposive sampling, was conducted to validate the draft guidelines on three aspects: suitability, feasibility, and usefulness. The research findings indicate that: 1) The learning ecosystem comprises 5 components: educational policies, contents, stakeholders support, learning cultures, and learning resources. The confirmatory factor analysis confirms the structural validity of the model. 2) Effective management of learning ecosystems should promote and support four key aspects: (1) The rationale/motivation for developing learning ecosystems: the fundamental belief that learners can engage in lifelong learning. (2) Management processes of learning ecosystems according to their components. (3) Conditions for success affecting the management of learning ecosystems. (4) Limitations/additional recommendations for managing learning ecosystems. 3) Guidelines for managing learning ecosystems for desired learner outcomes focus on five main aspects: (1) Principles: emphasizing lifelong learning as a core principle. (2) Objectives: aiming to create a learning ecosystem that fosters lifelong learning. (3) Methods/processes based on the components of the learning ecosystem. (4) Conditions for success in managing learning ecosystems: developing each component systematically using research and development processes to ensure effective management. (5) Limitations/recommendations for managing and developing learning ecosystems: providing insights and suggestions at the policy, organizational, and individual are in very high levels to enhance the learning ecosystem.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectระบบนิเวศการเรียนรู้en_US
dc.subjectผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนen_US
dc.subjectแนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้en_US
dc.titleแนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.title.alternativeGuidelines for managing the learning ecosystem towards desired outcomes of learners in basic educationen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นพื้นฐาน-
thailis.controlvocab.thashการเรียนรู้-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของระบบนิเวศการเรียนรู้ 2) ศึกษากระบวนการและวิธีปฏิบัติที่ดีในการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ และ3) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 500 คน สอบถามความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นองค์ประกอบของระบบนิเวศการเรียนรู้ แบบวัดชนิดประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.549 ถึง 0.961 ค่าความเชื่อมั่น 0.969 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรม Mplus และรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ และตรวจสอบ(ร่าง)แนวการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบ(ร่าง)แนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของระบบนิเวศการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นโยบายและกลยุทธ์การศึกษา 2) เนื้อหาการเรียนรู้ 3) การสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 4) วัฒนธรรมการเรียนรู้ และ 5) ทรัพยากรการเรียนรู้ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้องค์ประกอบของระบบนิเวศการเรียนรู้ได้รับการยืนยันว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยเมตริกซ์ความแปรปรวนของข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับทฤษฎี 2) กระบวนการและวิธีปฏิบัติที่ดีในการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ควรส่งเสริม และสนับสนุน 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (1) เหตุผล/แรงจูงใจที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ นั่นคือพื้นฐานความเชื่อว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (2) กระบวนการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ตามองค์ประกอบ (3) เงื่อนไขความสำเร็จที่ส่งผลต่อการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ และ (4) ข้อจำกัด/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ 3) แนวทางการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) หลักการ คือ การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 2) วัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 3) วิธีการ/กระบวนการตามองค์ประกอบของระบบนิเวศการเรียนรู้ 4) เงื่อนไขความสำเร็จในการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ การพัฒนาทุกองค์ประกอบอย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา และ 5) ข้อจำกัด/ข้อเสนอแนะในการบริหารและพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ในระดับนโยบาย ระดับองค์กร และระดับบุคล ผลการตรวจสอบแนวทางโดยภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุดen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232051-รัชฎาภรณ์ ซ่ามยอง.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.